Page 13 - ศาสนาและหน้าที่พลเมือง ม.ต้น
P. 13

5

               ไดเสวยสุขสมบัติจนพระชนมายุได 29 พรรษา พระนางพิมพายโสธรา จึงประสูติพระโอรส พระองคมี

               พระราชหฤทัยสิเนหาในพระโอรสเปนอยางยิ่ง เมื่อพระองคทรงทราบถึงการประสูติของพระโอรส
               พระองคตรัสวา “ราหุลชาโตพันธนาชาต” แปลวา “บวงเกิดแลว เครื่องจองจําเกิดแลว”

                       ถึงแมเจาชายสิทธัตถะจะทรงพรั่งพรอมดวยสุขสมบัติมหาศาลก็มิไดพอพระทัยในชีวิต
               คฤหัสถ พระองคยังทรงมีพระทัยฝกใฝใครครวญถึงสัจธรรมที่จะเปนเครื่องนําทางซึ่งความพนทุกข

               อยูเสมอ พระองคไดเคยเสด็จประพาสอุทยาน ไดทอดพระเนตรเทวทูตทั้ง 4 คือ คนแก คนเจ็บ คนตาย
               และบรรพชิต พระองคจึงสังเวชพระทัยในชีวิตและพอพระทัยในเพศบรรพชิต มีพระทัยแนวแนที่จะ

               ทรงออกผนวช เพื่อแสวงหาโมกขธรรม อันเปนทางดับทุกขถาวรพนจากวัฏสงสาร ไมกลับมาเวียนวาย
               ตายเกิดอีก พระองคจึงตัดสินพระทัยเสด็จออกผนวช โดยพระองคทรงมากัณฐกะ พรอมดวยนายฉันนะ

               มุงสูแมน้ําอโนมานที แควนมัลละ รวมระยะทาง 30 โยชน (ประมาณ 480 กิโลเมตร) เสด็จขามฝงแมน้ํา-
               อโนมานที แลวทรงอธิษฐานเพศเปนบรรพชิต และทรงมอบหมายใหนายฉันนะ นําเครื่องอาภรณและ
               มากัณฐกะกลับนครกบิลพัสดุ

                       การแสวงหาธรรมระยะแรกหลังจากทรงผนวชแลว สมณสิทธัตถะ ไดทรงศึกษาในสํานักอาฬาร-

               ดาบสกาลามโคตรและอุทกดาบสรามบุตร ณ กรุงราชคฤห แควนมคธ พระองคไดทรงประพฤติ
               พรหมจรรยในสํานักของอาฬารดาบสกาลามโคตร ทรงไดสมาบัติ คือ ทุติยฌาน  ตติยฌาน อากาสานัญ-
               จายตนฌาน วิญญานัญจายตนฌาน และอากิญจัญญายตนฌาน สวนการประพฤติพรหมจรรยใน

               สํานักอุทกดาบสรามบุตร นั้น ทรงไดสมาบัติ ๘ คือ เนวสัญญา นาสัญญายตนฌาน สําหรับฌานที่ 1
               คือ ปฐมฌาน นั้น พระองคทรงไดขณะกําลังประทับขัดสมาธิเจริญอานาปานสติกัมมัฏฐานอยูใตตนหวา

               เนื่องในพระราชพิธีวัปปมงคล (แรกนาขวัญ) เมื่อครั้งทรงพระเยาว เมื่อสําเร็จการศึกษาจากทั้งสอง
               สํานักนี้แลว พระองคทรงทราบวามิใชหนทางพนทุกขบรรลุพระโพธิญาณตามที่ทรงมุงหวัง พระองคจึง

               ทรงลาอาจารยทั้งสองเสด็จไปใกลบริเวณแมน้ําเนรัญชรา ที่ตําบลอุรุเวลาเสนานิคม กรุงราชคฤห
               แควนมคธ

                       เมื่อพระองคทรงหันมาศึกษาคนควาดวยพระปญญาอันยิ่งดวยพระองคเองแทนการศึกษา
               เลาเรียนในสํานักอาจารย ณ ทิวเขาดงคสิริ ใกลลุมแมน้ําเนรัญชรา นั้น พระองคไดทรงบําเพ็ญ

               ทุกรกิริยา คือ การบําเพ็ญอยางยิ่งยวดในลักษณะตาง ๆ เชน การอดพระกระยาหาร การทรมาน
               พระวรกาย โดยการกลั้นพระอัสสาสะ พระปสสาสะ (ลมหายใจ) การกดพระทนต การกดพระตาลุ

               (เพดาน) ดวยพระชิวหา (ลิ้น) เปนตน พระมหาบุรุษไดทรงบําเพ็ญทุกรกิริยาเปนเวลาถึง 6 ป ก็ยังมิได
               คนพบสัจธรรมอันเปนทางหลุดพนจากทุกข พระองคจึงทรงเลิกการบําเพ็ญทุกรกิริยาแลวกลับมาเสวย

               พระกระยาหาร เพื่อบํารุงพระวรกายใหแข็งแรงในการคิดคนวิธีใหมในขณะที่พระมหาบุรุษ ทรงบําเพ็ญ
               ทุกรกิริยา นั้น ไดมีปญจวัคคีย คือ พราหมณทั้ง 5 คน ไดแก โกณฑัญญะ วัปปะ ภัททิยะ มหามานะ

               และอัสสชิ เปนผูคอยปฏิบัติรับใชดวยหวังวา พระมหาบุรุษตรัสรูแลวพวกตนจะไดรับการสั่งสอน
   8   9   10   11   12   13   14   15   16   17   18