Page 622 - Full paper สอฉ.3-62
P. 622
คิดเห็นมากที่สุด (μ = 4.57, σ = 0.52) ด้านการปฏิบัติงาน
โดยรวมอยู่ในระดับความคิดเห็นมาก (μ = 4.29, σ = 0.65)
สอดคล้องกับงานวิจัยของ ลักขณา ด าชู. 2557 การพัฒนา
คุณสมบัติของนักบัญชีที่พึงประสงค์ของสถานประกอบการต่อ
การเข้า สู่ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน การศึกษาครั้งนี้มี
วัตถุประสงค์เพื่อศึกษาคุณสมบัติของนักบัญชีที่พึงประสงค์
ของสถานประกอบการต่อการเข้าสู่ประชาคมอาเซียนใน
จังหวัดสงขลา และ เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยที่มี
ผลต่อการพัฒนาคุณสมบัติของนักบัญชีที่พึงประสงค์ของ
สถานประกอบการต่อการเข้าสู่ประชาคมอาเซียนรวมถึงเป็น
แนวทางแก่นักบัญชีที่จะพัฒนาตนเองให้มีคุณสมบัติที่ต้องการ
ของ ตลาดแรงงาน ใช้แบบสอบถามที่ประยุกต์จากกรอบ
มาตรฐานคุณวุฒิระดับอุดมศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2552 ในการ
เก็บข้อมูลจากลุ่มนักบัญชีที่ท างานในสถานประกอบการ ใน
จังหวัดสงขลา รวมทั้งสิ้น 332 คน สถิติที่ใช้วิเคราะห์ข้อมูล
ได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และทดสอบ
สมมติฐานของความสัมพันธ์ด้วยการวิเคราะห์ค่า
ประสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์เพียรสัน ผลการศึกษาพบว่า
คุณสมบัติของนักบัญชีที่สถานประกอบการต้องการให้พัฒนา
มากที่สุด ด้านคุณธรรมจริยธรรมและจรรยาบรรณวิชาชีพ ใน
เรื่อง ความอดทนอดกลั้น และปัจจัยด้านอายุ มีความสัมพันธ์
กับด้านคุณธรรมจริยธรรมและจรรยาบรรณ และด้านความรู้
ความสามารถทางด้าน บัญชี ปัจจัยด้านระดับการศึกษา
มีความสัมพันธ์ในด้านการวิเคราะห์เชิงตัวเลข การสื่อสารและ
การใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ ปัจจัยด้านประสบการณ์ในการ
ท างาน มีความสัมพันธ์ในด้าน คุณธรรมจริยธรรม และ
จรรยาบรรณและ ด้านความรู้ความสามารถทางด้านบัญชี อย่าง
มีนัยส าคัญ ทางสถิติที่ระดับ 0.05 [3]
เอกสารอ้างอิง
[1] กระทรวงศึกษาธิการ, พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542
แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2545, กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์คุรุสภา
ลาดพร้าว, 2542.
[2] บุญชม ศรีสะอาด, การวิจัยเบื้องต้น. พิมพ์ครั้งที่ 6 กรุงเทพฯ :
สุวีริยาสาสน์,2545.
[3] ลักขณา ด าชู. การพัฒนาคุณสมบัติของนักบัญชีที่พึงประสงค์ของ
สถานประกอบการต่อการเข้า สู่ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน, 2557
[4] ส านักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา. พระราชบัญญัติการ
อาชีวศึกษา พ.ศ.2551, กรุงเทพฯ: ส านักงานคณะกรรมการ
การอาชีวศึกษา, 2551.
5
604