Page 119 - วทยทษะ
P. 119
115
2. การลดความดันโดยเพิ่มปริมาตร เมื่อเพิ่มปริมาตรของแก๊สทํา
ให้ความดันของแก๊สลดล จะยังทําให้ความเข้มข้นของสารตั้งต้นที่อยู่ใน
สถานะแก๊สลดลงด้วย มีผลทําให้โมเลกุลของแก๊สอยู่ห่างขึ้นโอกาสที่
โมเลกุลของแก๊สชนกันน้อยลงส่งผลให้อัตราการเกิดปฏิกิริยาเคมีลดลง
3.7 ชนิดของสารตั้งต้น
สารตั้งต้นแต่ละชนิดมีความสามารถในการเกิดปฏิกิริยาเคมีได้
ไม่เท่ากัน โดยสารตั้งต้นชนิด หนึ่งอาจเกิดปฏิกิริยาได้เร็วกับสารชนิดหนึ่ง
แต่อาจเกิดปฏิกิริยาได้ช้ากับสารอีกชนิดหนึ่ง เช่น โลหะ พนเซียมทํา
ปฏิกิริยาได้ดีกับสารละลายกรด แต่ทําปฏิกิริยาได้ช้ากับออกซิเจน
7.4 ปฏิกิริยาเคมีในชีวิตประจําวัน
รอบ ๆ ตัวเราและในร่างกายเรามีปฏิกิริยาเคมีเกิดขึ้นอยู่
ตลอดเวลา ปฏิกิริยาเคมีเกิดจาก กระบวนการเปลี่ยนแปลงโครงสร้างของ
สารต่าง ๆ มีผลทําให้พลังงานของระบบเปลี่ยนไป มีผลิตภัณฑ์หรือ สาร
ใหม่เกิดขึ้น ปฏิกิริยาเคมีบางชนิดเกิดขึ้นเอง แต่บางชนิดต้องได้รับ
พลังงานจํานวนหนึ่งก่อนจึงจ เกิดปฏิกิริยาได้ ปฏิกิริยาเคมีหลายชนิด
สามารถนํามาใช้ประโยชน์ในชีวิตประจําวัน
4.1 ปฏิกิริยาการเผาไหม้
การเผาไหม้ เกิดจากปฏิกิริยาการรวมตัวกันของเชื้อเพลิงกับ
ออกซิเจนอย่างรวดเร็ว พร้อมเกิด การลกไหม้ และคายความร้อนในการ
เผาไหม้ส่วนใหญ่จะไม่ใช้ออกซิเจนล้วน ๆ แต่จะใช้อากาศแทน เนื่องจาก