Page 151 - Annual Report 2552
P. 151
การวางแผนกู้เงินไทยเข้มแข็ง :
บททดสอบของตลาดตราสารหนี้
ในประเทศ สำ�นักพัฒน�ตล�ดตร�ส�รหนี้
ดร. พิมพ์เพ็ญ ลัดพลี
วัตถุประสงค์หลักของบทความพิเศษฉบับนี้ต้องการชี้แจงประเด็นคำาถามหลักที่เกี่ยวกับการกู้เงินเพื่อ
แผนปฏิบัติการไทยเข้มแข็ง 2555 (โครงการไทยเข้มแข็ง) 2 ประการ คือ (1) สำานักงานบริหารหนี้สาธารณะ
(สบน.) วางแผนการกู้เงินเพื่อโครงการไทยเข้มแข็ง 800,000 ล้านบาท อย่างไรให้ครบตามจำานวนและไม่เป็น
อุปสรรคต่อการกู้เงินพื้นฐานของรัฐบาล และ (2) การยกเลิกร่างพระราชบัญญัติให้อำานาจกระทรวงการคลังกู้เงิน
เพื่อฟื้นฟูและเสริมสร้างความมั่นคงทางเศรษฐกิจ (พ.ร.บ.) 400,000 ล้านบาท ใน 1 ปีให้หลัง ส่งผลกระทบต่อ
อุปทานของพันธบัตร Benchmark ซึ่งเป็นเครื่องมือหลักของรัฐบาลในการสร้างอัตราดอกเบี้ยอ้างอิงหรือไม่
1) รับมืออย่างไรเมื่อความต้องการกู้เงินเพิ่มขึ้น 3 เท่าในชั่วข้ามคืน
ในวันที่คณะรัฐมนตรี (ครม.) มีมติอนุมัติกรอบโครงการไทยเข้มแข็ง 1,430,000 ล้านบาท โดยระบุว่า ในจำานวนนี้
รัฐบาลจะรับภาระลงทุนเองถึง 800,000 ล้านบาท แบ่งเป็นพระราชกำาหนดให้อำานาจกระทรวงการคลังกู้เงินเพื่อ
ฟื้นฟูและเสริมสร้างความมั่นคงทางเศรษฐกิจ พ.ศ. 2552 (พ.ร.ก.) 400,000 ล้านบาท (เบิกจ่ายเสร็จสิ้นภายใน
31 ธ.ค. 2553) และ พ.ร.บ. 400,000 ล้านบาท (เบิกจ่ายเสร็จสิ้นภายใน 31 ธ.ค. 2554) ข่าวนี้ส่งผลให้อัตรา
6
ผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลในตลาดรองผันผวนและปรับตัวสูงขึ้นกว่า 40 basis points ภายในวันเดียว ซึ่งสิ่งที่
สบน. ได้ดำาเนินการในทันทีเพื่อควบคุมสถานการณ์คือ การสื่อสารกับผู้ร่วมตลาดเกี่ยวกับภาพรวมของ
ความต้องการกู้เงินทั้งปีงบประมาณ พ.ศ. 2552 และเครื่องมือที่จะใช้กู้เงินดังกล่าว นอกจากนั้น เพื่อไม่ให้
ความต้องการระดมเงินที่เพิ่มสูงขึ้นอย่างกะทันหันในปีงบประมาณ พ.ศ. 2552 กระทบต่อตลาดพันธบัตรรัฐบาล
โดยรวม สบน. จึงได้ดำาเนินการกู้เงินโดยการออกพันธบัตรออมทรัพย์ (Saving Bond) วงเงินรวม 80,000 ล้านบาท
มติคณะรัฐมนตรี วันที่ 6 พ.ค. 2552 และ 15 มิ.ย. 2552
6
150 รายงานประจำาปี 2552 ANNUAL REPORT 2009