Page 130 - Annual Report 2552
P. 130

PDMO         PUBLIC DEBT

                                                                                                     MANAGEMENT
                                                                                                     OFFICE







            พันธบัตรออมทรัพยในอุดมคติ: สภาพคลองสูง จูงใจ ปลอดภัย ไมสูญตน




                                                                                           ดร.พิมพ์เพ็ญ ลัดพลี
                                                                                   สำ�นักพัฒน�ตล�ดตร�ส�รหนี้



                  1. การออกพันธบัตรออมทรัพย์อดีต-ปจจุบัน

                    รัฐบาลมีการออกพันธบัตรออมทรัพย์ครั้งแรกในปี  2483  เพื่อนำาเงินไปชดเชยการขาดดุลงบประมาณ
            ซึ่งใช้ในการบูรณะและพัฒนาประเทศในช่วงสงครามโลกครั้งที่ 2  ดังนั้น  พันธบัตรออมทรัพย์จึงไม่ใช่ผลิตภัณฑ์

            ใหม่ของรัฐบาล แต่ในอดีตพันธบัตรออมทรัพย์ไม่เป็นที่นิยมเนื่องจากเหตุผลหลายประการ เช่น ผลตอบแทนต่ำา
            เมื่อเทียบกับผลตอบแทนของตราสารหนี้ภาคเอกชน  มีสภาพคล่องต่ำา  ประกอบกับเงื่อนไขต่างๆ  ซึ่งทำาให้ผู้ถือ

            พันธบัตรออมทรัพย์ไม่สามารถซื้อ-ขายได้อย่างสะดวก ประชาชนรายย่อยจึงไม่รู้จักพันธบัตรออมทรัพย์เท่าใดนัก
            ในขณะเดียวกัน ในช่วงกว่า 10 ปีก่อนวิกฤติเศรษฐกิจปี 2540 รัฐบาลดำาเนินนโยบายสมดุลหรือใกล้สมดุล

            มาโดยตลอด รัฐบาลจึงไม่มีความจำาเป็นต้องกู้เงินและแทบจะไม่มีการออกพันธบัตรออมทรัพย์เลย อย่างไรก็ตาม
            พันธบัตรออมทรัพย์เริ่มเป็นที่รู้จักกันอย่างแพร่หลายตั้งแต่ช่วงหลังวิกฤติปี 2540 เนื่องจากพันธบัตรออมทรัพย์

            เป็นเครื่องมือหลักในการกู้เงินของรัฐบาล โดยในช่วงปี 2542-2547 รัฐบาลมีการออกพันธบัตรออมทรัพย์เฉลี่ย
            คิดเป็นร้อยละ 40 ของความต้องการกู้เงินประจำาปี

                     จุดเด่นหรือจุดขายของพันธบัตรออมทรัพย์ในช่วงเวลาดังกล่าว คือ มีผลตอบแทนที่จูงใจ และที่สำาคัญยิ่ง
            พันธบัตรออมทรัพย์ของรัฐบาลถือเป็นพันธบัตรที่มีความมั่นคงสูงที่สุด ซึ่งเมื่อประกอบกับผลตอบแทนที่จูงใจ

            แล้ว จึงไม่น่าแปลกใจเลยว่าพันธบัตรออมทรัพย์จะได้รับความนิยมอย่างมาก โดยพันธบัตรออมทรัพย์รุ่นที่ได้รับ
            ความนิยมสูงสุดคือ พันธบัตรออมทรัพย์ช่วยชาติ รุ่นอายุ 5 7 และ 10 ปี ที่ออกในปี 2545 และเพื่อเป็นการสร้าง

            แรงจูงใจ  รัฐบาลจึงได้บวกส่วนชดเชยอัตราภาษีดอกเบี้ยรับที่ไม่เกินร้อยละ 15  บนอัตราผลตอบแทนของตลาด
            ส่งผลให้อัตราดอกเบี้ยหน้าตั๋วของพันธบัตรออทรัพย์ช่วยชาติ รุ่นอายุ 5 7 และ 10 ปี สูงถึงร้อยละ 4.15 5.25

            และ 6.10 ตามลำาดับ และทำาให้รัฐบาลสามารถกู้เงินได้สูงกว่า 300,000 ล้านบาท ในคราวเดียว 3
                    จากนั้นมา ตั้งแต่ในช่วงปลายปี 2547-2551 เศรษฐกิจมีการขยายตัวได้อย่างปกติ รัฐบาลจึงไม่ได้

            ออกพันธบัตรออมทรัพย์มากเท่าใดนัก  โดยคงการจัดจำาหน่ายไว้ที่เดือนละ 500  ล้านบาท  เพื่อหล่อเลี้ยงตลาด
            และกำาหนดอัตราดอกเบี้ยที่บวกค่าชดเชยอัตราภาษีไว้ที่ร้อยละ 2-5 เท่านั้น ประกอบกับ การจำากัดวงเงิน

            การจำาหน่ายขั้นสูงไว้ที่ 500,000 บาท ต่อผู้มีสิทธิซื้อ จึงทำาให้พันธบัตรออมทรัพย์รายเดือนในช่วงเวลาดังกล่าว
            ไม่ประสบความสำาเร็จเท่าที่ควร




                3
               รัฐบาลได้มีการกำาหนดอัตราดอกเบี้ยหน้าตั๋วของพันธบัตรออมทรัพย์ช่วยชาติก่อนวันจำาหน่ายถึง 2 เดือนโดยในวันที่จำาหน่ายพันธบัตร
            ออมทรัพย์ช่วยชาติเมื่อวันที่ 2 กันยายน 2545 นั้น yield ของพันธบัตรรัฐบาลรุ่นอายุ 5 7 และ 10 ปี อยู่ที่ ร้อยละ 3.00 3.80 และ 4.45
            ตามลำาดับ อนึ่ง วงเงินพันธบัตรออมทรัพย์ช่วยชาติกว่า 300,000 ล้านบาท คิดเป็นร้อยละ 61ของความต้องการกู้เงินในปีงบประมาณ พ.ศ.

            2545




                                                                           รายงานประจำาปี 2552 ANNUAL REPORT 2009  129
   125   126   127   128   129   130   131   132   133   134   135