Page 68 - mukdahansuksapub
P. 68

                                                                                                             68                 ยน พ.ศ.๒๔๓๔     ได้ทูลเกล้าฯถวายราชบรรณาการและส่วยคือ ต้นไม้ทองสูง ๙ ชั้นทองคําหนัก ๓ ตําลึงต้นไม้                 เงินสูง ๙ ชั้นเงินหนัก ๓ ตําลึง,นอแรด ๒ ยอด,เงินแทนงาช้าง ๑๘ ตําลึงคิดเป็นงาช้างหนัก ๑๐ ชั่งจีน,เงินแทนสี                 ผึ้ง ๒ ชั่ง ๑๐ ตําลึงคิดเป็นสีผึ้งหนัก ๒ หาบ,เงินแทนผลเร่ว ๑๐ ชั่ง ๒ บาท       เมืองพาลุกากรภูมิเงินแทนผลเร่ว                 ๕ ชั่ง ๑๘ ตําลึง  กองบ้านไผ่ท้าวสุริยะ(กองเมืองขึ้นทางฝั่งโขงตะวันออก)เงินแทนผลเร่ว ๔ ชั่ง ๓ ตําลึง     กอง                 ส่วยบ้านโคกพระรัษฎากรบริรักษ์(กองส่วยฝังโขงตะวันออก)เงินแทนผลเร่ว ๙ ชั่ง       กองส่วยบ้านผึ่งแดด(กอง                 ส่วยฝั่งโขงตะวันออก)เงินแทนผลเร่ว ๑๕ ตําลึง     รวมเป็นเงินแทนผลเร่วปีฉลูเอกศกและปีขาลเอกศก(พ.ศ.๒๔                 ๓๒-๓๓) ของเมืองมุกดาหารและเมืองขึ้นรวม ๕๑ ชั่ง ๑๒ ตําลึง(๔,๐๔๘ บาท)                                                วันที่ ๔ ตุลาคม พ.ศ.๒๔๓๔ เมื่อราชบุตร(เมฆ)และท้าวเพี้ยกรมการเมืองมุกดาหารพํานักอยู่                 ที่กรุงเทพฯถึง ๖ เดือนจึงได้เข้าเฝ้าทูลละอองธุลีพระบาทอีกครั้งหนึ่ง ได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯพระราชทาน                 สัญญาบัตรประทับพระราชลัญจกรตั้งให้ราชบุตร (เมฆ)เป็นพระจันทรเทพสุริยวงษา เจ้าเมืองมุกดาหาร ซึ่งท่าน                 มีอายุ ๔๖ ปี(เดิมเคยพระราชทานนามเจ้าเมืองมุกดาหารว่า พระจันทรสุริยวงษ์ เปลี่ยนเป็น   พระจันทรเทพสุริย                 วงษา )และได้รับพระราชทานเครื่องยศ  คือ หมวกตุ้มปี่หนึ่ง, กระบี่บั้งทองห้าบั้งหนึ่ง,  เสื้อเข้มขาบดอกก้านแย่ง                 หนึ่ง,พานหมากถมเครื่องในทองคําสํารับหนึ่ง, ลูกประคําทองคํา ๑๐๘ เม็ดสายหนึ่ง,คณโททองคําหนึ่ง,กระโถน                 ทองคําหนึ่ง,ผ้าม่วงจีนผืนหนึ่ง เป็นเครื่องยศบรรดาศักดิ์                                             พระยาศศิวงษ์ประวัติ (เมฆ  จันทรสาขา)ได้รับพระราชทานบรรดาศักดิ์ครั้งแรกเป็นพระจันทร                 เทพสุริยวงษา เมื่อดํารงตําแหน่งเจ้าเมืองมุกดาหาร ท่านพํานักอยู่ที่กรุงเทพฯประมาณ ๕-๖ เดือน ท่านได้สรรหา                 สิ่งของเครื่องใช้มาประจําเมืองมุกดาหารเช่น มโหรีปี่พาทย์ครบชุด   ซึ่งได้ใช้ต่อมาถึงชั้นลูกชั้นหลานร่วม ๕๐ ปี                 นอกจากนั้นยังได้นําพันธ์ผลไม้ซึ่งเมืองมุกดาหารไม่เคยมีมาปลูกเช่นลําไย,มังคุด,มะปรางหวานเป็นต้น                                          ท่านและคณะได้เดินทางกลับมาถึงเมืองมุกดาหารเมื่อวันอังคารขึ้น ๗ คํ่า เดือนยี่  (วันที่ ๕ มกรา                 คม พ.ศ.๒๔๓๔ซึ่งเดือนมีนาคมจึงจะเป็นเดือนสิ้นปี (จากเอกสารในจวนเจ้าเมืองมุกดาหาร) ชาวเมืองมุกดาหาร                 ได้พร้อมใจกันออกไปต้อนรับที่หนองนาบึง(บริเวณสวนสาธารณ เฉลิมพระเกียรติกาญจนาภิเษกปัจจุบัน)   แล้ว                 จัดขบวนเกียรติยศแห่แหนเข้ามาในเมือง                                                                   สร้างเรือมณฑล                                                                         ท่านได้ชักชวนชาวมุกดาหารให้ร่วมแรงร่วมใจกันสืบ                                                          เสาะหาต้นตะเคียนในเมืองมุกดาหารที่งดงามและสูงใหญ่ที่สุด                                                          ซึ่งก็ได้พบต้นตะเคียนที่งดงามที่สุดขนาด ๖ คนจึงจะโอบรอบ                                                          ที่ดงบังอี่ (ในท้องที่อําเภอดอนตาลและอําเภอนิคมคําสร้อยปัจ                                                          จุบัน)     ใช้เวลาขุดถากร่วม ๓ ปีจึงสร้างเสร็จเมื่อ พ.ศ.๒๔๓๖                                                          เรือมีความยาวประมาณ ๒๐ เมตร,กว้าง ๑.๒๐         จุฝีพายได้                 เรือมณฑล  เรือของ พระยาศศิวงษ์ประวัติ                      ๔๕ คน  ซึ่งเป็นเรือขุดที่สวยงามที่สุดและชนะเลิศเรืออื่นๆใน
   63   64   65   66   67   68   69   70   71   72   73