Page 30 - หนังสือเรียนภาษาไทย ม.ปลาย พท.31001
P. 30
21
4. ควรเปนเรื่องที่ไมสรางความวิตกกังวล ความเครียดใหกับคูสนทนา ควรเปนเรื่องที่ทําใหเกิด
ความพอใจความสบายใจหรือความสนุกสนาน
เรื่องที่ควรงดเวนที่จะนํามาสนทนา ไดแก
1. เรื่องสวนตัวของตนเองและเรื่องที่คูสนทนาไมมีสวนเกี่ยวของดวย
2. เรื่องที่เปนการนินทาผูอื่น เรื่องที่ไมเปนสาระแกนสาร
3. คุยโวโออวดความสามารถของตนเอง
4. เรื่องความทุกขรอนของตน ความโชครายเพื่อขอความเห็นใจ ยกเวนการสนทนากับ
ผูใกลชิดสนิทสนมกันจริง ๆ
ข. คุณสมบัติของผูรวมสนทนา
1. มีความรอบรูในเรื่องตาง ๆ พอสมควร มีการติดตามเหตุการณเปลี่ยนแปลงของบานเมือง
และโลกอยูเสมอ
2. ใชถอยคําสุภาพ ระมัดระวังในการใชภาษาใหเหมาะสมเปนกันเอง แสดงการเอาใจใสและ
กิริยาทาทางยิ้มแยมแจมใส มีการขอโทษ ขออภัยเมื่อพูดผิดพลาด มีการขานรับดวยคํา ครับ คะ ใชครับ
ใชคะ จริงครับ ถูกแลวคะ
3. เปนผูพูดและผูฟงที่ดี ใหโอกาสคูสนทนาไดพูดขณะที่เขาพูดไมจบก็ตองรอไวกอน แมจะ
เบื่อหนายก็ตองอดทนเก็บความรูสึกไว ไมแสดงกิริยาอาการเบื่อหนายใหเห็น ใหโอกาสคูสนทนาไดพูดและ
แสดงความคิดเห็นใหมากที่สุด
4. รูจักสังเกตความรูสึกของคูสนทนา ซึ่งจะแสดงออกทางสีหนาทาทางและน้ําเสียง คําพูด
ถาหากสังเกตเห็นวาคูสนทนาไมสนใจฟง ไมกระตือรือรน ดูสีหนาแสดงความเบื่อหนายก็ใหเปลี่ยน
บรรยากาศดวยการเปลี่ยนเรื่องสนทนา หรือพยายามสังเกตใหทราบถึงสาเหตุที่ทําใหคูสนทนาไมสนใจ
เกิดการเบื่อหนายแลวจึงแกไขตามสาเหตุนั้น เชน เห็นวาคูสนทนามีกิจธุระที่จะทํา เราก็ปรับเวลาของ
การสนทนาใหสั้นเขาหรือใหพอเหมาะพอควร
5. พูดใหกระชับตรงประเด็น ใหรูวาสิ่งใดควรพูด สิ่งใดไมควรพูด สิ่งใดคูสนทนาพอใจ สิ่งใด
คูสนทนาไมพอใจ ไมพูดขมขู ไมผูกขาดการพูด หากคูสนทนาผิดพลาดไมควรตําหนิโดยตรง ควรมีวิธีการ
และใชคําพูดที่แยบยลเพื่อใหเขารูสึกไดเอง
การสนทนากับบุคคลแรกรูจัก
บุคคลที่เพิ่งรูจักกันทั้งสองผายยังไมรูถึงภูมิหลังนิสัยรสนิยม พื้นฐานความรู ความคิดการสนทนา
กับบุคคลแรกรูจักควรปฏิบัติ ดังนี้
1. สรางความคุนเคยดวยการบริการหรือแสดงความเอื้อเฟอดวยวิธีตาง ๆ
2. สังเกตพฤติกรรมของคูสนทนา เพื่อจะไดทราบลักษณะบางอยางของคูสนทนา
3. เริ่มทักทายดวยถอยคําสุภาพแสดงถึงความเปนมิตร