Page 49 - 57 คู่มือปฏิบัติงานโรงเรียนพระปริยัติธรรม
P. 49
๔๑
อัตราการเรียนต่อ ม.๑ = จ านวนนักเรียน ม.๑ เข้าใหม่ปีการศึกษา ก.
จ านวนผู้จบ ป.๖ ปีการศึกษา ก
เกณฑ์มาตรฐาน
มาตรฐาน คือสภาพที่พึงประสงค์ทั้งในเชิงคุณภาพหรือปริมาณ ซึ่งสามารถแสดงให้เห็นได้
ทั้งในเชิงปัจจัย กระบวนการ และผลผลิตที่ผู้บริหารและครูจะต้องใช้เป็นเป้าหมายในการด าเนินการ
ในเรื่องนั้นๆ เพื่อพัฒนาให้ได้ตามเกณฑ์ที่ก าหนดไว้ เช่น มาตรฐานด้านผลผลิต มาตรฐานคุณภาพนักเรียน
มาตรฐานการเรียนการสอน และมาตรฐานการบริหารโรงเรียน
องค์ประกอบของมาตรฐาน โดยทั่วไปมักจะประกอบด้วยมาตรฐาน ตัวบ่งชี้และระดับคุณภาพ
มาตรฐาน ได้แก่ สภาพที่พึงประสงค์ ซึ่งระบุถึงสภาพปัจจุบัน วิธีการด าเนินงาน หรือสภาพผลผลิต
ที่มีคุณภาพและต้องการให้เกิดขึ้นทุกโรงเรียน เช่น มาตรฐานการเรียนการสอนก าหนดไว้เพื่อเป็นแนวทาง
ให้ครูจัดการเรียนการสอน
ตัวบ่งชี้ เป็นตัวเกณฑ์ที่ใช้วัดเพื่อน าผลมาเป็นตัวแสดง เป็นตัวชี้ หรือเป็นตัวแทนที่ให้แสดงถึง
มาตรฐานหรือสภาพที่พึงประสงค์ ส าหรับมาตรฐานแต่ละตัว เป็นประเด็นที่ใช้พิจารณาและแสดงถึง
มาตรฐานนั้นๆ
ระดับคุณภาพ เป็นการให้ค่าระดับคุณภาพ ตัดสินโดยพิจารณาจากแต่ละตัวบ่งชี้ ซึ่งขึ้นอยู่กับ
การจัดระดับคุณภาพ ไม่ว่าจะเป็นของผลผลิต หรือของกระบวนการ ว่าจัดไว้อย่างไร มีผลน่าพอใจอย่างไร
ระดับใด ตัวอย่างเช่น ถ้าจ าแนกเป็น ๓ ระดับ เเต่ละระดับ หมายถึงคุณภาพ อาจมีผลน่าพอใจแตกต่าง
กันได้ ดังนี้
ระดับ ๑ คุณภาพที่มีผลน่าพอใจขั้นต่ า
ระดับ ๒ คุณภาพที่มีผลน่าพอใจค่อนข้างสูง
ระดับ ๓ คุณภาพที่มีผลน่าพอใจขั้นสูง
บทบาทของคอมพิวเตอร์กับการพัฒนาระบบสารสนเทศ
ในระบบสารสนเทศจะมีฐานข้อมูล ซึ่งเป็นศูนย์การเก็บสะสมข้อมูลที่ได้จากการรวบรวมไว้อย่างมีระบบ
ตามลักษณะความสัมพันธ์ของข้อมูล ไม่มีการซ้ าซ้อน สามารถเรียกใช้ได้สะดวกเพื่อให้ผู้บริหารใช้ หรือให้
แก่ผู้ใช้หลายฝ่ายพร้อมกันได้ตามความต้องการ
ฐานข้อมูล เป็นแหล่งสะสมข้อมูลทั้งหมดขององค์การ การเก็บข้อมูลจ านวนมากไว้ในที่เดียวกัน
สามารถกระท าได้ โดยใช้เครื่องคอมพิวเตอร์ โดยเก็บไว้ในแถบแม่เหล็ก จานแม่เหล็กเป็นต้น ในการเรียกใช้
ข้อมูลจะกระท าได้โดยใช้ระบบโปรแกรม ซึ่งท าหน้าที่ค้นหาข้อมูลที่ต้องการและส่งให้กับโปรแกรม
เพื่อจัดกระท าหรือประมวลผลให้เป็นสารสนเทศส าหรับประกอบการตัดสินใจในการบริหารและการวางแผน
ตามที่ต้องการ
ในระบบสารสนเทศที่ดี จะต้องเป็นระบบสารสนเทศที่มีส่วนการรวบรวมข้อมูล และการเก็บ
รักษาข้อมูล คือ ส่วนที่ข้อมูลทั้งหลายจะต้องถูกบันทึกและเก็บเอาไว้ ส่วนตัวไปเป็นส่วนการวิเคราะห์และ
การประเมินข้อมูล และอีกส่วนจะเป็นส่วนของการเรียกข้อมูลมาใช้และการรายงานข้อมูลที่รวบรวมไว้
ซึ่งปัจจุบันนี้คอมพิวเตอร์มีบทบาทเป็นอย่างมากในการท างานทั้ง ๓ ส่วน และในการพัฒนาระบบข้อมูล
และสารสนเทศเพื่อการบริหารให้ทันสมัย
ในงานสารสนเทศด้านเอกสาร คอมพิวเตอร์ก็จะมีส่วนช่วยเป็นอย่างมาก ในการท ารายงานบัญชี
แสดงรายละเอียดของเอกสาร รายการเลขหมู่หนังสือ บทคัดย่อ บันทึกรายละเอียดต่างๆของเอกสารและ
หนังสือ ตลอดจนใช้ในการค้นหา และจัดท าสารสนเทศจากเอกสาร ได้อย่างกว้างขวางและมีความสะดวก
คู่มือปฏิบัติงาน
โรงเรียนพระปริยัติธรรม แผนกสามัญศึกษา