Page 122 - วทยทษะ
P. 122
118
.4.4 ปฏิกิริยาในนํ้าโซดาและนํ้าอัดลม
นํ้าโซดามีส่วนประกอบของนํ้าและกรดคาร์บอนิก ส่วนนํ้าอัดลม
ประกอบด้วยนํ้า นํ้าตาล กรดคาร์บอนิก กรดฟอสฟอริก คาเฟอีน สีและ
กลิ่นหรือรส รวมถึงสารกันบูด นํ้าตาลในนํ้าอัดลมเป็นสารที่ ให้ความ
หวานและพลังงานนํ้าตาลที่ใช้ในนํ้าอัดลม คือ ซูโครส กรดคาร์บอนิกเป็น
สารที่ทําให้นํ้าอัดลมซ่า มีฟองและมีรสเปรี้ยวอ่อน ๆ เกิดจากนํ้ากับแก๊ส
คาร์บอนไดออกไซด์ทําปฏิกิริยากัน โดยใช้ความดันสูงเพื่อ ทําให้แก๊ส
คาร์บอนไดออกไซด์ทําปฏิกิริยากับนํ้าเกิดเป็นกรดคาร์บอนิกขึ้น แต่กรดที่
เกิดขึ้นนั้นไม่เสถียร
5 ปฏิกิริยาการเกิดสนิมเหล็ก
เหล็ก (Fe) เป็นโลหะเกิดการผุกร่อนเป็นสนิมเมื่อทิ้งไว้ใน
บรรยากาศปกติ เนื่องจากเหล็ก จะเสียอิเล็กตรอน โดยมีแก๊สออกซิเจน
(O ) และนํ้า (H O) รับอิเล็กตรอน ทําให้เกิดปฏิกิริยาเคมีเกิดเป็น สนิม
2
3
เหล็ก (Fe O H O) มีสีนํ้าตาลแดง
2 2 2
4.6 ปฏิกิริยาการสังเคราะห์ด้วยแสงของพืช
พืชจะใช้แก๊สคาร์บอนไดออกไซด์ (CO ) และนํ้า (H O) เป็นสาร
2
2
ตั้งต้น ซึ่งต้องมีแสงและ คลอโรฟิลล์จึงทําให้เกิดปฏิกิริยาการสังเคราะห์