Page 139 - Annual Report 2552
P. 139

ในบางกรณี โครงการขนาดใหญ่ต้องมีการนำาเข้าวัตถุดิบและเครื่องจักรอุปกรณ์จากต่างประเทศ เช่น

            โครงการรถไฟฟ้าขนส่งมวลชน รัฐบาลอาจเลือกกู้เงินจากแหล่งเงินกู้ทางการจากต่างประเทศ เช่น ธนาคารโลก

            ธนาคารเพื่อการพัฒนาเอเชีย และรัฐบาลญี่ปุ่นผ่านองค์การความร่วมมือระหว่างประเทศของญี่ปุ่น เพื่อได้รับเงิน
            กู้เงื่อนไขผ่อนปรน คือ อัตราดอกเบี้ยต่ำากว่าอัตราดอกเบี้ยตลาดและมีระยะเวลาชำาระคืนเงินกู้ยาว รวมทั้งได้รับ
            การถ่ายทอดเทคโนโลยีและความช่วยเหลือทางวิชาการต่างๆ จากแหล่งเงินกู้

                      สำาหรับโครงสร้างพื้นฐานขนาดใหญ่ กระทรวงการคลังจะพิจารณากู้เงินระยะยาวที่เริ่มชำาระคืนเงินต้น

            และดอกเบี้ยในอีก 7-10 ปีข้างหน้า ซึ่งสอดคล้องกับโครงการที่ใช้เวลาก่อสร้างนาน และสอดคล้องกับหลักการ
            ที่ผู้ใช้ประโยชน์จากโครงการควรจะเป็นผู้รับภาระหนี้ดังกล่าว ซึ่งในกรณีนี้ผู้รับผิดชอบภาระหนี้ คือ คนวัยทำางาน
            หรือผู้เสียภาษีในอนาคต  ซึ่งก็คือผู้ใช้ประโยชน์จากโครงการเมื่อโครงการก่อสร้างแล้วเสร็จและเริ่มเปิดให้บริการ

            นั่นเอง

                    3. เพื่อรักษาเสถียรภาพและเสริมสร้างความมั่นคงทางเศรษฐกิจ
                      ในภาวะเศรษฐกิจปกติรัฐบาลจะดูแลส่งเสริมให้เอกชนเป็นผู้นำาในการลงทุนและนำาพาเศรษฐกิจของ
            ประเทศให้ดำาเนินไปได้  แต่ในภาวะเศรษฐกิจผันผวนหรือในภาวะวิกฤตเศรษฐกิจ  รัฐบาลจำาเป็นต้องใช้นโยบาย

            ขาดดุลการคลังและกู้เงินเพื่อนำาเงินมากระตุ้นเศรษฐกิจและรักษาเสถียรภาพทางเศรษฐกิจ  ตัวอย่างเช่น  ในช่วง

            วิกฤตเศรษฐกิจในปี  2540  เศรษฐกิจไทยหดตัวอย่างรุนแรง  สถาบันการเงินและธุรกิจต้องปิดกิจการมากมาย
            เอกชนขาดสภาพคล่อง ภาครัฐต้องใช้จ่ายเพื่อช่วยเหลือฟื้นฟูสถาบันการเงินไม่ให้ประชาชนผู้ฝากเงินต้อง
            เดือดร้อน และป้องกันไม่ให้ธุรกิจและกิจการต่างๆ ของภาคเอกชนต้องล้มลง รัฐบาลจึงได้กู้เงินทั้งจากในประเทศ

            และต่างประเทศเพื่อฟื้นฟูสถาบันการเงินและปรับโครงสร้างทางเศรษฐกิจ  ซึ่งส่งผลให้หนี้สาธารณะเพิ่มสูงขึ้น

            อย่างมาก
                      ล่าสุดวิกฤติเศรษฐกิจโลกที่เริ่มขึ้นปลายปี 2551 ส่งผลให้รัฐบาลมีความจำาเป็นอีกครั้งที่จะต้องรักษา

            เสถียรภาพทางเศรษฐกิจของประเทศ โดยออกแผนฟื้นฟูเศรษฐกิจระยะที่ 1 (Stimulus Package 1: SP1) หรือ
            มาตรการเร่งด่วนเพื่อชะลอการหดตัวทางเศรษฐกิจ และลดผลกระทบต่อประชาชนผ่านโครงการลดค่าครองชีพ

            ในรูปแบบต่างๆ เช่น รถไฟฟรี รถประจำาทางฟรี เช็คช่วยชาติ 2000 บาท สำาหรับผู้มีรายได้น้อย และให้เบี้ย
            ยังชีพแก่ผู้สูงอายุ  และปัจจุบันรัฐบาลอยู่ระหว่างการดำาเนินการแผนฟื้นฟูเศรษฐกิจระยะที่  2  ซึ่งเป็นมาตรการ

            ระยะปานกลาง (Stimulus Package 2: SP2  หรือแผนปฏิบัติการไทยเข้มแข็ง 2555)  เพื่อเร่งการลงทุนของ
            ภาครัฐ กระตุ้นเศรษฐกิจ การจ้างงาน และเพิ่มความสามารถในการแข่งขันของประเทศในอนาคต โดยลงทุนใน

            โครงการหลากหลายสาขา เช่น การคมนาคมขนส่ง ระบบโลจิสติกส์ ชลประทาน และสาธารณสุข เป็นต้น

                   4. เพื่อลดต้นทุนการกู้เงินให้แก่รัฐวิสาหกิจ

                      การค้ำาประกันเงินกู้โดยกระทรวงการคลังให้แก่รัฐวิสาหกิจช่วยให้รัฐวิสาหกิจสามารถกู้เงินทั้งจากในและ
            ต่างประเทศได้ด้วยต้นทุนต่ำากว่าการกู้เงินเอง และในบางกรณีเป็นเงื่อนไขการให้กู้เงินของแหล่งเงินกู้ทางการที่
            กำาหนดให้รัฐบาลค้ำาประกันเพื่อให้ได้เงินกู้เงื่อนไขผ่อนปรน  ทั้งนี้  กระทรวงการคลังมิได้รับภาระหนี้ที่ค้ำาประกัน

            ของทุกรัฐวิสาหกิจ รัฐวิสาหกิจส่วนใหญ่มีศักยภาพและรายได้จึงรับผิดชอบภาระหนี้โดยใช้คืนเงินต้นและดอกเบี้ย

            โดยตรง




  138     รายงานประจำาปี 2552 ANNUAL REPORT 2009
   134   135   136   137   138   139   140   141   142   143   144