Page 167 - โครงการสื่ออิเล็กทรอนิกส์เนย
P. 167
หน้าที่ 164
3. ชั้นกลางส่วนบน (Upper-Mille class) ประกอบด้วยบุคคลที่ประสบความสําเร็จในวิชาชีพ เช่น
เจ้าของกิจการขนาดกลาง บุคคลระดับบริหารในองค์การต่างๆ สมาชิกในสังคมส่วนมากจบปริญญาจาก
มหาวิทยาลัย จึงเรียกกลุ่มนี้ว่า เป็นตาและสมองของสังคม บุคคลเหล่านี้นิยมบริโภคสินค้าที่มีคุณภาพจาก
ร้านค้าที่มีชื่อเสียง ถ้าตราสินค้าใดได้รับการยอมรับจากสังคมว่ามีระดับ ชนกลุ่มนี้จะนิยมซื้อมาใช้ จัดว่าเป็น
ผู้บริโภคประเภทที่มุ่งเน้นตราผลิตภัณฑ์
4. ชั้นกลางส่วนล่าง (Lower-Middleclass) ประกอบด้วยพนักงานที่ไม่ใช่ฝ่ายบริหารข้าราชการ
ระดับปฏิบัติการ พนักงานคอมพิวเตอร์ นักเทคนิคต่างๆ กลุ่มคนเหล่านี้มีอํานาจซื้อจํากัดเงินเดือนใช้ชน
เตือน จึงเลือกซื้อสินค้าที่ประหยัดและคงทน ชอบบริโภคสินค้าเพื่อความบันเทิงสูงกว่า
5.ชั้นต่ําส่วนบน (Upper-Lowerclass)เป็นกลุ่มบุคคลที่ส่วนใหญ่จบมัธยมปลาย มักเป็นผู้ใช้แรงงาน
และงานที่ใช้ทักษะกึ่งฝีมือ เช่น ข่างเฟอร์นิเจอร์ ช่างแกะสลัก ช่างทําทอง กลุ่มคนเหล่านี้มักมีภรรยาเป็น
แม่บ้าน มีหน้าที่ดูแลลูก เนื่องจากมีรายได้จํากัดจึงเน้นซื้อลินค้าราคาถูก
6. ชั้นต่ําส่วนล่าง (Lower-Lower class) คือ กลุ่มชนผู้ใช้แรงงาน การศึกษาต่ํา มีบุตรมากการใช้
จ่ายไม่มีการวางแผนล่วงหน้า มีเงินใช้วันต่อวัน มีมาตรฐานความเป็นอยู่ต่ํากว่าเกณฑ์ ซื้อสินค้าโดยไม่
คํานึงถึงคุณภาพ ชอบซื้อสินค้าเงินเชื่อ
ชั้นของสังคมกับพฤติกรรมผู้บริโภค
กลุ่มในชั้นสังคมที่บุคคลสังกัด มีอิทธิพลโดยตรงในการแนะแนวทางเกี่ยวกับทัศนคติและการแสดง
พฤติกรรมให้เป็นไปตามแนวปฏิบัติของกลุ่ม นักการตลาดจึงต้องศึกษาเกี่ยวกับ ความเชื่อค่านิยม ทัศนคติ
และพฤติกรรมของแต่ละชั้นสังคม เพื่อจะได้จัดหาสินค้าให้ตรงกับความต้องการของกลุ่มนั้นก็หมายถึงว่าตรง
กับความต้องการของลมาชิกในกลุ่มนั้นด้วย ซึ่งแต่ละชั้นสังคมจะมีพฤติกรรม
ในการบริโภคแตกต่างกัน ดังนี้