Page 19 - รายงานน้ำโรงเรียน 60 รูปแบบ 2
P. 19

โครงการพัฒนาแหลงน้ําบาดาลเพื่อสนับสนุนน้ําดื่มสะอาดใหกับโรงเรียนทั่วประเทศ ประจําปงบประมาณ พ.ศ. 2560


                                    - ระดับคุณภาพชีวิตของนักเรียนและบุคลากรในโรงเรียนจํานวน 6,832 แหง ดีขึ้น จากการมีน้ํา
                    บาดาลที่สะอาดปลอดภัยใชสําหรับทุกกิจกรรม
                                    - สุขภาพของเด็กนักเรียนและบุคลากรในโรงเรียนดีขึ้น มีความแข็งแรงของรางการและสติปญญา
                    ชวยรัฐในการประหยัดคาใชจายในการรักษาพยาบาลความเจ็บปวยอันเนื่องมาจากการไดรับสารปนเปอนในน้ําดื่มและ

                    สุขอนามัยที่ไมดีในโรงเรียน

                                    - เพิ่มโอกาสในการเรียนรูของนักเรียนเนื่องจากมีพลานามัยและสติปญญาที่สมบูรณ เปนผลดีตอ
                    ประเทศชาติในอนาคตที่จะมีพลเมืองที่มีคุณภาพ
                                    - เปนศูนยกลางการเรียนรูดานการบริหารจัดการทรัพยากรน้ําบาดาลเพื่อการอุปโภคบริโภคอยาง

                    ยั่งยืน ที่สามารถขยายผลสูการดําเนินธุรกิจการผลิตน้ําดื่มไดมาตรฐานองคการอนามัยโลกในรูปแบบสหกรณโรงเรียนหรือ
                    วิสาหกิจชุมชนตอไป

                                    - เผยแพรขอมูลขาวสารดานการบริหารจัดการทรัพยากรน้ําบาดาลเพื่อการอุปโภคบริโภคแกสาธารณชน
                            9. ผูรับผิดชอบโครงการ

                                    - สํานักพัฒนาน้ําบาดาล กรมทรัพยากรน้ําบาดาล

                            10. ตัวชี้วัดโครงการ

                                    ดานคุณภาพ นักเรียนและชุมชนตามเปาหมายมีน้ําบาดาลสะอาด ไดมาตรฐานน้ําอุปโภคบริโภคใช
                    อยางเพียงพอและทั่วถึง และมีน้ําดื่มสะอาดไดมาตรฐานน้ําดื่มองคการอนามัยโลกใชดื่มกินในโรงเรียนและชุมชนดาน
                    ปริมาณ การพัฒนาแหลงน้ําบาดาลตามเปาหมายสําเร็จตามกรอบระยะเวลาที่กําหนด




                          2. ขั้นตอนการดําเนินการ/กิจกรรมสําคัญ
                              2.1 การสํารวจธรณีฟสิกส
                              การสํารวจทางธรณีฟสิกสมีอยูหลายวิธี บางวิธีวัดคาสนามที่มีอยูแลวในธรรมชาติ แตบางวิธีจําเปนตอง
                    อาศัยการสรางสนามขึ้นเพื่อปลอยลงสูพื้นดินแลวทําการวัดคา วิธีการวัดสนามธรรมชาติซึ่งใช แรงโนมถวง
                    สนามแมเหล็ก สนามไฟฟา และสนามแมเหล็กไฟฟา เพื่อหาการรบกวนที่เกิดขึ้นในสนามเหลานั้น ซึ่งอาจมีสาเหตุมา
                    จากลักษณะทางธรณีวิทยาใตผิวดิน ที่มีความสําคัญทางเศรษฐกิจหรือความสนใจในแงอื่นๆ วิธีการสํารวจโดยอาศัยการ
                    สรางสนามขึ้น อาทิสนามไฟฟาหรือสนามแมเหล็กไฟฟา ซึ่งอาจใกลเคียงกับสนามที่เกิดขึ้นตามธรรมชาติ หรือการสราง
                    คลื่นไหวสะเทือนและสงลงสูใตพื้นดิน เพื่อหาขอบเขตของลักษณะทางธรณีวิทยาที่อยูใตพื้นดิน โดยทั่วไปวิธีการวัด
                    สนามธรรมชาติใหขอมูลที่ระดับลึกกวาและทําไดงายกวาวิธีการสํารวจโดยอาศัยการสรางสนาม แตวิธีการสํารวจโดย

                    อาศัยการสรางสนามขึ้น สามารถใหขอมูลของลักษณะทางธรณีวิทยาใตผิวดินที่มีรายละเอียดมากกวา การสํารวจทาง
                    ธรณีฟสิกสที่กรมทรัพยากรน้ําบาดาลใชในงานสํารวจหาแหลงน้ําบาดาลมีอยูหลักๆ 2 วิธี ดังตอไปนี้

                              การสํารวจความตานทานไฟฟาจําเพาะ (Electrical Resistivity Method)








                    สํานักทรัพยากรน้ําบาดาล เขต 10 อุดรธานี                                                 หนา 9
   14   15   16   17   18   19   20   21   22   23   24