Page 92 - ทักษะการเรียนรู้ (ทร21001) ม.ต้น
P. 92
84
“คุณอ านวย” หรือผู้อ านวยความสะดวกในการจัดการความรู้ เป็นผู้กระตุ้นส่งเสริมให้เกิดการ
แลกเปลี่ยนเรียนรู้ และอ านวยความสะดวกต่อการแลกเปลี่ยนเรียนรู้น าคนมาแลกเปลี่ยนประสบการณ์
การท างานร่วมกัน ช่วยให้คนเหล่านั้นสื่อสารกันให้เกิดความเข้าใจ เห็นความสามารถของกันและกันเป็น
ผู้เชื่อมโยงคนหรือหน่วยงานเข้ามาหากันโดยเฉพาะอย่างยิ่งเชื่อมระหว่างคนที่มีความรู้หรือประสบการณ์
กับผู้ต้องการเรียนรู้และน าความรู้นั้นไปใช้ประโยชน์ คุณอ านวยต้องมีทักษะที่ส าคัญคือทักษะการสื่อสาร
กับคนที่แตกต่างหลากหลาย รวมทั้งต้องเห็นคุณค่าของความแตกต่างหลากหลายและรู้จักประสานความ
แตกต่าง เหล่านั้นให้มีคุณค่าในทางปฏิบัติ ผลักดันให้เกิดการพัฒนางาน และติดตามประเมินผลการ
ด าเนินงานค้นหาความส าเร็จ หรือการเปลี่ยนแปลงที่ต้องการ
“คุณกิจ” คือ เจ้าหน้าที่ ผู้ปฏิบัติงานคนท างานที่รับผิดชอบงานตามหน้าที่ของตนในองค์กรถือ
เป็นผู้จัดการความรู้ตัวจริงเพราะเป็นผู้ด าเนินกิจกรรมการจัดการความรู้มีประมาณร้อยละ 90 ของทั้งหมด
เป็นผู้ร่วมกันก าหนดเป้ าหมายการใช้การจัดการความรู้ของกลุ่มตน เป็นผู้ค้นหาและแลกเปลี่ยนเรียนรู้
ภายในกลุ่ม และด าเนินการเสาะหาและดูดซับความรู้จากภายนอกเพื่อน ามาประยุกต์ใช้ให้บรรลุเป้ าหมาย
ร่วมที่ก าหนดไว้เป็นผู้ด าเนินการจดบันทึกและจัดเก็บความรู้ให้หมุนเวียนต่อยอดความรู้ไป
“คุณลิขิต” คือ คนที่ท าหน้าที่จดบันทึกกิจกรรมจัดการความรู้ต่าง ๆ เพื่อจัดท าเป็นคลังความรู้
ขององค์กร
ในการจัดการความรู้ที่อยู่ในคนโดยการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ร่วมกัน จากการเล่าเรื่องสู่กันฟัง
บุคคลที่ส่งเสริมสนับสนุนให้มีการรวมตัวกันเพื่อเล่าเรื่องคือผู้น าสูงสุด หรือที่เรียกว่า “คุณเอื้อ” เมื่อ
รวมตัวกันแล้วแต่ละคนได้เล่าเรื่องที่ประสบผลส าเร็จจากการปฏิบัติของตนเอง ออกมาให้เพื่อนฟัง คนที่
เล่าเรื่องแต่ละเรื่องนั้นเรียกว่า “คุณกิจ” และในระหว่งที่เล่าจะมีการซักถามความรู้ เพื่อให้เห็นแนวทาง
ของการปฏิบัติ เทคนิค เคล็ดลับในการท างานให้ประสบผลส าเร็จ ผู้ที่ท าหน้าที่เรียกว่า “คุณอ านวย”
และในขณะที่เล่าเรื่องจะมีผู้คอยจดบันทึก โดยเฉพาะเคล็ดลับ วิธีการท างานให้ประสบผลส าเร็จ นั่นคือ
“คุณลิขิต” ซึ่งก็หมายถึงคนที่คอยจดบันทึกนั่นเอง เมื่อทุกคนเล่าจบได้ฟังเรื่องราววิธีการท างานให้
ประสบ ผลส าเร็จแล้ว ทุกคนช่วยกันสรุปความรู้ที่ได้จากการสรุปนี้ เรียกว่า “แก่นความรู้” นั่นเอง
เครื่องมือที่เกี่ยวข้องกับการจัดการความรู้
การจัดการความรู้ หัวใจส าคัญคือการจัดการความรู้ที่อยู่ในตัวคน เครื่องมือที่เกี่ยวข้องกับการ
จัดการความรู้เพื่อการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ จึงมีหลากหลายรูปแบบ ดังนี้
1. การประชุม (สัมมนา ปฏิบัติการ) ทั้งที่เป็นทางการและไม่เป็นทางการ เป็นการแลกเปลี่ยน
เรียนรู้ร่วมกัน หน่วยงานองค์กรต่าง ๆ มีการใช้เครื่องมือการจัดการความรู้ในรูปแบบนี้กันมาก โดยเฉพาะ
หน่วยงานราชการ