Page 12 - ศาสนาและหน้าที่พลเมือง ม.ต้น
P. 12

4


               1.1 ศาสนาพุทธในประเทศไทย

                     พุทธประวัติ
                       ศาสดาผูที่คนพบศาสนาและเผยแผคําสั่งสอนหรือหลักธรรมของศาสนาพุทธ คือ

               พระพุทธเจา
                       พระพุทธเจา พระนามเดิมวา "สิทธัตถะ"  เปนพระราชโอรสของพระเจาสุทโธทนะและ

               พระนางสิริมหามายา แหงกรุงกบิลพัสด แควนสักกะ พระองคทรงถือกําเนิดในศากยวงศ สกุลโคตมะ

               พระองคประสูติในวันศุกร ขึ้น 15 ค่ํา เดือน 6 (เดือนวิสาขะ) ปจอ กอนพุทธศักราช 80 ป ณ สวนลุมพินีวัน
               ซึ่งตั้งอยูระหวางกรุงกบิลพัสดุ แควนสักกะ กับกรุงเทวทหะ แควนโกลิยะ (ปจจุบัน คือ ตําบลรุมมินเด

               ประเทศเนปาล) ทั้งนี้ เปนเพราะธรรมเนียมที่สตรีจะตองไปคลอดบุตรที่บานบิดามารดาของตนพระนาง-
               สิริมหามายา จึงตองเดินทางไปกรุงเทวทหะ

                      หลังจากประสูติได 5 วัน พระเจาสุทโธทนะ โปรดใหประชุมพระประยูรญาติ และเชิญพราหมณ
               ผูเรียนไตรเพท จํานวน 108 คน เพื่อมาทํานายพระลักษณะของพระราชกุมาร พระประยูรญาติได

               พรอมใจกันถวายพระนามวา "สิทธัตถะ" มีความหมายวา "ผูมีความสําเร็จสมประสงคทุกสิ่งทุกอยาง
               ที่ตนตั้งใจจะทํา" สวนพราหมณเหลานั้นคัดเลือกกันเองเฉพาะผูที่ทรงวิทยาคุณประเสริฐกวาพราหมณ

               ทั้งหมดได 8 คน เพื่อทํานายพระราชกุมาร พราหมณ 7 คนแรก ตางก็ทํานายไว 2 ประการ คือ
               "ถาพระราชกุมารเสด็จอยูครองเรือนก็จักเปนพระเจาจักรพรรดิผูทรงธรรม หรือถาเสด็จออกผนวช
               เปนบรรพชิตจักเปนพระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจาผูไมมีกิเลสในโลก" สวนโกณทัญญะพราหมณผูมี

               อายุนอยกวาทุกคนไดทํานายเพียงอยางเดียววา “พระราชกุมารจักเสด็จออกจากพระราชวังผนวช

               เปนบรรพชิตแลวตรัสรูเปนพระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจาผูไมกิเลสในโลก" เมื่อเจาชายสิทธัตถะ
               ประสูติได 7 วัน พระราชมารดาก็เสด็จสวรรคต พระเจาสุทโธทนะทรงมอบหมายใหพระนางมหาปชาบดี-
               โคตรมี ซึ่งเปนพระขนิษฐภคินีของพระนางสิริมหามายา เปนผูถวายอภิบาลเลี้ยงดู เมื่อพระสิทธัตถะ

               ทรงพระเจริญมีพระชนมายุได 8 พรรษา ไดทรงศึกษาในสํานักอาจารยวิศวามิตร ซึ่งมีเกียรติคุณแผ
               ขจรไกลไปยังแควนตาง ๆ เจาชายสิทธัตถะ ทรงศึกษาศิลปวิทยาเหลานี้ไดอยางวองไวและเชี่ยวชาญ

               จนหมดความสามารถของพระอาจารย
                       ดวยพระราชบิดามีพระราชประสงคมั่นคงที่จะใหเจาชายสิทธัตถะทรงครองเพศฆราวาส เปน

               พระจักรพรรดิผูทรงธรรม จึงพระราชทานความสุขเกษมสําราญแวดลอมดวยความบันเทิง
               นานาประการแกพระราชโอรส เพื่อผูกพระทัยใหมั่งคงในทางโลก เมื่อเจาชายสิทธัตถะเจริญพระชนมได

               16 พรรษา พระเจาสุทโธทนะมีพระราชดําริวา พระราชโอรสสมควรจะไดอภิเษกสมรสจึงโปรดให
               สรางประสาทอันวิจิตรงดงามขึ้น 3 หลัง สําหรับใหพระราชโอรสไดประทับอยางเกษมสําราญตาม

               ฤดูกาลทั้ง 3 คือ ฤดูรอน ฤดูฝน และฤดูหนาว จากนั้นทรงสูขอพระนางพิมพายโสธรา พระราชธิดาของ
               พระเจาสุปปพุทธะ และพระนางอมิตา  แหงเทวทหะนคร ในตระกูลโกลิยวงศ ใหอภิเษกดวย เจาชายสิทธัตถะ
   7   8   9   10   11   12   13   14   15   16   17