Page 146 - Annual Report 2552
P. 146
PDMO PUBLIC DEBT
MANAGEMENT
OFFICE
2.2.2 การจัดหาแหล่งเงินทุนสำาหรับโครงการไทยเข้มแข็ง
แหล่งเงินลงทุนของโครงการไทยเข้มแข็ง วงเงิน 1,296,021 ล้านบาท จะมาจากหลากหลายแหล่ง
เงินทุนด้วยกัน เนื่องจากรัฐบาลได้คำานึงถึงความเหมาะสมและสอดคล้องกับแผนการดำาเนินงานของโครงการ
เป็นหลัก โดยแหล่งเงินทุนต่างๆ ทั้งในส่วนที่รัฐบาลเป็นผู้รับภาระเอง ได้แก่ เงินงบประมาณ เงินกู้ตามกฎหมายปกติ
และอื่นๆ และในส่วนที่เป็นรัฐวิสาหกิจรับภาระเอง ได้แก่ รายได้ของรัฐวิสาหกิจ และเงินกู้ของรัฐวิสาหกิจ
นอกจากนี้ รัฐบาลยังได้จัดหาแหล่งเงินทุนเพิ่มเติมเพื่อนำามาใช้สนับสนุนโครงการลงทุนดังกล่าว โดยออก
พระราชกำาหนดให้อำานาจกระทรวงการคลังกู้เงินเพื่อฟื้นฟูและเสริมสร้างความมั่นคงทางเศรษฐกิจ พ.ศ. 2552
เพื่อนำามาสนับสนุนโครงการลงทุนที่มีความพร้อมและสามารถดำาเนินงานได้ทันทีตามกรอบระยะเวลาการลงทุน
ดังแผนภูมิรูปภาพที่ 2 ซึ่งในปัจจุบันรัฐบาลได้จัดสรรเม็ดเงินเพื่อสนับสนุนโครงการลงทุนไทยเข้มแข็งไปแล้ว
จากแหล่งเงินตามพระราชกำาหนดดังกล่าวเป็นวงเงินรวม 349,960 ล้านบาท หรือคิดเป็นร้อยละ 27 ของวงเงิน
ลงทุน แต่อย่างไรก็ตาม รัฐบาลยังมีหน้าที่จะต้องจัดหาแหล่งเงินทุนเพื่อจัดสรรเงินลงทุนให้กับโครงการต่างๆ
ในส่วนที่ยังไม่ได้รับจัดสรรเม็ดเงินลงทุนตามแผนปฏิบัติการไทยเข้มแข็ง 2555 ต่อไป
แผนภูมิรูปภาพที่ 2: แหล่งเงินลงทุนของโครงการตามแผนปฏิบัติการไทยเข้มแข็ง 2555
เงินกูรัฐวิสาหกิจ 4% งบประมาณ 2%
47,908 ลบ. 23,447.77 ลบ.
รายไดรัฐวิสาหกิจ 10%
135,145 ลบ.
พ.ร.ก. 27%
349,960.47 ลบ.
อื่นๆ (งบประมาณ,PPP,
เงินกูรัฐบาล) 57%
739,559 ลบ.
ที่มา : สำานักบริหารการระดมทุนโครงการลงทุนภาครัฐ สำานักงานบริหารหนี้สาธารณะ
3. ปัจจัยความสำาเร็จ/บทเรียน/ข้อเสนอแนะจากการดำาเนินโครงการไทยเข้มแข็ง 2555
3.1 ปัจจัยความสำาเร็จของการดำาเนินโครงการไทยเข้มแข็ง
• นโยบายการลงทุนของรัฐบาลมีความชัดเจน : รัฐบาลได้กำาหนดกรอบวงเงินลงทุนวัตถุประสงค์
และเป้าหมายในการลงทุนไว้อย่างชัดเจน จึงทำาให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับการจัดทำาแผนการลงทุนดังกล่าว
สามารถดำาเนินการกลั่นกรองโครงการลงทุนไทยเข้มแข็งได้อย่างรอบคอบ และเป็นไปตามกรอบระยะเวลาใน
การจัดทำาแผนการลงทุนจนสามารถบรรลุวัตถุประสงค์
รายงานประจำาปี 2552 ANNUAL REPORT 2009 145