Page 17 - หนังสือโครงการส่งเสริมการอ่าน
P. 17
การอ่านหนังสือให้ฟัง เป็นกิจกรรมส่งเสริมการอ่านอย่างหนึ่งที่จะจูงใจผู้ฟังให้รักหนังสือ อยาก
ติดตามเรื่องที่ได้ฟังต่อไปด้วยตนเอง และที่ได้ประโยชน์อย่างยิ่งคือ ได้ฟังการอ่านออกเสียงที่ถูกต้อง การอ่านที่
ถูกวิธี ได้ฟังความไพเราะของภาษาอันเป็นประโยชน์ต่อการเรียนภาษา
สิ่งส าคัญในการอ่านหนังสือให้ฟังประกอบด้วย ผู้อ่าน สิ่งที่อ่าน ผู้ฟัง และการเตรียมการ ดังนี้
๑. ผู้อ่าน ที่จะอ่านหนังสือให้ผู้อื่นฟัง ต้องเป็นผู้ที่อ่านหนังสือถูกต้องตามอักขรวิธี อ่านชัดเจน เว้นวรรคตอน
ถูกต้อง ฯลฯ ทุกคนมีโอกาสท าได้ด้วยการฝึกฝน ผู้ที่อ่านหนังสืออาจจะเป็น ๑) ครูบรรณารักษ์หรือ ครูที่สนใจ
๒) นักเรียนที่อ่านหนังสือได้คล่องแคล่ว ถูกต้องตามอักขรวิธี ๓) วิทยากรจากภายนอก ๔) เจ้าของบทประพันธ์ที่
น ามาอ่าน
๒. สิ่งที่อ่าน สิ่งที่น ามาอ่านให้ผู้ฟัง อาจจะเป็นในลักษณะต่อไปนี้
๒.๑ บทความจากหนังสือพิมพ์ วารสาร
๒.๒ หนังสือประเภทต่าง ๆ ทั้งร้อยแก้ว ร้อยกรอง
๒.๓ ประกาศต่าง ๆ
การอ่านแต่ละครั้ง อาจจะเป็นการอ่านตอนหนึ่งหรือหลายตอนของเรื่องเดียวกัน หรืออ่านหลาย ๆ เรื่อง
เรื่องละตอนก็ได้
๓. ผู้ฟัง
๓.๑ ได้ฟังความไพเราะของภาษา
๓.๒ ได้ฟังการอ่านออกเสียงที่ถูกต้อง
๓.๓ ได้ฟังการอ่านหนังสือที่ถูกต้องตามอักขรวิธี เช่น การเว้นวรรค การทอดจังหวะ ฯลฯ
๓.๔ ถ้าเป็นการอ่านในลักษณะที่เห็นตัวผู้อ่าน ผู้ฟังก็จะได้เห็นท่าทางของผู้อ่าน การหยิบจับ
หนังสือที่ถูกต้อง
๓.๕ ได้รู้จักหนังสือและข่าว เรื่องราวที่น่าสนใจ เป็นแนวทางในการอ่านและศึกษาด้วยตนเอง
๔. การเตรียมการ การเตรียมการอ่านหนังสือให้ฟัง ควรมีการเตรียมการ ดังนี้
๔.๑ การเลือกเรื่อง ผู้ที่จะอ่านหนังสือให้ฟังควรจะ
- เลือกเรื่องที่เหมาะสมกับกลุ่มผู้ฟัง ตามวัย ตามวาระและโอกาส เช่น ถ้าเป็นเด็กก่อนวัยเรียน
ควรเลือกเรื่องที่มีค าศัพท์เข้าใจง่าย มีค าคล้องจอง ฯลฯ
- เลือกเรื่องที่เหมาะสมกับความถนัดและบุคลิกของผู้อ่าน
- ถ้าเป็นหนังสือ เมื่อเลือกเรื่องได้แล้ว ควรเลือกตอนที่น่าสนใจ ซึ่งเป็นตอนที่ดีที่สุดของ
หนังสือเล่มนั้น หรืออาจจะเลือกบางบท หรืออ่านบางส่วนของบท เพื่อชวนให้ผู้ฟังอยากติดตามอ่านต่อไป
- ถ้าเป็นการอ่านทางวิทยุ ซึ่งเป็นรายการติดต่อกัน ให้อ่านเป็นตอน ๆ ไปจนจบเรื่อง
๔.๒ การเตรียมตัวส าหรับผู้อ่าน ผู้ที่จะอ่านหนังสือให้ฟังควรจะ
- ต้องรู้ว่าการอ่านหนังสือให้ฟังแต่ละครั้งนั้นเป็นการอ่านต่อหน้าผู้ฟังกลุ่มเล็กหรือใหญ่ และ
จะต้องไปนั่งอ่านหรือยืนอ่าน หรือเป็นการอ่านผ่านสื่อต่าง ๆ เช่น โทรทัศน์ วิทยุ หรือเสียงตามสาย
- หนังสือหรือสิ่งพิมพ์ที่จะอ่าน ควรคั่นหน้าหรือตอนที่จะอ่านไว้ให้เรียบร้อย ถ้ามีหลายตอน
อาจบันทึกหัวชื่อเรื่องไว้ที่บนกระดาษคั่นหน้าหนังสือทุก ๆ เรื่องที่จะอ่าน
- เตรียมตัวฝึกซ้อมการอ่านล่วงหน้าจนกระทั่งพอใจ ถ้าเป็นการอ่านมากกว่าหนึ่งคน ควรมี
การฝึกซ้อมล่วงหน้าให้แม่นย า โดยเฉพาะถ้าอ่านบทสนทนาโต้ตอบกัน
คู่มือการด าเนินงานกิจกรรมโครงการส่งเสริมนิสัยรักการอ่านและการพัฒนาห้องสมุด ประจ าปีงบประมาณ 2561
12