Page 10 - บุญตามหลักคำสอน ตถาคตอรหันตสัมมาสัมพุทธะ
P. 10
ดอกไม้ ของหอม เครื่องลูบไล้ ที่นอน ที่พัก ประทีปและเครื่องอุปกรณ์ แก่สมณะหรือ
พราหมณ์แล้ว พากันวางจิตหรืออธิฐานอย่างนี้ว่าท าทานด้วยคิดว่า…
๑. มีความหวังในทาน มีจิตผูกพันในผลทาน มุ่งการสั่งสมทาน ท าทานด้วยคิดว่า
เราตายไปจะได้เสวยผลทานนี้ เมื่อตายไปย่อมเกิดเป็นเทวดาชั้นจาตุมมหาราช
๒. ทานเป็นการดี เมื่อตายไป ย่อมเกิดเป็นเทวดาชั้นดาวดึงส์
๓. บิดามารดาปู่ย่าตายายเคยให้เคยท ามา เราก็ไม่ควรท าให้เสียประเพณี เมื่อตาย
ไปย่อมเกิดเป็นเทวดาชั้นยามา
๔. เราหุงหากิน สมณะและพราหมณ์เหล่านี้ ไม่หุงหากิน เราหุงหากินได้จะไม่ทาน
แก่สมณะหรือพราหมณ์ผู้ไม่หุงหาไม่สมควร เมื่อตายไปย่อมเกิดเป็นเทวดาชั้นดุสิต
๕. เราจักเป็นผู้จ าแนกแจกทานเหมือนฤาษีแต่ครั้งก่อน เมื่อตายไปย่อมเกิดเป็น
เทวดาชั้นนิมมานรดี
๖. เมื่อเราท าทานอย่างนี้ จิตจะเลื่อมใส เกิดความปลื้มใจและโสมนัส เมื่อตายไป
ย่อมเกิดเป็นเทวดาชั้นปรนิมมิตวสวัสดี
การตั้งจิตอธิฐานในทานทั้งหมด ๖ ประการนี้เมื่อจุติคือตาย สิ้นฤทธิ์ สิ้นยศ หมด
ความเป็นเทวดาแล้ว ยังต้องกลับมาสู่โลกทั้งสามอีก
ส่วนผู้ที่ท าทานเพื่อเป็นสิ่งปรุงแต่งจิตลดความตระหนี่ ไม่ได้ทานเพราะเหตุ ๖
ประการ เขาท าทานเช่นนั้นแล้ว เมื่อตายไปย่อมเกิดเป็นเทวดาชั้นพรหม เมื่อเขาจุติคือ
ตาย สิ้นฤทธิ์ สิ้นยศ หมดความเป็นเทวดาแล้ว ไม่ต้องกลับมาสู่โลกทั้งสามอีก นี้คือเหตุ
ปัจจัยที่ท าให้ทานที่บุคคลบางคนในโลกนี้ท าทานแล้ว มีผลมาก ไม่มีอานิสงส์มาก และ
ทานที่บุคคลบางคนในโลกนี้ท าทานแล้ว มีผลมากมีอานิสงส์มากด้วยเหตุเหล่านี้คือวางจิต
ต่างกัน เรียกง่ายๆว่าปรารถนาต่างกันตั้งจิตอธิฐานต่างกันนั่นเอง
๑.๖ ผลต่างของความตระหนี่กับการจ าแนกแจกทาน ตถาคตตรัสกับเทวดาว่า ชน
เหล่าใดในโลกนี้ เป็นคนตระหนี่เหนียวแน่น ดีแต่ว่าผู้อื่น ท าการขัดขวางคนเหล่าอื่นผู้ให้
ทาน จัดเป็นคนพาล พาลชนเหล่านั้นย่อมเข้าถึงนรก ก าเนิดสัตว์เดรัจฉานหรือยมโลก
ถ้าหากเกิดเป็นมนุษย์ ก็เกิดในสกุลคนยากจนข้นแค้น ล าบาก จะหาเครื่องนุ่งห่ม เสื้อผ้า
อาหาร ความสนุกสนานรื่นเริงได้โดยยาก ส่วนผู้ได้เกิดเป็นมนุษย์แล้วรู้อะไรดีอะไรชั่ว
ปราศจากความตระหนี่ เลื่อมใสในพระพุทธเจ้า พระธรรมและพระสงฆ์ เป็นผู้มีความ
เคารพอย่างแรงกล้า บุคคลนั้นย่อมมีสวรรค์เป็นแดนเกิด หรือหากเกิดเป็นมนุษย์อีก ย่อม
บุญตามหลักค าสอนตถาคตอรหันตสัมมาสัมพุทธะ เรียบเรียงและถ่ายทอด โดย หญ้าพันปี ๑๐