Page 133 - Annual Report 2552
P. 133
รูปภาพที่ 1 : สัดส่วนของการจำาหน่ายพันธบัตรออมทรัพย์ไทยเข้มแข็ง แยกตามจำานวนบัญชี
(รายภาค)
แยกตามจำนวนผูซื้อ = 116,306 บัญชี
2. ภาคตะวันออกเฉ�ยงเหน�อ 7%
8,249 บัญชี
2 3. ภาคเหน�อ 8%
3 9,854 บัญชี
1. กรุงเทพ 4
และภาคกลาง 77% 1 4. ภาคใต 8%
89,023 บัญชี 9,178 บัญชี
นอกจากนั้น ความพิเศษของพันธบัตรออมทรัพย์ไทยเข้มแข็งรุ่นนี้คือ การแบ่งจำาหน่ายพันธบัตรเป็น 2
ช่วง โดยการจัดสรรวงเงิน 30,000 ล้านบาท ให้เฉพาะกับผู้สูงอายุในช่วงที่ 1 ซึ่งหมายความว่า นอกจากผู้สูงอายุ
จะมีสิทธิซื้อพันธบัตรก่อนบุคคลอื่นแล้ว ผู้สูงอายุยังมีสิทธิซื้อพันธบัตรอีกครั้งในช่วงที่ 2 ด้วย โดยการกำาหนด
เงื่อนไขดังกล่าวมีวัตถุประสงค์เพื่อช่วยเหลือผู้เกษียณอายุที่พึ่งพารายได้จากเงินออมเป็นหลัก ซึ่งผลปรากฏว่า
ธนาคารตัวแทนจำาหน่ายสามารถจัดสรรวงเงินครบ 30,000 ล้านบาท ได้ภายในครึ่งวันแรกของวันที่เริ่มจำาหน่าย
นอกจากนั้น การที่วงเงินเฉลี่ยต่อบัญชีของผู้ซื้อในช่วงที่ 1 สูงกว่าช่วงที่ 2 แสดงให้เห็นว่า กำาลังเงินออมของ
4
ผู้สูงอายุมีไม่น้อยเลยทีเดียว
2.3 ข้อสังเกตของการออกพันธบัตรออมทรัพย์ : ต้นทุนสูง จึงจูงใจ
โดยปกติพันธบัตรออมทรัพย์ที่รัฐบาลจำาหน่ายให้กับประชาชนทั่วไปจะมีต้นทุนที่สูงกว่าพันธบัตร
รัฐบาลที่จำาหน่ายให้กับนักลงทุนสถาบันเสมอ เนื่องจากอัตราดอกเบี้ยหน้าตั๋วของพันธบัตรออมทรัพย์ถูกคำานวณ
จากอัตราผลตอบแทนของพันธบัตรรัฐบาลบวกด้วยส่วนชดเชยภาษีไม่เกินร้อยละ 15 ซึ่งในปีงบประมาณ พ.ศ.
2552 อัตราดอกเบี้ยของพันธบัตรออมทรัพย์ไทยเข้มแข็งเฉลี่ยเท่ากับร้อยละ 4 ขณะที่อัตราผลตอบแทนพันธบัตร
รัฐบาลรุ่นอายุ 5 ปี ณ วันที่กำาหนดอัตราดอกเบี้ยของพันธบัตรออมทรัพย์ไทยเข้มแข็งเท่ากับร้อยละ 3.40 ดังนั้น
รัฐบาลจึงควรพิจารณาการใช้พันธบัตรออมทรัพยเป็นเครื่องมือในการระดมทุนในปริมาณที่เหมาะสม เพื่อให้
ต้นทุนการกู้เงินของรัฐบาลอยู่ในระดับที่ยอมรับได้และไม่ก่อให้เกิดการบิดเบือนต่อผลตอบแทนของเงินฝากใน
ระบบธนาคารพาณิชย์ ซึ่งในกรณีนี้ การออกพันธบัตรออมทรัพย์ไทยเข้มแข็งวงเงิน 80,000 ล้านบาท ของรัฐบาล
คิดเป็นร้อยละ 12 ของความต้องการระดมทุนในปีงบประมาณ พ.ศ. 2552 ซึ่งถือเป็นสัดส่วนที่สูงมากที่สุดในช่วง
5 ปีที่ผ่านมา (ตารางที่ 2)
4
วงเงินเฉลี่ยต่อบัญชีในช่วงที่ 1 เท่ากับ 701,008 บาท วงเงินเฉลี่ยต่อบัญชีในช่วงที่ 2 เท่ากับ 680,131 บาท
132 รายงานประจำาปี 2552 ANNUAL REPORT 2009