Page 135 - Annual Report 2552
P. 135
ร้อยละ 77 และเป็นการจำาหน่ายในแต่ละภูมิภาคๆ ละเท่าๆ กันที่ร้อยละ 7-8 ของวงเงินรวม ซึ่งเป็นการกระจาย
ที่ดีขึ้นเมื่อเปรียบเทียบกับการกระจายของพันธบัตรออมทรัพย์รุ่นผู้สูงอายุที่จำาหน่าย ในปีงบประมาณ พ.ศ. 2551
ซึ่งพันธบัตรรุ่นดังกล่าวไม่มีการจำากัดวงเงินขั้นสูง จึงทำาให้ร้อยละ 92 ของการจำาหน่ายพันธบัตรกระจุกตัวอยู่ใน
กรุงเทพฯ และภาคกลาง ในการนี้ สบน. จะได้มีการประมวลผลการจำาหน่ายพันธบัตรออมทรัพย์ทุกครั้ง
เพื่อที่จะได้นำามาพิจารณาปรับปรุงให้การออกพันธบัตรออมทรัพย์ของรัฐบาลประสบความสำาเร็จสูงสุดต่อไป
อย่างไรก็ตาม ต้องยอมรับว่าความสำาเร็จของการออกพันธบัตรออมทรัพย์มาจากอัตราดอกเบี้ยที่จูงใจ
เนื่องจากมีการชดเชยภาษี ซึ่งเป็นเหตุให้ต้นทุนการกู้เงินโดยการออกพันธบัตรออมทรัพย์สูงกว่าเครื่องมือ
อื่นเสมอ ดังนั้น ความท้าทายประการสำาคัญในอนาคตอันใกล้ คือ การพัฒนาให้พันธบัตรออมทรัพย์ให้มี
ผลตอบแทนที่เป็นไปตามกลไกตลาดในขณะที่เพิ่มความน่าสนใจให้พันธบัตรออมทรัพย์ เช่น การสร้างสภาพคล่อง
ในตลาดรอง การเพิ่มความหลากหลายทั้งในเรื่องของอายุ และเงื่อนไขการซื้อขาย ทั้งนี้เพื่อให้เป็นทางเลือกของ
การออมที่มีความมั่นคงสูง ตลอดจนการเข้าถึงของประชาชนในวงกว้าง โดยในปัจจุบัน สบน. ได้มีการหารือ
กับตลาดหลักทรัพย์และ ธปท. ในการศึกษาพฤติกรรมของผู้ออมรายย่อย และลูกค้าพันธบัตรออมทรัพย์ให้มาก
ยิ่งขึ้น เพื่อที่จะได้ออกแบบพันธบัตรออมทรัพย์หรือผลิตภัณฑ์ใหม่ๆ ให้ตรงความต้องการของผู้ที่ชื่นชอบพันธบัตร
ออมทรัพย์อยู่แล้ว และผู้ออมกลุ่มอื่นให้รู้จักและหันมาสนใจพันธบัตรออมทรัพย์ให้มากยิ่งขึ้น เพราะในที่สุด
แล้ว พันธบัตรออมทรัพย์ที่ได้รับการพัฒนาอย่างแท้จริงต้องเป็นเครื่องมือในการกู้เงินของรัฐบาลที่แข็งแกร่ง
ไม่บิดเบือนหรือแข่งขันกับเงินฝากของสถาบันการเงิน สามารถสร้างฐานลูกค้ารายย่อยของตลาดตราสารหนี้
ภาครัฐได้ และที่สำาคัญที่สุดพันธบัตรออมทรัพย์ต้องเป็นทางเลือกของผู้ออมที่ต้องการลงทุนในตราสารหนี้
ที่มีความมั่นคงสูงสุดและมีผลตอบแทนที่ยอมรับได้ ซึ่งถ้าเป็นเช่นนี้แล้ว พันธบัตรออมทรัพย์คงเป็น Safe-
heaven ของผู้ออมได้อย่างแท้จริง 5
5 อนึ่ง สบน. ยินดีรับฟังความคิดเห็นเรื่องรูปแบบพันธบัตรออมทรัพย์ที่เหมาะสมสำาหรับประชาชนรายย่อย
134 รายงานประจำาปี 2552 ANNUAL REPORT 2009