Page 47 - 57 คู่มือปฏิบัติงานโรงเรียนพระปริยัติธรรม
P. 47
๓๙
ดัชนีทางการศึกษา
ดัชนีหรือตัวบ่งชี้ คือสิ่งที่ชี้บอกหรือชี้ให้เห็นสิ่งใดสิ่งหนึ่งได้ค่อนข้างแม่นย าได้ ลักษณะที่ส าคัญของ
ดัชนีคือ จะมีการก าหนดเป็นเชิงปริมาณ หรือค่าเป็นตัวเลขได้ มิใช่เป็นการบรรยายเป็น ข้อความ
การตีความ หมายถึง ค่าตัวเลขของดัชนีแต่ละตัวนั้น จะต้องน ามาเปรียบเทียบกับเกณฑ์หรือ
สถานที่จัดท าไว้ เป็นการเฉพาะในระยะหรือช่วงเวลาใดเวลาหนึ่ง ขึ้นอยู่กับระยะเวลาที่จะน ามาใช้และ การ
ตีความ
ส าหรับดัชนีทางการศึกษา คือดัชนีที่น ามาใช้วัดหรือชี้สภาพการณ์ของการศึกษาในช่วงเวลาที่
ต้องการวัดหรือตรวจสอบ ที่พบว่าใช้ค่อนข้างบ่อยมาก ได้แก่ อัตราส่วนมากนักเรียนต่อประชากรในระบบ
การศึกษา ร้อยละของค่าใช้จ่ายที่ใช้เพื่อการศึกษาต่อผลิตภัณฑ์มวลรวมประเทศชาติ (GNP) เป็นต้น
การสร้างดัชนีและการน าดัชนีมาใช้นั้นมิได้มุ่งหมายหลายประการ มีดัชนีหลายตัวที่ทั้งนักวางแผน
การศึกษา นักบริหาร และนักวิจัยใช้ในลักษณะที่คล้ายคลึงกันและให้จุดมุ่งหมายเหมือนกันแต่บางครั้ง
ก็อาจจะใช้ดัชนีเฉพาะบางตัวแตกต่างกันออกไป การใช้ประโยชน์หรือตัวชี้วัดทางการศึกษา มีใช้ในเรื่อง
ต่างๆ เช่น
๑) ใช้ประกอบกับการก าหนดวัตถุประสงค์และนโยบาย การก าหนดวัตถุประสงค์และนโยบายนั้น
ส่วนใหญ่แล้วมักจะอยู่ในลักษณะที่กว้างๆ ดังนั้น การน าดัชนีมาช่วยเป็นส่วนประกอบจะช่วยให้ทราบถึง
สิ่งที่ต้องการให้บรรลุผลได้ชัดเจนขึ้น ดังตัวอย่างนี้
- วัตถุประสงค์ : ให้เด็กก่อนวัยเรียนได้รับบริการเตรียมความพร้อมก่อนเข้ารับการศึกษาภาคบังคับ
มากขึ้น และมีความเสมอภาคในโอกาสการเข้ารับบริการดังกล่าว
- นโยบาย : รัฐจะเร่งขยายการศึกษาระดับก่อนประถมศึกษาในรูปแบบต่างๆ เพื่อให้เด็กก่อนวัย
เรียนได้รับบริการเตรียมความพร้อมก่อนเข้ารับการศึกษาภาคบังคับมากขึ้น โดยเฉพาะเด็กในชนบทพร้อม
ทั้งส่งเสริมและสนับสนุนให้เอกชนเข้าร่วมรับภาระให้มากยิ่งขึ้น
จากวัตถุประสงค์และนโยบายที่ก าหนดไว้ จะเห็นได้ว่าเป็นข้อมูลกว้างๆ จ าเป็นต้องท าให้
มีความชัดเจนยิ่งขึ้น เพื่อประโยชน์ในการปฏิบัติงาน โดยก าหนดดัชนีเข้าช่วย เช่น อาจก าหนดไว้ว่า
เมื่อสิ้นช่วงแผนพัฒนา จะมีเด็กก่อนวัยเรียนได้เข้ารับบริการเตรียมความพร้อมร้อยละ ๓๐ ของประชาชน
กลุ่มอายุ ๓ – ๕ ปี ทั้งในเขตเมืองและชนบท หรือจะขยายบริการก่อนประถมศึกษาให้เด็กได้เข้ารับบริการ
เป็นจ านวนเพิ่มขึ้นโดยส่วนรวมในอัตราการเพิ่มร้อยละ ๑๐ ต่อปี โดยในชนบทมีอัตราเพิ่มร้อยละ ๓๐ ต่อปี
และในเมืองมีอัตราเพิ่มร้อยละ ๕ ต่อปี การใช้ดัชนีประกอบในลักษณะหนึ่งข้างต้นนี้ จะเป็นเครื่องมือส าคัญ
ที่ช่วยให้นักวางแผนการศึกษาสามารถระบุสิ่งที่ต้องการให้เกิดขึ้นได้อย่างชัดเจน
๒) ใช้ประโยชน์ในการติดตามผลการศึกษา โดยใช้ดัชนีทางการศึกษาในการติดตามผลทางการ
เปลี่ยนแปลงในระบบการศึกษา เช่น การเปลี่ยนแปลงเกี่ยวกับสัดส่วนจ านวนนักเรียนต่อประชากร ช่วยให้
ตรวจสอบได้ว่า การเปลี่ยนแปลงดังกล่าวเป็นไปในทิศทางที่ต้องการ ที่พึงประสงค์หรือไม่ มากน้อยเพียงใด
๓) ใช้ประโยชน์ในการวิจัยเกี่ยวกับการพัฒนาการศึกษา ใช้ดัชนีทางการศึกษาเพื่อแทนลักษณะ
บางประการของระบบการศึกษาในงานวิจัยที่ต้องการศึกษาเปรียบเทียบงานการศึกษาทั้งหมดของประเทศ
หรือการเปรียบเทียบระบบการศึกษากับระบบย่อยอื่นๆ ในสังคม หรืองานวิจัยที่ต้องการวัดความ
เปลี่ยนแปลงและการพัฒนาของการศึกษาในประเทศหนึ่งๆ หรือในเขตการศึกษา การสร้างดัชนีและใช้เป็น
หน่วยในการวิเคราะห์ในงานวิจัยจะดีกว่าการใช้ตัวแปร (Variable) หลายๆ ตัวหรือเลือกใช้ตัวแปรเฉพาะ
บางตัวมาเป็นหน่วยในการวิเคราะห์
คู่มือปฏิบัติงาน
โรงเรียนพระปริยัติธรรม แผนกสามัญศึกษา