Page 149 - Annual Report 2552
P. 149
4.1 สามารถกระตุ้นเศรษฐกิจในประเทศได้จากการเพิ่มการลงทุนของภาครัฐ โดยเฉพาะการลงทุนที่ต้อง
มีการจัดซื้อสินค้าและบริการในประเทศ โดยพบว่าโครงการลงทุนส่วนใหญ่ภายใต้แผนปฏิบัติการไทยเข้มแข็งเป็น
โครงการที่มีสัดส่วนการซื้อสินค้าและบริการจากในประเทศ ซึ่งรวมถึงการจ้างแรงงานในประเทศประมาณร้อยละ
76 ของวงเงินลงทุน นอกจากนี้ การลงทุนในส่วนที่ต้องมีการจัดซื้อสินค้าและบริการจากต่างประเทศส่วนใหญ่
เป็นการลงทุนเพื่อยกระดับเทคโนโลยี และระบบโครงสร้างพื้นฐานที่จำาเป็นต่อการเพิ่มขีดความสามารถใน
การแข่งขันของประเทศในอนาคต ซึ่งจะช่วยเพิ่มผลิตภาพของระบบเศรษฐกิจโดยรวม รวมทั้งช่วยลดต้นทุน
การผลิตของประเทศในด้านต่างๆ เช่น ด้านการขนส่ง ด้านพลังงาน และด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ
4.2 มีการเพิ่มการจ้างงานผ่านโครงการลงทุนขนาดเล็ก ขนาดกลาง และขนาดใหญ่ในสาขาเศรษฐกิจ
ต่างๆ โดยคาดว่าจะก่อให้เกิดการจ้างแรงงานในทุกระดับตั้งแต่แรงงานในระดับล่างจนถึงแรงงานในระดับสูงที่
ต้องใช้ทักษะ และประสบการณ์ขั้นสูง
4.3 การกระจายการลงทุนด้านบริการสาธารณะขั้นพื้นฐานไปยังส่วนภูมิภาคและชนบท โดยคาดว่าจะ
มีโครงการลงทุนด้านบริการสาธารณะขั้นพื้นฐานในสาขาต่างๆ เช่น คมนาคม ระบบชลประทาน การศึกษา
สาธารณสุข รวมถึงการลงทุนในระดับชุมชน ซึ่งโครงการเหล่านี้ล้วนแต่เป็นโครงการที่เน้นการกระจายการให้
บริการสาธารณะขั้นพื้นฐานไปยังภูมิภาคและชนบทอย่างครอบคลุมทั่วประเทศ
4.4 นอกจากนี้ ยังคาดว่าผลจากการดำาเนินโครงการลงทุนด้านเศรษฐกิจเชิงสร้างสรรค์ (Creative
Economy) จะเป็นการช่วยสร้างฐานรายได้ใหม่ให้กับประเทศในอนาคตเนื่องจากโครงการดังกล่าวไปช่วยสร้าง
มูลค่าเพิ่มในผลิตภัณฑ์ต่างๆ โดยเฉพาะการสร้างมูลค่าเพิ่มในด้านศิลปวัฒนธรรมของชาติ เฉกเช่นเดียว
กับประเทศเพื่อนบ้านของเรา อย่างเช่น ประเทศสาธารณรัฐเกาหลีใต้ ซึ่งเป็นประเทศตัวอย่างที่สามารถนำา
ศิลปวัฒนธรรมของชาติมาถ่ายทอดผ่านทางภาพยนตร์ได้อย่างดีเยี่ยม โดยสามารถสร้างรายได้ทั้งจากภาพยนตร์
และการท่องเที่ยวตามสถานที่ต่างๆ ที่ใช้ในการถ่ายภาพยนตร์เป็นจำานวนมาก
4.5 ในส่วนของกระทรวงการคลังการปฏิบัติงานโครงการไทยเข้มแข็ง มีส่วนทำาให้เกิดการพัฒนาระบบ
และแนวคิดในการดำาเนินการใหม่ๆ เช่น ระบบรายงานความก้าวหน้าโครงการด้วยระบบเทคโนโลยีสารสนเทศ
(PFMS-SP2) ซึ่งเป็นรายงานที่เชื่อมโยงระบบบริหารงบประมาณอิเล็กทรอนิกส์ (e-Budgeting) และระบบ
บริหารการเงินการคลังภาครัฐแบบอิเล็กทรอนิกส์ (GFMIS) เข้าด้วยกัน เพื่อรายงานผลการดำาเนินงานและ
การเบิกจ่ายเม็ดเงินของโครงการต่างๆ และการจัดทำาระบบบริหารเงินสดของสำานักงานบริหารหนี้สาธารณะ
148 รายงานประจำาปี 2552 ANNUAL REPORT 2009