Page 131 - Annual Report 2552
P. 131

อย่างไรก็ตาม ล่าสุดในปี 2552 ซึ่งเป็นช่วงที่ประเทศสหรัฐอเมริกาประสบปัญหาวิกฤติจนทำาให้
            ธนาคารกลางทั่วโลกต้องลดอัตราดอกเบี้ยอย่างรุนแรง โดยอัตราดอกเบี้ย Fed Fund Rate อยู่ที่ร้อยละ 0-0.25

            ส่งผลให้การออกพันธบัตรออมทรัพย์อัตราดอกเบี้ยคงที่ของรัฐบาล ที่ใช้อัตราผลตอบแทนของตลาดเป็นอัตรา

            อ้างอิงจะมีอัตราดอกเบี้ยหน้าตั๋วที่ต่ำามาก ดังนั้น สำานักงานบริหารหนี้สาธารณะ (สบน.) โดยสำานักพัฒนาตลาด
            ตราสารหนี้ (สพต.) จึงได้คิดกลยุทธ์การออกพันธบัตรออมทรัพย์แนวทางใหม่ที่มีการจ่ายดอกเบี้ยแบบขั้นบันได
            กล่าวคือ การออกพันธบัตรออมทรัพย์ที่มีการจ่ายดอกเบี้ยคงที่ในช่วงแรก และปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยในอีกระดับหนึ่ง

            เมื่ออัตราดอกเบี้ยโลกมีแนวโน้มปรับตัวสูงขึ้น ทั้งนี้ การปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยแบบขั้นบันไดทำาให้ผู้ถือพันธบัตร

            ออมทรัพย์ของรัฐบาลไม่เกิดความเสียเปรียบในการซื้อพันธบัตรออมทรัพย์ในขณะที่อัตราดอกเบี้ยอยู่ในระดับต่ำา
            ซึ่งเป็นครั้งแรกที่กระทรวงการคลังออกพันธบัตรออมทรัพย์ที่มีอัตราดอกเบี้ยแบบขั้นบันได (รายละเอียดของพันธบัตร
            รุ่นนี้จะได้กล่าวต่อไป) และต่อมาอีกเพียง 3  เดือน  ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.)  ได้ประกาศการจำาหน่าย

            พันธบัตรออมทรัพย์ธนาคารแห่งประเทศไทยรุ่น 4  ปี  และ 7  ปี  โดยรุ่น 7  ปี  มีอัตราดอกเบี้ยแบบขั้นบันได

            ซึ่งเป็นกลยุทธ์เดียวกับการออกพันธบัตรออมทรัพย์ไทยเข้มแข็งของกระทรวงการคลังและผลปรากฏว่าธนาคาร
            แห่งประเทศไทยสามารถจำาหน่ายพันธบัตรออมทรัพย์  รุ่นอายุ 4  ปี  ได้เกือบ 50,000  ล้านบาท  และรุ่น 7  ปี
            ได้สูงถึงกว่า 80,000  ล้านบาท  ซึ่งสูงกว่าวงเงินรวมเริ่มแรกที่ 50,000  ล้านบาท  ดังนั้น  จึงสามารถกล่าวได้ว่า

            พลังเงินออมภาคประชาชนที่ต้องการลงทุนในพันธบัตรออมทรัพย์ที่มีความปลอดภัยสูง และมีผลตอบแทนที่จูงใจ

            มีปริมาณที่สูงมาก อย่างไรก็ตาม ต้องยอมรับว่าปัจจัยหลักที่ช่วยให้พันธบัตรออมทรัพย์ของกระทรวงการคลัง
            และพันธบัตรของธนาคารแห่งประเทศไทยประสบความสำาเร็จอย่างดียิ่งนั้น นอกจากจะมาจากกลยุทธ์
            อัตราดอกเบี้ยแบบขั้นบันไดและการมีช่องทางจำาหน่ายที่เข้าถึงได้ง่ายแล้ว คงหนีไม่พ้นผลตอบแทนที่จูงใจ

            เนื่องจากมีการบวกส่วนชดเชยภาษีไว้บนอัตราดอกเบี้ยของพันธบัตรออมทรัพย์



                  2. กลยุทธ์ในการออกพันธบัตรออมทรัพย์ไทยเข้มแข็งในปีงบประมาณ พ.ศ. 2552
                    ในปีงบประมาณ พ.ศ. 2552 กระทรวงการคลังได้ดำาเนินการออกพันธบัตรออมทรัพย์ไทยเข้มแข็ง รุ่น

            อายุ 5 ปี วงเงิน 80,000 ล้านบาท ซึ่งสามารถสรุปเงื่อนไขและผลการออกพันธบัตรออมทรัพย์ได้ ดังนี้

                     2.1 เงื่อนไขในการออกพันธบัตรออมทรัพย์ไทยเข้มแข็ง
                           จัดจำาหน่ายพันธบัตรออมทรัพย์ไทยเข้มแข็งผ่านธนาคารพาณิชย์ที่มีสาขาตั้งแต่ 400  แห่งขึ้นไป

            จำานวน 7 แห่ง ซึ่งทำาให้มีช่องทางจำาหน่ายทั่วประเทศทั้งสิ้น 4,871 แห่ง
                           พันธบัตรออมทรัพย์ไทยเข้มแข็งอายุ 5 ปี มีอัตราดอกเบี้ยแบบขั้นบันได โดยปีที่ 1-2 มีอัตรา

            ดอกเบี้ยร้อยละ 3 ต่อปี ปีที่ 3 มีอัตราดอกเบี้ยร้อยละ 4 ต่อปี และปีที่ 4-5 มีอัตราดอกเบี้ยร้อยละ 5 ต่อปี
                           แบ่งจำาหน่ายพันธบัตรออมทรัพย์ไทยเข้มแข็งออกเป็น 2  ช่วง  โดยในวันที่ 13-14  กรกฎาคม

            2552 จำาหน่ายให้กับผู้ที่มีอายุ 60 ปีขึ้นไป วงเงิน 30,000 ล้านบาท และวันที่ 15-17 กรกฎาคม 2552 จำาหน่าย
            ให้กับบุคคลทั่วไปและผู้มีสิทธิ วงเงิน 50,000 ล้านบาท โดยจำากัดวงเงินขั้นสูงที่ 1,000,000 บาท ทั้ง 2 ช่วง

                     2.2. ผลการออกพันธบัตรออมทรัพย์ไทยเข้มแข็ง
                          มีจำานวนผู้ซื้อพันธบัตรออมทรัพย์ไทยเข้มแข็งทั้งสิ้น 116,306 บัญชี หรือคิดเป็นเฉลี่ยเท่ากับ

            687,841 บาท ต่อบัญชี (ตารางที่ 1)



  130     รายงานประจำาปี 2552 ANNUAL REPORT 2009
   126   127   128   129   130   131   132   133   134   135   136