Page 18 - หนังสือโครงการส่งเสริมการอ่าน
P. 18
๔.๓ สถานที่ส าหรับจัดกิจกรรมอ่านหนังสือให้ฟัง อาจเป็นหน้าเสาธง ห้องสมุด ห้องเรียน ห้องประชุม
สถานที่จัดงานส าคัญต่าง ๆ ห้องส่งเสียงตามสาย สถานีวิทยุ ฯลฯ ถ้าการอ่านนั้นต้องมีอุปกรณ์การอ่านประกอบ
ต้องเตรียมให้พร้อม ถ้าเป็นการอ่านต่อหน้าผู้ฟัง ควรจัดที่นั่งให้ผู้ฟังสามารถมองเห็นและได้ยินผู้อ่านอย่างชัดเจน
ถ้าเป็นการอ่านหนังสือให้กลุ่มผู้ฟังซึ่งเป็นเด็กเล็ก ควรจัดให้ผู้อ่านได้อยู่ใกล้กับเด็ก และจัดกลุ่มขนาดเล็ก
เพื่อเด็กจะได้ดูรูปจากหนังสือหรือหยิบจับหนังสือด้วย
๔.๔ อุปกรณ์ประกอบการอ่าน ในการอ่านหนังสือให้ฟัง ถ้ามีอุปกรณ์อื่น ๆ ประกอบด้วย จะท าให้
กิจกรรมการอ่านหนังสือให้ฟังน่าสนใจยิ่งขึ้น อุปกรณ์ที่ควรจัดหามาตามความเหมาะสม เช่น
- ภาพประกอบเรื่อง ซึ่งอาจจะเป็นภาพถ่าย หรือภาพวาดก็ได้
- เพลงประกอบ
- การแสดงหุ่น
- ป้ายนิทรรศการ
- ภาพนิ่ง ภาพเลื่อน วิดีโอ
- แผ่นภาพและป้ายผ้าส าลี
๔.๕ วิธีการอ่าน
- ถ้าเป็นการอ่านต่อหน้าผู้ฟัง ผู้อ่านควรอยู่ในท่าที่จะเห็นผู้ฟังทั่วถึง
- การจับหนังสือและเปิดหนังสือควรให้ถูกต้อง
- ท่าทางในการอ่านควรอยู่ในอาการส ารวม แต่มีลักษณะชวนให้อยากฟัง
- การอารัมภบทควรให้กะทัดรัด เร้าใจผู้ฟังให้สนใจในเรื่องที่จะอ่าน ถ้ามีอุปกรณ์ประกอบต้อง
เตรียมให้พร้อม
- อ่านออกเสียงให้ได้ยินชัดเจนทั่วถึง โดยเฉพาะการออกเสียง ร ล ค าควบกล้ า ฯลฯ
- ทอดจังหวะในการอ่านให้เหมาะสม
- อ่านเว้นวรรคตอนให้ถูกต้อง
- ผู้อ่านควรมองหน้าผู้ฟังเป็นระยะ
๔.๖ การประชาสัมพันธ์กิจกรรมการอ่านหนังสือให้ฟัง ควรประชาสัมพันธ์ให้ผู้ฟังได้ทราบว่าจะมี
การอ่านหนังสือให้ฟัง วัน เวลาใด ใครเป็นผู้อ่าน จัดที่ไหน มีการจัดกิจกรรมประกอบอะไรบ้าง และเมื่อจัดแล้ว
ควรจัดอย่างสม่ าเสมอ
๔.๗ กิจกรรมการอ่านหนังสือให้ฟัง จัดได้หลายลักษณะ เช่น
- อ่านในรายการเสียงตามสาย
- อ่านหนังสือวันละหน้าหรืออ่านข่าวตอนเช้า หน้าเสาธง หน้าชั้นเรียน
- อ่านหนังสือเพื่อเป็นการแนะน าหนังสือ วารสาร หนังสือพิมพ์ หรือแนะน าสิ่งพิมพ์ใหม่
- อ่านหนังสือในวันส าคัญต่าง ๆ เช่น วันเฉลิมพระชนมพรรษา วันเด็กแห่งชาติ ฯลฯ
- ประกวดการอ่านหนังสือให้ฟัง
- กิจกรรมอ่านหนังสือในครอบครัว
- อ่านหนังสือทางวิทยุกระจายเสียง
คู่มือการด าเนินงานกิจกรรมโครงการส่งเสริมนิสัยรักการอ่านและการพัฒนาห้องสมุด ประจ าปีงบประมาณ 2561
13