Page 148 - Annual Report 2552
P. 148
PDMO PUBLIC DEBT
MANAGEMENT
OFFICE
ของโครงการไทยเข้มแข็ง ณ สิ้นเดือนมีนาคม 2553 วงเงินรวม 100,000 ล้านบาท หรือคิดเป็นร้อยละ 28.57
ของวงเงินลงทุน ซึ่งยังน้อยอยู่มากเมื่อเทียบกับแผนการลงทุนที่ได้จัดสรรเม็ดเงินไปแล้ว
• ปัญหาการจัดทำาแผนการลงทุนของกระทรวงสาธารณสุข : ถึงแม้ว่ากระทรวงสาธารณสุข ได้จัดทำาโครงการ
ลงทุนตามแผนปฏิบัติการไทยเข้มแข็งตามกรอบแนวคิดการพัฒนาโครงการลงทุน เพื่อยกระดับมาตรฐานการให้
บริการสาธารณสุขอย่างทั่วถึง โดยพัฒนาระบบบริการให้เกิดความเชื่อมโยงและสัมพันธ์กันระหว่างโครงการตั้งแต่
โรงพยาบาลระดับล่างจนถึงระดับความเชี่ยวชาญเฉพาะด้านไว้อย่างเป็นระบบ และนับเป็นครั้งแรกที่มีการบูรณาการ
ร่วมกับหน่วยงานอื่นที่เกี่ยวข้องกับการให้บริการด้านสุขภาพ ซึ่งหากพิจารณาหลักการและแนวคิดในการจัดทำา
แผนการลงทุนของกระทรวงสาธารณสุขแล้วนั่นค่อนข้างมีกรอบ การลงทุนที่ชัดเจน แต่กระทรวงสาธารณสุขกลับ
ถูกวิพากษ์วิจารณ์อย่างหนักเกี่ยวกับการจัดทำาแผนการลงทุนตามแผนปฏิบัติการไทยเข้มแข็ง 2555 ผ่านสื่อต่างๆ
ว่าเป็นโครงการไทยเข้มแข็งที่มีปัญหามากที่สุด โดยเฉพาะเรื่องที่เกี่ยวกับการจัดสรรเม็ดเงินลงพื้นที่ต่างๆ
การจัดซื้อครุภัณฑ์การแพทย์และสิ่งปลูกสร้าง รวมทั้ง การกำาหนดราคากลาง และรายการครุภัณฑ์ทางการแพทย์
ว่าไม่เหมาะสม ซึ่งส่งผลต่อภาพลักษณ์ของโครงการไทยเข้มแข็ง จึงนับว่าเป็นบทเรียนที่สำาคัญต่อการบริหาร
จัดการโครงการลงทุนที่มีวงเงินลงทุนค่อนข้างสูงของรัฐบาลต่อไป
3.3 ข้อเสนอแนะจากการดำาเนินโครงการไทยเข้มแข็ง 2555
• ความพร้อมของบุคลากรภาครัฐ : เนื่องจากโครงการลงทุนไทยเข้มแข็งมีวงเงินลงทุนค่อนข้างสูง
ในแต่ละปี เมื่อเทียบกับเงินงบประมาณปกติที่หน่วยงานได้รับจัดสรรเป็นจำานวนมาก ดังนั้น อาจเป็นข้อจำากัดทาง
ด้านบุคลากรของหน่วยงานที่มีไม่เพียงพอหรือบุคลากรอาจจะต้องปฏิบัติงานที่เพิ่มขึ้นเป็นเท่าตัวของงานที่ได้
รับผิดชอบตามปกติ ซึ่งรัฐบาลอาจจะต้องคำานึงถึงศักยภาพของบุคลากรภาครัฐหรือเตรียมความพร้อมของ
บุคลากรเพื่อรองรับปริมาณเงินที่เพิ่มขึ้น เนื่องจากบุคลากรเป็นปัจจัยที่สำาคัญต่อการดำาเนินงานโครงการลงทุน
ดังกล่าว มิฉะนั้น อาจจะส่งผลกระทบต่อประสิทธิภาพของการดำาเนินโครงการไทยเข้มแข็งได้ในระยะยาว
• การบริหารจัดการและการบำารุงรักษาโครงการไทยเข้มแข็ง 2555 : โดยจะเห็นได้ว่าโครงการ
ไทยเข้มแข็ง 2555 มีการกระจายการลงทุนไปยังพื้นที่ต่างๆ ทั่วประเทศ ซึ่งมีความยากต่อการบริหารจัดการ
โครงการและการดูแลบำารุงรักษาสิ่งปลูกสร้างต่างๆ เนื่องจากบางหน่วยงานอาจมีข้อจำากัดในการเข้าไปดูแลหรือ
ไม่มีเม็ดเงินที่เพียงพอจะดูแลโครงการที่ชำารุดทรุดโทรม ดังนั้น รัฐบาลอาจจะต้องมีการกำาหนดแนวทางการ
บริหารจัดการโครงการและแนวทางการจัดสรรเงินงบประมาณเพื่อใช้ในการดูแลบำารุงรักษาโครงการดังกล่าวให้
อยู่ในสภาพที่สามารถใช้งานได้ดีต่อไป
4. ผลทางเศรษฐกิจและสังคมของโครงการไทยเข้มแข็ง 2555
จากแผนการดำาเนินงานโครงการไทยเข้มแข็งดังกล่าวข้างต้น หากรัฐบาลสามารถจัดสรรเม็ดเงินลงทุน
ให้เป็นไปตามแผนการดำาเนินงานและแผนการเบิกจ่ายเงินแล้ว คาดว่าโครงการลงทุนดังกล่าวจะส่งผลดีต่อ
การพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมได้ในระยะยาว ดังนี้
รายงานประจำาปี 2552 ANNUAL REPORT 2009 147