Page 128 - Annual Report 2552
P. 128

PDMO         PUBLIC DEBT

                                                                                                     MANAGEMENT
                                                                                                     OFFICE






            ของ CIB  จะมีลักษณะการจ่ายดอกเบี้ยที่ต่ำา  แต่จะมีภาระการชำาระหนี้เมื่อพันธบัตรครบกำาหนดที่สูง  ซึ่งก่อให้เกิด
            ประเด็นในด้านวินัยทางการคลังเกี่ยวกับการโยนภาระการชำาระหนี้ไปในอนาคต

                      การโยนภาระการชำาระหนี้ หรือที่เรียกว่า Inter-Generation Transferring เป็นประเด็นที่เกิดจาก
            โครงสร้างของรูปแบบ CIB ในการจ่ายดอกเบี้ยที่น้อยกว่าพันธบัตรทั่วไป และจ่ายส่วนชดเชยเงินเฟ้อของเงินต้น

            เพียงครั้งเดียวเมื่อครบกำาหนด ทำาให้ภาระการจ่ายดอกเบี้ยในปีที่ CIB ยังไม่ครบกำาหนด มีวงเงินที่ต่ำา แต่ในปีที่
            ครบกำาหนด กระทรวงการคลังจะมีภาระการจ่ายส่วนชดเชยเงินเฟ้อฯ (Inflation Uplift) ที่สูงถึงกว่าร้อยละ 50 ของ

            เงินต้น  ซึ่งจะสร้างแรงจูงใจให้รัฐบาลกู้เงินโดยใช้ CIB  เพื่อลดภาระดอกเบี้ยในปีปัจจุบัน  และโยนภาระการชำาระ
            ส่วนชดเชยเงินเฟ้อฯ ไปในอนาคต  โดยเฉพาะอย่างยิ่ง  ในช่วงที่รัฐบาลมีการกู้เงินที่สูงอย่างต่อเนื่อง  และภาระ

            การจ่ายดอกเบี้ยก็สูงถึงร้อยละ  13  ของงบประมาณรายจ่าย (กรอบวินัยทางการคลังกำาหนดให้งบประมาณเพื่อ
            การชำาระหนี้ทั้งเงินต้นและดอกเบี้ยไม่เกินร้อยละ 15 ของงบประมาณรายจ่าย) และการจ่ายคืนภาระดังกล่าว ยังจะ

            เป็นการเบียดบังการจัดสรรงบลงทุนในปีนั้นๆ ด้วย
                    6.2 ด่านความต้องการลงทุนใน ILB ของนักลงทุน

                      ในต้นปีงบประมาณ พ.ศ. 2553 สบน. ได้แจ้งถึงเรื่องการศึกษาการออก ILB และสอบถามถึง
            ความต้องการลงทุนใน ILB ของกลุ่มนักลงทุนเป้าหมาย (กบข. สำานักงานประกันสังคม บริษัทประกันชีวิต และ

            ธนาคารพาณิชย์) โดยผลลัพธ์ที่ได้จากการสอบถามทำาให้ สบน. สามารถประเมินความต้องการลงทุนใน ILB ได้
            อย่างละเอียดมากขึ้น โดยเป้าหมายการลงทุนใน ILB ของนักลงทุนแต่ละแห่งมีวัตถุประสงค์ที่แตกต่างกันออกไป

            เช่น กบข. สนใจที่จะลงทุนใน ILB เพื่อรับผลตอบแทนที่สูงกว่าเงินเฟ้อ ธนาคารพาณิชย์บางแห่งจะเน้นการนำา
            ILB  ไปสร้างตลาดอนุพันธ์ที่เกี่ยวกับเงินเฟ้อในประเทศไทย  บางแห่งต้องการให้ทางกระทรวงการคลังจัดทำาอัตรา

            อ้างอิงสำาหรับอัตราดอกเบี้ยที่แท้จริงที่สามารถใช้เป็นฐาน เพื่อให้หน่วยงานภาครัฐและเอกชนได้ใช้อัตราดังกล่าว
            ในการออก ILB ของตนเองได้ต่อไป

                      ในการกำาหนดวงเงินการออก ILB ในแต่ละปี สบน. จำาเป็นต้องรับทราบถึงความต้องการพันธบัตร
            ILB โดยรวมของนักลงทุนปีต่อปี เนื่องจากความต้องการในการลงทุนใน ILB มีลักษณะเพิ่มหรือลดลงตามการปรับตัว

            ของเงินเฟ้อ นอกจากนี้ ในช่วงแรกของการออก ILB ในประเทศไทย นักลงทุนโดยเฉพาะนักลงทุนในประเทศ อาจจะ
            ยังไม่มีความคุ้นเคยและไม่มั่นใจในความต่อเนื่องของ ILB ของกระทรวงการคลัง ทำาให้ สบน. ต้องกำาหนดวงเงิน

            ต่อปีให้สอดคล้องกับสภาวะเงินเฟ้อในแต่ละปี รวมไปถึงวงเงินการประมูลในแต่ละครั้งให้เหมาะสมด้วย
                    6.3 ด่านความยั่งยืน

                      กระทรวงการคลังจำาเป็นต้องมีนโยบายที่ชัดเจนเกี่ยวกับการกู้เงินผ่าน ILB และสร้างความต่อเนื่อง
            และยั่งยืนให้กับ ILB เพื่อให้นักลงทุนสามารถวางแผนการลงทุน และนำา ILB ไปพัฒนาและปรับใช้กับรัฐวิสาหกิจ

            และภาคเอกชนได้ โดยกระทรวงการคลังต้องดำาเนินการสร้างกลไกการซื้อขายในตลาดรองผ่านการวางแผนและ
            หารือร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เช่น ธปท. กระทรวงพาณิชย์ สมาคมตลาดตราสารหนี้ไทย (ThaiBMA) และ

            ตลาดหลักทรัพย์  ในการสร้างอัตราผลตอบแทนที่แท้จริงอ้างอิง  (Benchmark  Real  Rate)  ความต่อเนื่องของ
            Index Ratio การรายงานอัตราผลตอบแทนประจำาวัน รวมถึงแนวทางการพัฒนา ILB ในอนาคต ทั้งในด้าน

            ความหลากหลายของรุ่นอายุ และการพัฒนาตลาดอนุพันธ์ที่อ้างอิงกับอัตราเงินเฟ้อ เป็นต้น






                                                                           รายงานประจำาปี 2552 ANNUAL REPORT 2009  127
   123   124   125   126   127   128   129   130   131   132   133