Page 44 - 57 คู่มือปฏิบัติงานโรงเรียนพระปริยัติธรรม
P. 44
๓๖
มาวิเคราะห์แจกแจง เพื่อให้ผู้บริหารได้ใช้ประกอบการพิจารณาตัดสินใจ สารสนเทศ ปรากฏในรูปอัตราส่วน
นักเรียนต่อรูปหรือค่าใช้จ่ายรายหัว เป็นต้น
แนวคิดและหลักการพื้นฐานในการจัดระบบข้อมูลสารสนเทศ
แนวคิดพื้นฐานที่เกี่ยวข้องกับการจัดระบบข้อมูลและสารสนเทศเพื่อการบริหารนั้นปัจจุบันนี้
ได้มีวิวัฒนาการก้าวหน้าค่อนข้างมาก และเมื่อถึงยุคข้อมูลสารสนเทศ (Infomation age) ก็ได้พบว่าข้อมูล
และสารสนเทศที่เคยจ ากัดวงอยู่แต่ภายในองค์การหรือหน่วยงาน และเฉพาะส่วนงานที่เกี่ยวข้องกับตัว
ผู้บริหารโดยตรงนั้น ได้ขยายขอบข่ายออกไป เป็นอันมาก มีหลากหลาย และมีการเปลี่ยนแปลงอย่าง
รวดเร็วมาก จนติดตามเเทบจะไม่ทัน
อย่างไรก็ตาม หลักการพื้นฐานแบบง่ายๆ ที่น่าจะช่วยให้เข้าใจเกี่ยวกับระบบสารสนเทศ เพื่อการ
บริหารนั้น พัฒนามาจากการที่ผู้บริหารต้องตัดสินใจในเรื่องหนึ่งเรื่องใด โดยมีการคิดพิจารณาอย่างเป็น
ระบบรอบคอบ ซึ่งจะใช้แต่ระเบียบ กฎเกณฑ์และประสบการณ์ ดังเช่นที่เคยใช้ในอดีตอีกต่อไปไม่ได้ ต้องใช้
ข้อมูลและสารสนเทศเป็นองค์ประกอบพื้นฐานของการตัดสินใจในเรื่องต่างๆที่เกี่ยวข้อง เชื่อกันว่าการ
ตัดสินใจ โดยใช้ระบบข้อมูลและสารสนเทศเป็นฐานน่าจะเป็นการตัดสินใจที่มีประสิทธิภาพสูง ในโลก
ปัจจุบันที่มีการแข่งขันค่อนข้างสูง
สิ่งส าคัญคือการที่จะต้องมีข้อมูลและสารสนเทศที่เกี่ยวข้อง และมีความหมาย มีคุณค่าต่อ
การพิจารณาต่อการตัดสินใจในเรื่องนั้นๆ การจะจัดให้มีสิ่งดังกล่าวในแต่ละองค์การ หรือในแต่ละหน่วยงาน
เพื่อรองรับการตัดสินใจของผู้บริหารหรือคณะผู้ที่เกี่ยวข้องได้เป็นอย่างดีนั้น วิชาระบบข้อมูลและสารสนเทศ
ระบุว่าต้องมีรายงาน (Report) ที่เกี่ยวข้องในเรื่องนั้นๆ ให้พร้อมมูล ทันสมัย ทันต่อเวลา เป็นข้อมูลและ
สารสนเทศที่ถูกต้อง และตรงต่อความต้องการของกระบวนการตัดสินใจด้วยระบบข้อมูลและสารสนเทศ
รายงานดังกล่าวนี้คือ ข้อมูลและสารสนเทศ ส าหรับการตัดสินใจในเรื่องนั้นๆ นั่นเอง ซึ่งผู้ที่จะบอกได้ว่า
ต้องการรายงานอะไรต้องการข้อมูลและสารสนเทศในประเด็นใดบ้างที่เกี่ยวข้อง บุคคลที่ดีที่สุดที่น่าจะระบุ
เรื่องนี้ได้ดีที่สุด ในตรรกะ แบบเดิมคิดกันว่าน่าจะเป็นตัวผู้บริหารเอง ตัวผู้บริหารเท่านั้นที่น่าจะต้องบอก
ออกมาให้ได้ ให้ชัดว่าต้องการ ข้อมูลใดต้องการสารสนเทศอย่างไร แต่ในโลกที่ก้าวหน้าได้พบว่าสุดวิสัยที่
ผู้บริหารจะบอกได้ในทุกเรื่องจึงมีนักจัดระบบข้อมูลและสารสนเทศเข้ามาช่วย ท าหน้าที่ด าเนินการหาให้
ด้วยวิธีการแบบต่างๆ ทั้งด้วยวิธีการรวบรวม การแจงนับ จัดกระท า ส ารวจ วิเคราะห์ ประมวลด้วยตนเอง
ด้วยการลงมือด้วยตนเองในแบบที่เรียกกันว่า Manual ด้วยการรวบรวมตัวเลข ข้อความ สาระที่เกี่ยวข้อง
จัดท าเป็นตารางเป็นข้อมูลเชิงตีความ เป็นองค์ประกอบที่ใช้ชี้วัดได้ เพื่อให้ได้ Report ข้อมูลและสารสนเทศ
ที่เกี่ยวข้อง ทีมีคุณค่าและความหมาย มีประโยชน์ต่อการใช้ในการตัดสินใจส าหรับการบริหารส าหรับการ
วางแผน หรือตัดสินใจในปัญหาใดปัญหาหนึ่งในหน่วยงาน
กระบวนการจัดกระท ากับข้อมูล และรายละเอียดที่เกี่ยวข้องนั้นในภายหลังได้มีความก้าวหน้า
เป็นอันมาก ในเทคนิคและกระบวนการจัดกระท า เริ่มตั้งแต่การใช้วิชาสถิติเข้าช่วย ใช้วิธีการวิเคราะห์
ทั้งเชิงปริมาณ (Quantitative) และเชิงคุณภาพ (Qualitative) เข้าช่วย จนกระทั่งการใช้เครื่อง
คอมพิวเตอร์ ซึ่งท าให้กระบวนการจัดกระท ากับข้อมูล (Processing) เพื่อให้เป็นข้อมูล และสารสนเทศที่ทัน
ต่อเวลา เป็นระบบและเป็นไปได้อย่างรวดเร็ว กระบวนการจัดกระท ากับข้อมูลเพื่อให้ได้รายงานที่มี
ความหมาย มีคุณค่าต่อการบริหารการวางแผนและการตัดสินใจ ได้ก้าวหน้าอย่างรวดเร็วมาก สามารถ
จัดเป็นระบบเฉพาะที่เราเรียกกันว่าระบบข้อมูลและสารสนเทศเพื่อการบริหาร (Management
Information system - MIS) ขึ้น และนิยมใช้กันอย่างแพร่หลาย
จากข้อมูลกับประสบการณ์ของผู้บริหาร มาเป็นระบบที่มีเจ้าหน้าที่ช่วยจัดหาจัดเตรียมให้
ต่อมาได้กลายเป็นระบบอัตโนมัติที่ก้าวหน้า เมื่อมาถึงยุคปัจจุบันนี้ ก็ได้พบว่านอกจากระบบที่ก้าวหน้าแล้ว
คู่มือปฏิบัติงาน
โรงเรียนพระปริยัติธรรม แผนกสามัญศึกษา