Page 147 - สรป 4Y กมธ กิจการเด็กฯ ชุด 25
P. 147

ส่วนที่ ๓                                                                           หน้า ๑๓๕



                           ๒. การจัดสรรงบประมาณให้กับกลุ่มเป้าหมายควรมีการจัดสรรให้กับคนทุกช่วงวัยอย่างเหมาะสม

               และได้สัดส่วน โดยเน้นไปที่การพัฒนาทรัพยากรมนุษย์มากกว่าการจัดระบบสาธารณูปโภคขั้นพื้นฐาน
                           ๓. ผู้สูงอายุที่มีความสามารถ มีความรู้ มีก าลังและความพร้อมควรได้รับการส่งเสริมสนับสนุน

               ทั้งในด้านการจ้างงานและสุขภาพ โดยเฉพาะการจ้างงานผู้สูงอายุในชุมชน (ไม่ใช่กิจกรรม) จะเป็นการสร้าง
                                                                                                 ื่
               ความเข้มแข็งให้กับสังคมสูงวัยอย่างยั่งยืน ในการจ้างงานผู้สูงอายุอาจต้องมีการคิดนอกกรอบเพอดึงศักยภาพ
               ของผู้สูงอายุให้ออกจากบ้าน และเป็นการลดโอกาสที่จะเกิดโรคภัยที่จะตามมา การสอนงาน การเป็นปราชญ์

               ชาวบ้าน ปราชญ์ท้องถิ่น เป็นคนน าเที่ยว ล้วนแต่สามารถสร้างคุณค่างานสร้างมูลค่าในส่วนของต้นทุน
               มนุษย์ได้

                                                                   ั
                           ๔. ควรมีการต่อยอด ส่งเสริม สนับสนุนและพฒนา กลุ่มผู้สูงอายุที่มีความเข้มแข็งให้เกิดการ
               ขับเคลื่อนอย่างต่อเนื่อง เช่น เมื่อมีการการจัดตั้งโรงเรียนผู้สูงอายุ ไม่ควรให้ผู้สูงอายุต้องจัดหางบประมาณกันเอง
                                                                           ั
                           ๕. กลุ่มผู้สูงอายุที่ด้อยโอกาส กลุ่มชายขอบ กลุ่มชาติพนธุ์ กลุ่มที่ถูกทอดทิ้งอยู่ในพื้นที่ต่าง ๆ
               ควรก าหนดเป็นหนึ่งในภารกิจหลัก
                           ๖. ทิศทางงานในอนาคตจะเปลี่ยนแปลงไป หุ่นยนต์และระบบปัญญาประดิษฐ์ (Ai) จะเข้ามา

               แทนที่แรงงานมนุษย์ ควรเตรียมความพร้อมส่งเสริมงานที่เฉพาะคนเท่านั้นที่ท าได้ดีกว่า เช่น Day Care
               หรือ “สถานดูแลผู้สูงอายุ” ระบบการดูแลผู้สูงอายุไม่ว่าจะเป็นรูปแบบไปเช้า-เย็นกลับ หรือรูปแบบอยู่อาศัย
                           ๗. การข้ามเปลี่ยนทางวัฒนธรรมในสังคมยุคใหม่ ต่างคนต่างคิด ต่างคนต่างท า ต่างคนต่างอยู่

               เป็นเรื่องที่คณะกรรมาธิการมีความห่วงใยท าอย่างไรจะท าให้คนสามารถอยู่ร่วมกันได้ และภาระจะตกอยู่
               กับภาครัฐมากขึ้น

                           ๘. กิจกรรมแลกเปลี่ยนเรียนรู้ระหว่างวัยเป็นสิ่งที่ดี ควรจัดกิจกรรมในลักษณะนี้ให้มากขึ้น
                           กระทรวงแรงงาน

                           ผู้แทนจากกระทรวงแรงงาน ได้ให้ข้อมูลต่อคณะกรรมาธิการว่า ปัจจุบันประเทศไทยมี
               ผู้สูงอายุจ านวน ๑๒.๗๕ ล้านคน โดยจากผลการส ารวจการท างานของผู้สูงอายุในประเทศไทย ประจ าปี พ.ศ.
               ๒๕๖๓ ของส านักงานสถิติแห่งชาติ พบว่ามีจ านวนผู้สูงอายุที่ท างาน ๔.๗๐ ล้านคน คิดเป็นร้อยละ ๓๖.๙

               ของผู้สูงอายุทั้งหมด ส่วนใหญ่อยู่ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ๑.๖๒ ล้านคน ภาคเหนือ ๑.๑๓ ล้านคน
               ภาคกลาง ๑.๐๗ ล้านคน ภาคใต้ ๖.๑๐ แสนคน และกรุงเทพมหานคร ๒.๘๑ แสนคน มีรายละเอียดข้อมูล

               เกี่ยวกับการท างานของผู้สูงอายุ ดังนี้ (๑) อาชีพของผู้สูงอายุ ผู้สูงอายุจะเป็นผู้ปฏิบัติงานที่มีฝีมือด้านเกษตร
               และประมง ร้อยละ ๕๘.๘ พนักงานบริการและผู้จ าหน่ายสินค้า ร้อยละ ๑๘.๔ ช่างฝีมือและผู้ปฏิบัติงาน
               ที่เกี่ยวข้อง ร้อยละ ๘.๒ ผู้ประกอบอาชีพงานพนฐาน ร้อยละ ๗.๐ และอาชีพอื่น ๆ ร้อยละ ๗.๖  (๒) กิจกรรม
                                                       ื้
               ทางเศรษฐกิจ ผู้สูงอายุ ที่ท างานตามกิจกรรมทางเศรษฐกิจจะอยู่ในภาคเกษตรกรรม ร้อยละ ๖๐.๘ ภาคการค้า
               และการบริการ ร้อยละ ๒๙.๐ และภาคการผลิต ร้อยละ ๑๐.๒  (๓) สถานภาพการท างานของผู้สูงอายุ

               ผู้สูงอายุประกอบธุรกิจส่วนตัวโดยไม่มีลูกจ้าง ร้อยละ ๖๒.๓ ช่วยธุรกิจครัวเรือนโดยไม่ได้รับค่าจ้าง
               ร้อยละ ๒๐.๕ ลูกจ้างเอกชน ร้อยละ ๑๑.๙ และอื่น ๆ ร้อยละ ๕.๓  (๔) การได้รับบาดเจ็บหรืออุบัติเหตุ
               จากการท างานของผู้สูงอายุ ในปี พ.ศ. ๒๕๖๓ มีผู้สูงอายุที่ได้รับบาดเจ็บหรืออุบัติเหตุจากการท างาน

               ๙.๐๗ แสนคน (ร้อยละ ๑๙.๓ จากจ านวนผู้สูงอายุที่ท างานทั้งหมด ๔.๗๐ ล้านคน) โดยมาจากของมีคมบาด
               ทิ่มหรือแทง พลัดตกหกล้ม การชนหรือกระแทกโดยวัสดุ ถูกไฟหรือน้ าร้อนลวก อุบัติเหตุจากยานพาหนะ

                                ้
               ได้รับสารเคมี ไฟฟาช็อต และอื่น ๆ  (๕) การรักษาพยาบาลเมื่อได้รับบาดเจ็บหรืออุบัติเหตุของผู้สูงอายุ
   142   143   144   145   146   147   148   149   150   151   152