Page 137 - หลักการตลาด 3200-1003
P. 137
4) การตั้งราคาอย่างช้า จะนำผลิตภัณฑ์ใหม่เข้าสู่ตลาดด้วยราคาต่ำและมีการส่งเสริม
การตลาดต่ำ การตั้งราคาต่ำทำให้สามารถเจาะตลาดได้รวดเร็ว ส่วนการส่งเสริมการตลาดต่ำทำให้
ประหยัดต้นทุนในการสื่อสารการตลาดด้วยได้
2. ขั้นเจริญเติบโต (Growth) การยอมรับในตัวผลิตภัณฑ์ จะส่งผลให้ยอดขาย เพิ่มในอัตราที่เร็ว
ดังนั้นจึงทําให้ได้รับผลกําไรที่ค่อนข้างสูงเนื่องจากไม่มีคู่แข่ง แต่มัก ไม่นานเพราะคู่แข่งขันจะเริ่มเข้ามา
มีส่วนแบ่งตลาดเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ เมื่อเริ่มมีคู่แข่งขันเกิด วิธีการส่งเสริมการตลาดโดยไม่จําเป็นต้องใช้
ตัวอย่างหรือสาธิตต่อไป แต่ควรเน้นการ (Brand Preferences) การโฆษณาจะเน้นให้ลูกค้าเจาะจง
เลือกซื้อผลิตภัณฑ์ของเรา คู่แข่งขัน การที่ยอดขายเพิ่มขึ้นรวดเร็วแสดงว่าลูกค้ามีแนวโน้มที่จะเพิ่มขึ้น
จึงต้อง การจัดจําหน่ายให้มากยิ่งขึ้น การส่งสินค้าไปให้กับสมาชิกต่าง ๆ ในช่องทางการจําหน่าย
ภาพลักษณ์ที่แสดงแนวโน้มของตลาดที่ดีต่อกิจการ
กลยุทธ์ในขั้นเติบโต
1) การเพิ่มรูปลักษณ์ใหม่ของสินค้า เมื่อจํานวนลูกค้ามากขึ้น ความต้องการที่หลากหลาย ย่อม
เกิดขึ้น ดังนั้นความหลากหลายของสินค้าจึงเป็นสิ่งที่จําเป็น
2) การขยายช่องทางการจําหน่าย จํานวนลูกค้าที่เพิ่มขึ้นมาจากหลายๆ พื้นที่ดังนั้นผู้ผลิต
จะต้องขยายช่องทางการจําหน่ายให้กว้างขวางขึ้น เพื่อให้ลูกค้าเกิดความสะดวกในการจับจ่ายใช้สอย
3) การส่งเสริมการตลาดให้เกิดความชอบในตราสินค้า โดยเฉพาะอย่างยิ่งวัตถุประสงค์ของ
การโฆษณาต้องเปลี่ยนจากการสร้างการรับรู้ (Awareness) มาเป็นการสร้างความต้องการในตัวสินค้า
แทน เพื่อให้ลูกค้าตัดสินใจซื้อสินค้าของเราแทนการซื้อสินค้าของคู่แข่งขัน
3. ขั้นอิ่มตัว (Maturity) ขั้นอิ่มตัวเกิดจากลูกค้าซื้อผลิตภัณฑ์มาบริโภคอย่างทั่วถึง และมี คู่
แข่งขันมาเสนอขายผลิตภัณฑ์ชนิดเดียวกันเพิ่มมากขึ้นเรื่อยๆ ทําให้ลูกค้ามีโอกาสซื้อผลิตภัณฑ์ เร็วขึ้น
คู่แข่งขันที่เพิ่มจํานวนมากขึ้นเรื่อยๆ เกิดจากแรงจูงใจด้านกําไรที่ดี จะทําให้ส่วนแบ่งของตลาด ที่ผู้ผลิต
แต่ละรายได้รับลดน้อยลง และผู้ซื้อเริ่มสนใจน้อยลง ทําให้ยอดขายน้อยลง และ ก็จะขายไม่ได้ หากไม่
แก้ไขจะทําให้ความต้องการในตลาดสินค้านี้ตกต่ำลง อาจเพราะลูกค้ามีสินค้านี้แล้วแล้ว ลูกค้าเบื่อหน่าย
แล้ว หรือต้องการแสวงหาสินค้าใหม่หรืออาจเพราะผู้ผลิตได้แนวคิดอาจเพราะผู้ผลิตได้แนวคิดใหม่
กลยุทธ์ในขั้นอิ่มตัว
1) การปรับปรุงตลาด เช่น กระตุ้นให้ผู้บริโภคมาใช้สินค้า การเข้าสู่ตลาดใหม่ที่ลูกค้า ศักยภาพ
ที่จะซื้อสินค้าได้ การเพิ่มความถี่การใช้หรือเพิ่มโอกาสการใช้สินค้าแก่ลูกค้า
2) การปรับปรุงผลิตภัณฑ์ได้แก่การปรับปรุงคุณภาพสินค้าให้ดีขึ้น สินค้าให้ทันสมัย การ
ออกแบบสินค้าให้ตรงตามความต้องการของลูกค้าที่เปลี่ยนไป
3) การปรับปรุงส่วนประสมทางการตลาด เช่น ลดราคาสินค้า เช่น ตลาดออนไลน์ การสื่อสาร
ตลาดโดยทํา IMC (Integrated Marketing Communication) เป็นต้น
130