Page 292 - ธรรมะบรรยาย2564
P. 292
เรามันก็มี ๗๐% มันก็กระจายการสวดมนต์ก็กระจายพลังงานทั่วร่างกายของเรา มันก็จึงไปปรับ
โมเลกุลของน้ำ แต่ต้องสวดเยอะ ๆ ไม่ใช่สวดครั้งนี้ครั้งเดียว สวดเยอะ ๆ สวดบ่อย ๆ มันถึงจะ
เกิดผล เพราะฉะนั้น การที่เกิดโรคระบาดหนนี้ ก็เตือนเราให้รู้ว่า เราอย่าได้ประมาทในชีวิต เมื่อเรา
ไม่ประมาทในชีวิต ทุกคืนเวลา ๑ ทุ่ม เราก็มาสวดมนต์กันทุกคืน ในการสวดมนต์นี้เป็นการสั่งสม
อริยทรัพย์ให้แก่เรา
เมื่อวานนี้ว่าจะพูดถึงเรื่อง “ธุดงค์” จะต่อนิดหน่อย ก็หมดเวลาแล้ว เรื่องธุดงค์นี้ “ธุดงค์”
คือเครื่องมือ หรือเครื่องประหัตประหารกิเลส เคยเปรียบเทียบว่า อย่างเครื่องมือหรืออุปกรณ์ทำ
ความสะอาดกายของเรา ก็มีสบู่ มียาสีฟัน มีผงซักผ้า หรือยาสระผม มันก็ผลิตขึ้นมาเพื่อทำความ
่
สะอาดร่างกายของเรา มันก็เลยมีหลายยี่ห้อ มีหลายคุณภาพ เพราะว่าร่างกายของเรากวาจะชำระ
ให้มันสะอาดหมดจด มันก็ต้องมีคุณภาพดี คุณภาพไม่ดี มันก็ชำระไม่สะอาด เช่นเดียวกันกับธุดงค์
ข้อวัตรของพระพุทธเจ้าที่ตรัสไว้ ๑๓ ข้อ ข้อ ๑ ข้อ ๒ นี่ พระองค์จะเน้นไปถึงเรื่องเสื้อผ้าอาภรณ์
ถ้าหากว่าเรามีเสื้อผ้าอาภรณ์เยอะ มันก็กังวล เราใช้เวลาในการซื้อเสื้อผ้าอาภรณ์นี้มาก เพราะว่า
มันฉูดฉาด หรูหรา เยอะมาก และก็ออกมาเป็นแฟชั่นอยู่เรื่อย ๆ แล้วก็หาเงิน ๆ ซื้ออยู่เรื่อย ๆ มัน
ก็เลยเสียเวลากับการแต่งตัวเยอะ
ุ
่
พระพุทธเจ้าก็เลยให้พระสงฆ์ให้แต่งตัวง่าย ๆ ใสเสื้อ ใส่ผ้าจีวรเอาง่าย ๆ ผ้าบังสกุลเอาง่าย ๆ
ทีนี้ ทางโยมก็บอกว่า มันไม่ทันสมัย มันไม่เข้ากับยุค เข้ากับยุคก็ดี แต่ก็ต้องหางานเยอะ ๆ ทำงาน
เยอะ ๆ เพื่อจะได้ทันยุค และก็ต้องไปซื้อมาเยอะ ๆ แล้วก็ไปกองไว้ที่บ้าน แล้วในที่สุด หนูมันกินมัน
แทะ เพราะว่ามันเยอะเหลือเกิน ไม่ได้ใส่ แมลงสาปก็เข้าไปฉี่ เข้าไปแทะบ้างอะไรบ้าง อันนั้น ไม่
เป็นไร คืออยู่ที่ความชอบของเรา อย่างที่พระอาจารย์เปรียบเทียบ อินโดนีเซียเยอะจริง ๆ ไม่ใช่
เยอะเล่น ๆ เห็นแล้วตะลึงเลย ก็เป็นความชอบของแต่ละท่าน ไม่เป็นไร ก็ขอให้เราเอาตามสบายใจ
ก็แล้วกัน
ทีนี้ คำว่า “ธุดงค์” คือเครื่องมือหรืออุปกรณ์ทำความสะอาดใจ ทำสะอาดได้ยังไง ก็เช่น
เสื้อผ้า ไม่ให้มันมาก เราก็ไม่ต้องกังวลมาก เมื่อไม่กังวลมาก ก็ตัดไปได้แล้ว พระสงฆ์นี่ไม่ต้องมาก
ไม่ต้องกังวลแล้ว ก็สะอาดไปแล้วระดับหนึ่ง หมายถึงกิเลสนะ มันไม่ก่อให้เกิดกิเลสมาก ไม่ต้อง
กังวลมาก ทีนี้ข้อ ๒ ข้อหนึ่งเกี่ยวกับเสื้อผ้า ข้อที่ ๓, ๔, ๕ เกี่ยวกับการรับประทานอาหาร ท่านบอก
ว่า อย่างพระสงฆ์ต้องไปบิณฑบาต ก็จะใช้คำว่า “ปิณฑปาติกังคะ” ก็คือ ไปรับอาหารมา โยมเขาใส ่
อาหารประเภทไหน เราก็ฉันประเภทนั้น ถ้าเป็นโยม สามีทำอาหารมา ภรรยาทำอาหารมา ก็ทำ
แล้วก็ปรุงแล้ว ทีนี้พอมันไม่ถูกใจเรื่อง มันขาดเปรยว เอามะนาวมาหน่อย พอใส่มะนาว แหม มัน
ี้
๒๙๒