Page 41 - หนังสือเรียนวิชาเศรษฐกิจพอเพียง ม.ปลาย
P. 41

36




                            - การยึดหลักของความถูกตองคุณธรรมจริยธรรมจรรยาบรรณในทุกขั้นตอนของการ

                  ดําเนินงานตามปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงซึ่งเปนกระบวนการสําคัญของการสรางภูมิตานทาน
                  ตอผลกระทบและความเปลี่ยนแปลงที่กําลังเกิดขึ้นหรือที่จะเกิดขึ้น



                         เหลานี้เปนหลักการใหญๆ  ซึ่งผูที่รับผิดชอบหรือเกี่ยวของหรือคิดจะทําโครงการหรือ

                  กิจกรรมในระดับคอนขางใหญ  จะตองคํานึงถึงและสามารถจะนําปรัชญานี้ไปใชไดทันที และมี

                  ผูที่ ไดใชลวนประสบความสําเร็จสูงสุดที่มนุษยพึงจะมีคือความสุขที่ยั่งยืน

                         แลวเรื่องของการแขงขันชิงไหวชิงพริบการวางแผนยุทธศาสตรและโลจิสติกส

                  (การจัดซื้อจัดหาการจัดสงการบํารุงรักษาอุปกรณ  และการรักษาพยาบาลบุคลากร) ในการ

                  บริหารจัดการระบบหรือโครงการใหญๆ การใชจิตวิทยามวลชนการใชเทคโนโลยีกาวหนา

                  การกําหนดแผนหรือตนเองใหเปน“ฝายรุก”  มิใช “ฝายตั้งรับ”ละ ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง

                  ปฏิเสธหรือไม?

                         คําตอบ คือ ปฏิเสธ ถาใชอยางไมถูกตองอยางหลีกเลี่ยงกฎหมายอยางผิดคุณธรรม-

                  จริยธรรม-และจรรยาบรรณ อยางไมซื่อตรงตอหนาที่และความรับผิดชอบอยางมีเจตนา

                  เพื่อผลประโยชนที่ไมสุจริตของตนเองและพวกพอง  แตจะตองรูจักและใชอยางรูเทาทันปกปอง

                  และรักษาผลประโยชนของสวนรวมอยางมีความคิดกาวหนาในเชิงสรางสรรค

                         สําหรับการแกปญหาหรือการเตรียมเผชิญกับปญหาจากวิกฤตโลกรอน มีประเด็นและ

                  เรื่องราวทั้งเกาและใหม  ดังเชน เรื่องของมาตรการที่ถูกกําหนดขึ้นมา เพื่อเผชิญกับภาวะโลก

                  รอน เพื่อใหประเทศที่พัฒนาแลวและที่กําลังพัฒนา(ดังเชนประเทศไทย)ไดดํารงอยูรวมกัน

                  พึ่งพิงและเอื้ออาทรตอกันอยางเหมาะสม ดังเชน เรื่องคารบอนเครดิตที่เปนเรื่องคอนขางใหม

                  ของประเทศไทยแตก็เปนทั้ง“โอกาส”และ“ปญหา” ที่ประเทศไทยตองเผชิญ  ซึ่งก็ขึ้นอยูกับคน
                  ไทยเราเองวาจะตองเตรียมตัวกันอยางไรเพื่อใหสามารถเปน“ที่พึ่ง”ของโลกหรือประเทศอื่น


                  แทนที่จะเปน“ปญหา”ที่เกิดจากความไมใสใจหรือความใสใจแตเพื่อจะกอบโกยผลประโยชน
                  เทานั้น

                         เรื่องของปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงกับวิกฤตโลกรอน  จึงมีโจทย มีเปาหมายมากมาย

                  ที่ทาทายเชิญชวนใหผูคน  และประเทศที่ตองการมีชีวิตสรางสรรค และมีความสุขอยางยั่งยืน

                  ได  นําไปใช  โดยใชปญญาเปนตัวนํา กํากับดวยสติ และควบคุมดวยคุณธรรมกับจริยธรรม

                         ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงนี้ ถูกใชเปนกรอบแนวคิด และทิศทางการพัฒนาระบบ

                  เศรษฐกิจมหภาคของไทย ซึ่งบรรจุอยูในแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแหงชาติ ฉบับที่  10
   36   37   38   39   40   41   42   43   44   45   46