Page 143 - Annual Report 2552
P. 143
มากอันจะส่งผลกระทบต่อฐานะการคลัง รายได้ของรัฐบาล และความสามารถในการใช้จ่ายและการจัดทำาบริการ
สาธารณะของรัฐ จึงทำาให้รัฐบาลต้องกลับมาพึ่งพาการใช้จ่ายภายในประเทศทั้งในส่วนของการบริโภคและการลงทุน
เป็นหลัก
1.2 นโยบายการลงทุนเพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจ
ตามทฤษฎีทางเศรษฐศาสตร์จะเห็นได้ว่า ประเทศใดก็ตามเมื่อประเทศเกิดวิกฤติเศรษฐกิจหยุดชะงัก/
ชะลอตัว หรือรัฐบาลต้องการสร้างความเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจของประเทศให้เติบโตในอัตราที่เพิ่มขึ้น หรือ
ต้องการเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันของประเทศในระยะยาว รัฐบาลจึงหลีกเลี่ยงไม่ได้ที่จะเป็นกลไก
และเครื่องมือที่สำาคัญในการเพิ่มการใช้จ่ายการลงทุนของภาครัฐ โดยเฉพาะการลงทุนในส่วนที่เป็นโครงการ
โครงสร้างพื้นฐานด้านบริการสาธารณะเป็นสำาคัญ เพื่อเป็นการเพิ่มแรงกระตุ้นทางเศรษฐกิจของประเทศให้เติบโต
ดังนั้น การลงทุนต่างๆ ตามโครงการไทยเข้มแข็งที่มุ่งเน้นการกระจายการลงทุนไปสู่ชนบททั่วประเทศ ซึ่งจะไป
สร้างงาน สร้างรายได้ให้กับประชาชนอย่างทั่วถึง โดยจะทำาให้การบริโภคและการลงทุนภาคเอกชนเริ่มฟื้นตัวขึ้น
ซึ่งสุดท้ายก็จะทำาให้ระบบเศรษฐกิจฟื้นตัวได้ในที่สุด
1.3 การวางรากฐานการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานของประเทศในระยะยาว
นอกจากนี้ ในอดีตที่ผ่านมาจะเห็นได้ว่ารัฐบาลมีข้อจำากัดที่ไม่สามารถจัดสรรเม็ดเงินลงทุนตาม
ระบบงบประมาณปกติเพื่อนำาไปพัฒนาปัจจัยโครงสร้างพื้นฐานของประเทศได้อย่างเพียงพอมาเป็นเวลายาวนาน
นับ 10 ปี ไม่ว่าจะเป็นการลงทุนทั้งทางด้านเศรษฐกิจและสังคม ซึ่งเป็นสาเหตุทำาให้ประเทศขาดการพัฒนาและ
ความสามารถในการแข่งขันเมื่อเทียบกับประเทศเพื่อนบ้านอย่างเห็นได้ชัดมายาวนาน รัฐบาลจึงได้เล็งเห็นถึง
ความจำาเป็นและความสำาคัญต่อการลงทุน เพื่อเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันและวางรากฐานการพัฒนา
ประเทศให้สามารถก้าวไปข้างหน้าได้อย่างยั่งยืนต่อไป
2. ไทยจะเข้มแข็งได้อย่างไร
จากการที่ประเทศไทยต้องเผชิญกับวิกฤติการณ์ต่างๆ อย่างหนัก ทั้งจากปัญหาเศรษฐกิจโลกชะลอตัวและ
ปัญหาทางการเมืองที่เกิดขึ้นภายในประเทศ ซึ่งส่งผลกระทบต่อระบบเศรษฐกิจของประเทศไทย ทำาให้รัฐบาลต้อง
เร่งรัดการดำาเนินมาตรการต่างๆ เพื่อแก้ปัญหาที่เกิดขึ้นอย่างเร่งด่วนทั้งในระยะสั้นและระยะยาว โดยการเร่งรัด
การลงทุนในประเทศที่เป็นโครงการลงทุนของภาครัฐเพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจของประเทศ และเพื่อเป็นการพัฒนา
และเสริมสร้างศักยภาพในการแข่งขันของประเทศ รวมทั้งเป็นการวางรากฐานการพัฒนาประเทศให้เข้มแข็ง
ในระยะยาว ดังนั้น จึงนับได้ว่าเป็นโอกาสที่ดีของรัฐบาลที่ได้มีการจัดทำาแผนการลงทุนเพื่อเสริมสร้างให้ประเทศ
เกิดความเข้มแข็งทั้งทางด้านเศรษฐกิจและสังคมในระยะสั้นและระยะปานกลาง ดังนี้
2.1 แผนฟื้นฟูเศรษฐกิจระยะที่ 1 (Stimulus Package I: SP1)
รัฐบาลได้จัดทำาแผนฟื้นฟูเศรษฐกิจระยะสั้นขึ้น เพื่อใช้เป็นมาตรการแก้ไขปัญหาเศรษฐกิจที่เกิดขึ้น
อย่างเร่งด่วน โดยออกมาตรการเพื่อมุ่งฟื้นฟูเศรษฐกิจผ่านการจัดทำางบประมาณเพิ่มเติมประจำาปีงบประมาณ 2552
วงเงิน 116,700 ล้านบาท ที่เรียกว่า “แผนฟื้นฟูเศรษฐกิจระยะที่ 1” เพื่อเป็นการกระตุ้นการใช้จ่ายภายในประเทศ โดย
142 รายงานประจำาปี 2552 ANNUAL REPORT 2009