Page 140 - ทักษะการเรียนรู้ (ทร21001) ม.ต้น
P. 140

132



                         ขอให้ผู้เรียนน าบันทึกความเข้าใจที่ได้ศึกษาเรื่อง คิดเป็น ในกิจกรรมที่ 1 และ 2 ไปปรึกษาครู

                  ว่าท่านมีความเข้าใจเรื่องคิดเป็นมากน้อยเพียงใด ครูประเมินความเข้าใจของผู้เรียนแต่ละคนด้วย
                  เครื่องหมาย 



                                                         เข้าใจดีมาก                               เข้าใจดีพอควร


                         ให้ผู้เรียนได้ศึกษาเรื่องของคิดเป็นและกระบวนการคิดเป็นต่อไปนี้อย่างช้า ๆ ไม่ต้องรีบร้อน

                  แล้วให้คะแนนความเข้าใจของตัวเองด้วยเครื่องหมาย   ลงในกรอบการประเมินหลังจากการท าความ
                  เข้าใจเสร็จแล้ว

                         2.1 แนวคิดและทิศทางของคิดเป็น

                             “คิดเป็น” เป็นค าไทยสั้น ๆ ง่าย ๆ ที่ดร.โกวิท วรพิพัฒน์ ใช้เพื่ออธิบายถึงคุณลักษณะที่

                  พึงประสงค์ของคนในการด ารงชีวิตอยู่ในสังคมที่มีการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว รุนแรง และซับซ้อน ได้
                  อย่างปกติสุข “คิดเป็น” มาจากความเชื่อพื้นฐานเบื้องต้นที่ว่าคนมีความแตกต่างกันเป็นธรรมดา แต่ทุกคน

                  มีความต้องการสูงสุดเหมือนกันคือความสุขในชีวิต คนจะมีความสุขได้ก็ต่อเมื่อมีการปรับตัวเองและ

                  สังคม สิ่งแวดล้อมให้เข้าหากันอย่างผสมกลมกลืนจนเกิดความพอดี น าไปสู่ความพอใจและมีความสุข
                  อย่างไรก็ตามสังคมสิ่งแวดล้อมไม่ได้หยุดนิ่ง แต่จะมีการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วและรุนแรงอยู่

                  ตลอดเวลาก่อให้เกิดปัญหา เกิดความทุกข์ ความไม่สบายกายไม่สบายใจขึ้นได้เสมอ กระบวนการปรับ

                  ตนเองกับสังคมสิ่งแวดล้อมให้ผสมกลมกลืนจึงต้องด าเนินไปอย่างต่อเนื่องและทันการ คนที่จะท าได้
                  เช่นนี้ต้องรู้จักคิด รู้จักใช้สติปัญญา รู้จักตัวเองและธรรมชาติสังคมสิ่งแวดล้อมเป็นอย่างดี สามารถ

                  แสวงหาข้อมูลที่เกี่ยวข้องอย่างหลากหลายและพอเพียง อย่างน้อย 3 ประการ คือ ข้อมูลทางวิชาการ

                  ข้อมูลทางสังคมสิ่งแวดล้อม และข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับตนเองมาเป็นหลักในการวิเคราะห์ปัญหาเพื่อเลือก
                  แนวทางการตัดสินใจที่ดีที่สุดในการแก้ปัญหา หรือสภาพการณ์ที่เผชิญอยู่อย่างรอบคอบ จนมีความ

                  พอใจแล้วก็พร้อมจะรับผิดชอบการตัดสินใจนั้นอย่างสมเหตุสมผล เกิดความพอดีความสมดุลในชีวิต

                  อย่างสันติสุข เรียกได้ว่า “คนคิดเป็น” กระบวนการ คิดเป็น อาจสรุปได้ดังนี้
   135   136   137   138   139   140   141   142   143   144   145