Page 88 - ทักษะการเรียนรู้ (ทร21001) ม.ต้น
P. 88
80
แตกต่างไปจากเดิมหรือไม่ และนอกจากนั้น เมื่อเสร็จสิ้นการท างานหรือเมื่อจบโครงการ ก็จะต้องมีการ
ทบทวนสิ่งต่าง ๆ ที่ได้มาแล้วว่ามีอะไรบ้างที่ท าได้ดี มีอะไรบ้างที่ต้องปรับปรุงแก้ไขหรือรับไว้เป็น
บทเรียน ซึ่งการเรียนรู้ตามรูปแบบปลาทูนี้ถือเป็นหัวใจส าคัญของกระบวนการเรียนรู้ที่เป็นวงจรอยู่
ส่วนกลางของรูปแบบการจัดการความรู้นั่นเอง
กระบวนการจัดการความรู้
กระบวนการจัดการความรู้ เป็นกระบวนการแบบหนึ่งที่จะช่วยให้องค์กรเข้าถึง ขั้นตอนที่ท า
ให้เกิดการจัดการความรู้ หรือพัฒนาการของความรู้ที่จะเกิดขึ้นภายในองค์กร มีขั้นตอน 7 ขั้นตอน ดังนี้
1. การบ่งชี้ความรู้ เป็นการพิจารณาว่า เป้าหมายการท างานของเราคืออะไร และ เพื่อให้บรรลุ
เป้าหมายเราจ าต้องรู้อะไร ขณะนี้เรามีความรู้อะไร อยู่ในรูปแบบใด อยู่กับใคร
2. การสร้างและแสวงหาความรู้ เป็นการจัดบรรยากาศและวัฒนธรรมการท างานของคนใน
องค์กรเพื่อเอื้อให้คนมีความกระตือรือร้นในการแลกเปลี่ยนความรู้ซึ่งกันและกัน ซึ่ง จะก่อให้เกิดการ
สร้างความรู้ใหม่ เพื่อน าไปใช้ในการพัฒนาอยู่ตลอดเวลา
3. การจัดการความรู้ให้เป็นระบบ เป็นการจัดท าสารบัญและจัดเก็บความรู้ประเภท ต่าง ๆ
เพื่อให้การเก็บรวบรวมและการค้นหาความรู้ น ามาใช้ได้ง่ายและรวดเร็ว
4. การประมวลและกลั่นกรองความรู้ เป็นการประมวลความรู้ให้อยู่ในรูปเอกสาร หรือ
รูปแบบอื่น ๆ ที่มีมาตรฐาน ปรับปรุงเนื้อหาให้สมบูรณ์ ใช้ภาษาที่เข้าใจง่าย และใช้ได้ง่าย
5. การเข้าถึงความรู้ เป็นการเผยแพร่ความรู้เพื่อให้ผู้อื่นได้ใช้ประโยชน์ เข้าถึงความรู้ได้ง่าย
และสะดวก เช่น ใช้เทคโนโลยี เว็บบอร์ด หรือบอร์ดประชาสัมพันธ์ เป็นต้น
6. การแบ่งปันแลกเปลี่ยนความรู้ท าได้หลายวิธีการ หากเป็นความรู้เด่นชัด อาจจัดท าเป็น
เอกสารฐานความรู้ที่ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ หากเป็นความรู้ที่ฝังลึกที่อยู่ในตัวคนอาจจัดท าเป็นระบบ
แลกเปลี่ยนความรู้เป็นทีมข้ามสายงานชุมชนแห่งการเรียนรู้ พี่เลี้ยงสอนงาน การสับเปลี่ยนงาน การยืมตัว
เวทีแลกเปลี่ยนเรียนรู้ เป็นต้น
7. การเรียนรู้ การเรียนรู้ของบุคคลจะท าให้เกิดความรู้ใหม่ ๆ ขึ้นมากมาย ซึ่งจะไปเพิ่มพูน
องค์ความรู้ขององค์กรที่มีอยู่แล้วให้มากขึ้นเรื่อย ๆ ความรู้เหล่านี้จะถูกน าไปใช้เพื่อสร้างความรู้ใหม่ ๆ
เป็นวงจรที่ไม่สิ้นสุด เรียกว่าเป็น “วงจรแห่งการเรียนรู้”