Page 143 - สรป 4Y กมธ กิจการเด็กฯ ชุด 25
P. 143

ส่วนที่ ๓                                                                           หน้า ๑๓๑



                                                                  ์
                                              พิจารณาสถานการณผู้สูงอายุไทย

                           คณะกรรมาธิการกิจการเด็ก เยาวชน สตรี ผู้สูงอายุ ผู้พิการ กลุ่มชาติพันธุ์ และผู้มีความหลากหลาย

               ทางเพศ เห็นถึงความส าคัญต่อสถานการณ์ผู้สูงอายุไทย ที่ก าลังเป็นปรากฏการณ์ส่งผลต่อสังคม และเศรษฐกิจ
                                                                                             ิ
               อันไม่อาจหลีกเลี่ยงได้ จึงหยิบยกเรื่องการเตรียมความพร้อมรับสถานการณ์ผู้สูงอายุขึ้นมาพจารณา โดยศึกษา
               จากแผนผู้สูงอายุแห่งชาติ ฉบับที่ ๒ (พ.ศ. ๒๕๔๕ - ๒๕๖๔) ซึ่งเป็นแผนแม่บทระยะยาวที่ใช้เป็นกรอบทิศทาง
               ในการขับเคลื่อนงานด้านผู้สูงอายุของประเทศไทย เนื่องจากจ านวนและสัดส่วนผู้สูงอายุ (ผู้ที่มีอายุตั้งแต่
               ๖๐ ปีขึ้นไป) ของประเทศไทยเพมขึ้นในอัตราที่รวดเร็ว ซึ่งจะมีผลต่อสภาพทางสังคม สภาวะเศรษฐกิจ
                                             ิ่
               และการจ้างงาน ตลอดจนการจัดสรรทรัพยากรทางสุขภาพและสังคมของประเทศอย่างต่อเนื่อง โดยแผน
               ผู้สูงอายุแห่งชาติดังกล่าวได้ปรับปรุงมาแล้ว ๑ ครั้ง ในปี พ.ศ. ๒๕๕๒ ซึ่งต่อมากรมกิจการผู้สูงอายุ ได้จัดท า

               แผนปฏิบัติการด้านผู้สูงอายุ ระยะที่ ๒ (พ.ศ. ๒๕๔๕ – ๒๕๖๕) ฉบับปรับปรุง ครั้งที่ ๒ พ.ศ. ๒๕๖๓
               ซึ่งสภาพฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ในการประชุมครั้งที่ ๔/๒๕๖๓ เมื่อวันที่ ๒๒ เมษายน ๒๕๖๓
                       ั
                                                            ิ่
               มีมติเห็นชอบในหลักการด้วยแล้ว โดยมีความเห็นเพมเติมให้มุ่งเน้นประเด็นส าคัญ เช่น ควรปรับปรุงดัชนีชี้วัด
                                                                            ื่
               ในภาพรวมให้สามารถวัดได้ง่าย ปรับปรุงดัชนีหลักประกันรายได้เพอวัยสูงอายุให้ครอบคลุมในมิติเรื่อง
               ความเพยงพอทางการเงิน เพมดัชนีด้านสุขภาพและการเจ็บป่วยของผู้สูงอายุ การให้ความส าคัญกับการดูแล
                      ี
                                        ิ่
                                                                                                       ิ
               ผู้สูงอายุในท้องถิ่นหรือชุมชนทั้งด้านสุขภาพ สวัสดิการ และการเงิน เป็นต้น และให้น าเสนอคณะรัฐมนตรีพจารณา
                           นอกจากนี้ ได้เชิญหน่วยงานที่เกี่ยวข้องมาให้ข้อมูลแก่คณะกรรมาธิการ ประกอบด้วย กรมส่งเสริม
               การปกครองท้องถิ่น กระทรวงมหาดไทย กรมกิจการผู้สูงอายุ  กระทรวงการพฒนาสังคมและความมั่นคง
                                                                                     ั
               ของมนุษย์ กระทรวงวัฒนธรรม กระทรวงแรงงาน กระทรวงสาธารณสุข และมูลนิธิสถาบันวิจัยและพัฒนา
               ผู้สูงอายุไทย อีกทั้งศึกษาจากเอกสารงานวิจัย ข้อมูลเชิงสถิติ กฎหมายต่าง ๆ ตลอดจนการลงพื้นที่ศึกษาดูงาน

               รับฟังปัญหาจากผู้ที่ได้รับผลกระทบโดยตรงทุกภูมิภาค
                           กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์
                           อธิบดีกรมกิจการผู้สูงอายุ ผู้แทนกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ ได้ให้ข้อมูล

               ต่อคณะกรรมาธิการว่า ศูนย์พัฒนาคุณภาพชีวิตและส่งเสริมอาชีพผู้สูงอายุ (ศพอส.) เป็นกลไกกลางในการ
               รวมกลุ่มผู้สูงอายุเพื่อพัฒนาศักยภาพและคุณภาพชีวิตผู้สูงอายุในพื้นที่ โดยมีเป้าหมายให้มีทุกต าบลและในปีนี้

                                                                ั
               ได้เพิ่มจ านวนศูนย์เป็น ๑,๙๐๐ แห่ง ทั้งนี้ กระทรวงการพฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์มีการขับเคลื่อน
                                                   ื
               มาตรการ เรื่อง สังคมสูงวัยคนไทยอายุยน โดยมุ่งเร่งขับเคลื่อนการด าเนินงานด้านสังคมสูงวัยในมิติต่าง ๆ
               มาสู่การปฏิบัติให้มีความชัดเจนและเป็นรูปธรรมมากยิ่งขึ้น ได้แก่ มิติด้านสุขภาพ สังคม เศรษฐกิจ และ

               สภาพแวดล้อม โดยค านึงถึงเรื่องเทคโนโลยีและนวัตกรรมให้มีความสอดคล้องกับสถานการณ์ปัจจุบันร่วมด้วย
               ในทุกมิติ ซึ่งมาตรการดังกล่าวมีแผนการด าเนินงานมิติต่าง ๆ ดังนี้

                           ๑. ด้านเศรษฐกิจ มุ่งเน้นส่งเสริมให้ผู้สูงอายุมีงานท า และส่งเสริมให้มีการออม
                           ๒. ด้านสังคม มีการเตรียมความพร้อมและผลักดันให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นเข้ามา
               มีบทบาทในการพัฒนาคุณภาพชีวิตและศักยภาพของผู้สูงอายุในพื้นที่ รวมถึงการพิจารณาเรื่องการถ่ายโอน

               ภารกิจด้านนี้ให้แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นด้วย นอกจากนี้ มีการสร้างความร่วมมือกับเครือข่ายในพื้นที่
               ทั้งบ้าน วัด โรงเรียน วิสาหกิจชุมชน และสถานพยาบาล

                           ๓. ด้านสุขภาพ มีการบูรณาการกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเพอเชื่อมต่อระบบบริการสุขภาพ
                                                                                ื่
               ระดับพื้นที่ เพื่อให้ผู้สูงอายุได้เข้าถึงระบบบริการดูแลสุขภาพอย่างสะดวกและทั่วถึง
   138   139   140   141   142   143   144   145   146   147   148