Page 94 - ทักษะการเรียนรู้ (ทร21001) ม.ต้น
P. 94

86



                          9.  การทบทวนหลังการปฏิบัติงาน (After Action Review : AAR) เป็นการติดตาม ผลหรือ

                  ทบทวนการท างานของผู้เข้าร่วมกิจกรรม หรือคณะท างานหลังเลิกกิจกรรมแล้ว โดยการนั่งทบทวนสิ่งที่
                  ได้ปฏิบัติไปร่วมกัน ผ่านการเขียนและการพูด ด้วยการตอบค าถามง่าย ๆ ว่า คาดหวังอะไรจากการท า

                  กิจกรรมนี้ได้ตามที่คาดหวังหรือไม่ได้เพราะอะไรและจะท าอย่างไรต่อไป

                          10.  การจัดท าดัชนีผู้รู้  คือการรวบรวมผู้ที่เชี่ยวชาญเก่งเฉพาะเรื่อง  หรือภูมิปัญญามารวบรวม
                  จัดเก็บไว้อย่างเป็นระบบ ทั้งรูปแบบที่เป็นเอกสาร สื่ออิเล็กทรอนิกส์  เพื่อให้คนได้เข้าถึงแหล่งเรียนรู้ได้ง่าย

                  และน าไปสู่กิจกรรมการแลกเปลี่ยนรู้ต่อไป

                           เครื่องมือในการแลกเปลี่ยนเรียนรู้นี้เป็นเพียงส่วนหนึ่งของเครื่องมืออีกหลายชนิดที่น าไปใช้ใน

                  การจัดการความรู้ เครื่องมือที่มีผู้น ามาใช้มากในการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ในระดับตนเองและระดับกลุ่ม คือ
                  การแลกเปลี่ยนเรียนรู้โดยเทคนิคการเล่าเรื่อง  การเล่าเรื่องเป็นการแลกเปลี่ยนเรียนรู้จากวิธีการท างาน

                  ของคนอื่นที่ประสบผลส าเร็จ  หรือที่เรียกว่า  Best  practice  เป็นการเรียนรู้ทางลัด  นั่นคือเอาเทคนิค

                  วิธีการท างานที่คนอื่นท าแล้วประสบผลส าเร็จมาเป็นบทเรียน และน าวิธีการนั้นมาประยุกต์ใช้กับตนเอง

                  เกิดวิธีการปฏิบัติใหม่ที่ดีขึ้นกว่าเดิม เป็นวงจรเรื่อยไปไม่สิ้นสุด การแลกเปลี่ยนเรียนรู้จากการเล่าเรื่องมี
                  ลักษณะ ดังนี้



                                                        การเล่าเรื่อง

                          การเล่าเรื่อง หรือ Storytelling เป็นเครื่องมืออย่างง่ายในการจัดการความรู้ ซึ่งมีวิธีการไม่ยุ่งยาก
                  ซับซ้อน  สามารถใช้ได้กับทุกกลุ่มเป้ าหมายเป็นการเล่าประสบการณ์ในการท างานของแต่ละคนว่ามี

                  วิธีการท าอย่างไรจึงจะประสบผลส าเร็จ



                  กิจกรรมเล่าเรื่อง  ต้องท าอะไรบ้าง
                          กิจกรรมจัดการความรู้ โดยใช้เทคนิคการเล่าเรื่อง ประกอบด้วยกิจกรรมต่าง ๆ ดังนี้

                          1.  ให้คุณกิจ (สมาชิกทุกคน) เขียนเรื่องเล่าประสบการณ์ความส าเร็จในการท างาน ของตนเอง

                  เพื่อให้ความรู้ฝังลึกในตัว (Tacit Knowledge) ปรากฏออกมาเป็นความรู้ชัดแจ้ง (Expicit Knowledge)
                          2.  เล่าเรื่องความส าเร็จของตนเอง ให้สมาชิกในกลุ่มย่อยฟัง

                          3.  คุณกิจ (สมาชิก) ในกลุ่มช่วยกันสกัดขุมความรู้จากเรื่องเล่า เขียนบนกระดาษฟลิปชาร์ต

                          4.  ช่วยกันสรุปขุมความรู้ที่สกัดได้จากเรื่อง  ซึ่งมีจ านวนหลายข้อให้กลายเป็นแก่น  ความรู้
                  ซึ่งเป็นหัวใจที่ท าให้งานประสบผลส าเร็จ

                          5.  ให้แต่ละกลุ่ม คัดเลือกเรื่องเล่าที่ดีที่สุด เพื่อน าเสนอในที่ประชุมใหญ่

                           6.     รวมเรื่องเล่าของทุกคน จัดท าเป็นเอกสารคลังความรู้ขององค์กร หรือเผยแพร่ผ่านทาง

                  เว็บไซต์ เพื่อแบ่งปันแลกเปลี่ยนความรู้ และน ามาใช้ประโยชน์ในการท างาน
   89   90   91   92   93   94   95   96   97   98   99