Page 29 - หนังสือเรียนภาษาไทย ม.ปลาย พท.31001
P. 29

20


                       เมื่อแนะนําตนเองแลวในกลุมก็จะมีปฏิกิริยาตอนรับดวยการยิ้มหรือปรบมือ  แลวเราก็นั่งลง
               ก็จะทําใหบรรยากาศของการประชุมเปนกันเองขึ้น


               กิจกรรมที่ 1

                       1.  ใหผูเรียนจับคูกับเพื่อนในกลุม  แลวสมมติสถานการณวาทั้งคูพบกันบนรถประจําทาง หรือที่
               สถานีอนามัยประจําตําบลหรือสถานที่อื่น ๆ ที่เห็นวาเหมาะสม  ฝกทักทายปราศรัยกันและกันใหเพื่อน

               ผูเรียนในกลุมฟงและใหเพื่อนชวยวิจารณการใชภาษาและการสรางบรรยากาศวาถูกตองเหมาะสมเพียงใด

                       2.  ใหผูเรียนแนะนําตนเองในวันพบกลุมครั้งแรกหรือเมื่อมีโอกาสไปรวมประชุมกลุมยอยในวิชา
               ตาง ๆ และยังไมรูจักกับเพื่อนในกลุมโดยใหปฏิบัติตามหลักการและวิธีการแนะนําตนเองที่เรียนมาแลว

                       3.  เมื่อมีโอกาสที่จะทักทายปราศรัย หรือแนะนําตนเองใหผูเรียนไดฝกปฏิบัติจริงตามหลักการและ

               วิธีการที่ไดศึกษามาแลวและสังเกตผลหากมีขอบกพรองผิดพลาดใหปรับปรุงแกไขใหถูกตอง
                       4.  ใหผูเรียนเรียงกันออกมาเลาเหตุการณใด ๆ ก็ไดหนาหองและใหผูฟงวิจารณในหัวขอเนื้อหา

               วิธีการถายทอด และบุคลิกภาพของผูพูดวาเขาหลักเกณฑในการเปนนักพูดที่ดีหรือไม

               การสนทนา


                       การสนทนา  หมายถึง  การพูดระหวางบุคคลตั้งแต  2  คน  ขึ้นไป  ผลัดกันพูดและผลัดกันฟง

               การสนทนามีหลายลักษณะ อาจจะเปนลักษณะที่ไมเปนแบบแผนคุยตามสบายไมจํากัดเรื่องที่สนทนา เชน
               การสนทนาในครอบครัว  การสนทนากันในเพื่อนผูเรียนที่รูจักสนิทสนมกัน  เปนตน  แตในการสนทนา

               บางครั้งเปนการสนทนาที่มีแบบแผน  ซึ่งตองมีการตระเตรียมลวงหนา  สวนใหญจะเปนการสนทนา
               เชิงวิชาการ  แตในที่นี้จะพูดถึงการสนทนาที่ไมเปนแบบแผน  คือ การสนทนากับบุคคลที่รูจักคุนเคย

               และบุคคลแรกรูจัก การสื่อสารลักษณะนี้มีความสําคัญและเราไดใชเปนประจํายิ่งในครอบครัวในที่ทํางาน

               ในสถานศึกษาหรือในกลุมของผูเรียน ถามีการสนทนากันดวยดี ก็จะนําความสัมพันธฉันพี่นอง ฉันมิตร
               มาให  กระทําสิ่งใดก็ราบรื่น  เกิดความสามัคคีและนําความสุขมาใหแตในทางตรงขามถาการสนทนา

               ไมเปนไปดวยดี ก็ยอมกอใหเกิดการแตกราว ขาดสามัคคี มีแตความสับสนวุนวาย การสนทนาระหวาง

               บุคคลที่รูจักคุนเคยมีสิ่งสําคัญที่ตองนึกถึงอยู 2 เรื่อง คือ เรื่องที่สนทนาและคุณสมบัติของผูรวมสนทนา
                       ก.  เรื่องที่สนทนา

                       เรื่องที่นํามาสนทนา จะทําใหการสนทนาดําเนินไปดวยดีมีผลดีตอทั้งสองฝายนั้น ควรมีลักษณะ ดังนี้
                         1.  ควรเปนเรื่องที่ทั้งสองฝายมีความรูและความสนใจรวมกันหรือตรงกัน

                         2.  ควรเปนขาวหรือเหตุการณที่เกิดขึ้นในชวงเวลานั้น  ๆ  เชน เปนขาวในหนังสือรายวัน

               ภาวะเศรษฐกิจ ปญหาการครองชีพ เหตุการณทางการเมืองในขณะนั้น เปนตน
                         3.  ควรเปนเรื่องที่เหมาะกับโอกาส กาลเทศะ และเหตุการณ เชน ถาเปนการสนทนางานมงคล

               ก็ควรพูดแตสิ่งที่เปนมงคลเปนสิ่งดีงาม ไมพูดในสิ่งที่ไมเปนมงคล หรือเรื่องรายในขณะเดียวกัน ถาเปน
               งานที่เศราโศกกลับไปพูดเรื่องสนุกสนานก็ไมสมควร
   24   25   26   27   28   29   30   31   32   33   34