Page 138 - ทักษะการเรียนรู้ (ทร21001) ม.ต้น
P. 138
130
เมื่อผู้เรียนได้ร่วมท ากิจกรรม ความเชื่อพื้นฐานทางการศึกษาผู้ใหญ่ ครบทั้ง 5 กิจกรรมแล้ว ครู
น ากระดาษบรู๊ฟที่สรุปกรณีตัวอย่างทั้ง 5 แผ่นติดผนังไว้ เชิญทุกคนเข้าร่วมประชุมกลุ่มใหญ่แล้วให้
ผู้เรียนบางคนอาสาสมัครสรุปความเชื่อพื้นฐานทางการศึกษาผู้ใหญ่ให้เพื่อนฟัง จากนั้นครูสรุปสุดท้าย
ด้วยบทสรุปตัวอย่างดังนี้
ความเชื่อพื้นฐานทางการศึกษาผู้ใหญ่ เชื่อว่าคนทุกคนมีพื้นฐานที่แตกต่างกัน ความต้องการก็ไม่
เหมือนกันแต่ทุกคนก็มีจุดมุ่งหมายปลายทางของตนที่จะก้าวไปสู่ความส าเร็จ ซึ่งถ้าบรรลุถึงสิ่งนั้นได้เขา
ก็จะมีความสุข ดังนั้น ความสุขเหล่านี้จึงเป็นเรื่องต่างจิตต่างใจที่ก าหนดตามสภาวะของตน อย่างไรก็ตาม
การจะมีความสุขอยู่ได้ในสังคม จ าเป็นต้องรู้จักปรับตัวเอง และสังคมให้ผสมกลมกลืนกันจนเกิดความ
พอดีแก่เอกัตภาพ และบางครั้งหากเป็นการตัดสินใจที่ได้กระท าดีที่สุดตามก าลังของตัวเองแล้ว ก็จะมี
ความพอใจกับการตัดสินใจนั้น อีกประการหนึ่งในสังคมที่มีการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วนี้ การที่จะ
ปรับตัวเองและสิ่งแวดล้อมให้เกิดความพอดีนั้น จ าเป็นต้องรู้จักการคิด การแก้ปัญหา การเรียนการสอนที่
จะให้คนรู้จักแก้ปัญหาได้นั้น การสอนโดยการบอกอย่างเดียวคงไม่ได้ประโยชน์มากนัก การสอนให้รู้จัก
คิด รู้จักวิเคราะห์จึงเป็นวิธีที่ควรน ามาใช้ กระบวนการคิด การแก้ปัญหามีหลากหลายวิธีแตกต่างกันไป
แต่กระบวนการคิด การแก้ปัญหาที่ต้องใช้ข้อมูลประกอบการคิด การวิเคราะห์อย่างน้อย 3 ประการ คือ
ข้อมูลทางวิชาการ ข้อมูลเกี่ยวกับตัวเอง และข้อมูลเกี่ยวกับสังคมและสิ่งแวดล้อม ซึ่งเมื่อน าผลการคิดนี้
ไปปฏิบัติแล้วพอใจ มีความสุข ก็จะเรียกการคิดเช่นนั้นว่า คิดเป็น
บทสรุป
เราได้เรียนรู้ถึงความเชื่อพื้นฐานทางการศึกษาผู้ใหญ่ โดยการท ากิจกรรมร่วมกันทั้ง 5 กิจกรรม
ดังบทสรุปที่ได้ร่วมกันเสนอไว้แล้ว ความเชื่อพื้นฐานที่สรุปไว้นี้คือ ความเชื่อพื้นฐานที่เป็นความจริงใน
ชีวิตของคนที่ กศน. น ามาเป็นหลักให้คนท างาน กศน. ตลอดจนผู้เรียนได้ตระหนักและเข้าใจแล้ว
น าไปใช้ในการด ารงชีวิตเพื่อการคิด การแก้ปัญหา การท างานร่วมกับคนอื่น การบริหารจัดการในฐานะ
เป็นนายเป็นผู้น าหรือผู้ตาม ในฐานะผู้สอน ผู้เรียน ในฐานะเป็นสมาชิกในครอบครัว สมาชิกในชุมชน
และสังคม เพื่อให้รู้จักตัวเอง รู้จักผู้อื่น รู้จักสภาวะสิ่งแวดล้อม การคิดการตัดสินใจต่าง ๆ ที่ค านึงถึง
ข้อมูลที่เพียงพออย่างน้อยประกอบด้วยข้อมูล 3 ด้าน คือ ข้อมูลทางวิชาการ ข้อมูลเกี่ยวกับตนเองและ
ข้อมูลเกี่ยวกับสังคม สิ่งแวดล้อม ด้วยความใจกว้าง มีอิสระ ยอมรับฟังความคิดเห็นของผู้อื่นไม่เอาแต่ใจ
ตนเอง จะได้มีสติ รอบคอบ ละเอียดถี่ถ้วน ไม่ผิดพลาดจนเกินไป เราถือว่าความเชื่อพื้นฐานทางการศึกษา
ผู้ใหญ่ ดังกล่าวนี้ คือ พื้นฐานเบื้องต้นของการน าไปสู่การคิดเป็น หรือเรียกตามภาษานักวิชาการว่า
ปฐมบทของกระบวนการคิดเป็น