Page 140 - Annual Report 2552
P. 140
PDMO PUBLIC DEBT
MANAGEMENT
OFFICE
แนวทางการบริหารหนี้สาธารณะ
ภารกิจหนึ่งที่สำาคัญของ สบน. คือ การติดตามและบริหารหนี้สาธารณะ รวมทั้งดูแล Portfolio หนี้สาธารณะ
ให้อยู่ในระดับที่เหมาะสม เพื่อรักษาเสถียรภาพทางการคลังของประเทศ และสร้างความมั่นใจว่าภาระหนี้ที่มีอยู่
นั้นอยู่ในระดับที่บริหารจัดการได้
สบน. บริหารหนี้สาธารณะภายใต้กรอบความยั่งยืนทางการคลังของกระทรวงการคลัง โดยมีตัวชี้วัดและเป้าหมาย
ที่เกี่ยวข้องกับหนี้สาธารณะ 2 ข้อ คือ
(1) ยอดหนี้สาธารณะคงค้างต่อ GDP ไม่เกินร้อยละ 60 ซึ่งเป็นกรอบแสดงยอดหนี้สาธารณะของ
ประเทศเปรียบเทียบกับระดับรายได้ของประเทศ และ
(2) ภาระหนี้สาธารณะต่องบประมาณ ไม่เกินร้อยละ 15 ซึ่งสะท้อนภาระหนี้ที่เกิดขึ้นเปรียบเทียบกับ
งบประมาณของรัฐบาลในแต่ละปี และสะท้อนงบประมาณส่วนที่เหลือสำาหรับใช้จ่าย
นอกจากนั้น สบน. ได้กำาหนดกรอบการบริหารจัดการหนี้สาธารณะ (Portfolio Benchmark) โดย
พิจารณาประเด็นความเสี่ยงด้านอัตราแลกเปลี่ยนและด้านอัตราดอกเบี้ย กล่าวคือ ดูแลสัดส่วนหนี้ต่างประเทศ
ไม่ให้เกินร้อยละ 20 ของหนี้สาธารณะทั้งหมด รวมทั้งดูแลให้หนี้ต่างประเทศไม่กระจุกตัวในเงินสกุลใดสกุลหนึ่ง
เพื่อกระจายความเสี่ยงด้านอัตราแลกเปลี่ยน ซึ่งปัจจุบันภาระหนี้ประมาณร้อยละ 90 เป็นหนี้ภายในประเทศ
และในกรณีที่ภาวะตลาดการเงินเหมาะสม สบน. จะใช้เครื่องมือทางการเงินเพื่อลดความเสี่ยงและภาระหนี้ โดย
ทำาการแปลงหนี้สกุลเงินต่างประเทศเป็นสกุลเงินบาท (Cross Currency Swap) เพื่อปิดความเสี่ยงด้านอัตรา
แลกเปลี่ยน ในส่วนความเสี่ยงด้านอัตราดอกเบี้ย สบน. จะตรวจสอบสัดส่วนหนี้ระยะสั้นต่อหนี้ระยะยาว และหนี้ที่
มีอัตราดอกเบี้ยคงที่ต่อหนี้ที่มีอัตราดอกเบี้ยลอยตัวเพื่อให้สอดคล้องกับวัตถุประสงค์การใช้เงิน และระยะคืนทุน
ของโครงการ รวมทั้งแปลงดอกเบี้ยเป็นอัตราดอกเบี้ยคงที่หรืออัตราดอกเบี้ยลอยตัว (Interest Rate Swap) เพื่อ
ลดภาระหนี้ หรือกู้เงินจากแหล่งใหม่ที่มีเงื่อนไขดีกว่าแหล่งเดิม (Refinance)
รายงานประจำาปี 2552 ANNUAL REPORT 2009 139