Page 123 - วทยทษะ
P. 123
119
ด้วยแสง และผลิตภัณฑ์ที่ได้ คือ นํ้าตาลกลูโคส (C H 0 ) และแก๊ส
6 12 8
ออกซิเจน (O )
2
นอกจากนี้ยังมีแก๊สหลายชนิดที่ทําปฏิกิริยากับนํ้าฝนก่อให้เกิดฝน
กรดตกลงมา ทําให้โลหะ เกิดการกัดกร่อนเป็นสนิมได้เร็วกว่าสภาวะปกติ
ฝนกรดจะเกิดขึ้นในเขตอุตสาหกรรมมากกว่าเขต เกษตรกรรม เนื่องจาก
โรงงานอุตสาหกรรมมักปล่อยแก๊สพิษต่าง ๆ สู่บรรยากาศ ตัวอย่างแก๊สที่
เป็นสาเหตุ ให้เกิดฝนกรด เช่น ไนโตรเจนไดออกไซด์ (NO ) เมื่อทํา
2
ปฏิกิริยากับนํ้าฝนก่อให้เกิดกรดไนตริก (HNO ) หรือ กรดไนตรัส (HNO )
2
2
ส่วนแก๊สคาร์บอนไดออกไซด์ (CO ) เมื่อทําปฏิกิริยากับนํ้าฝนทําให้เกิด
2
กรดคาร์บอนิก
สรุปสาระสําคัญ
ในชีวิตประจําวันมีปฏิกิริยาเคมีเกิดขึ้นมากมาย ซึ่งการเกิดปฏิกิริยา
เคมีต้องมีสารที่เข้าทําปฏิกิริยา ซึ่งเรียกว่า สารตั้งต้น และมีสารที่ใหม่ที่
เกิดขึ้นจากปฏิกิริยาเคมีซึ่งเรียกว่า ผลิตภัณฑ์ การเกิดปฏิกิริยาเคมี อาจ
สังเกตได้จากการเปลี่ยนแปลงต่าง ๆ ดังนี้ เช่น สีเปลี่ยนไป การเกิด
ตะกอนการเกิดแก๊ส การเกิดกลิ่น เป็นต้น
ปฏิกิริยาเคมีต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นจะเขียนอธิบายด้วยสมการเคมี ซึ่ง
รูปแบบของสมการเคมีจะต้องเขียนสูตรของสารตั้งต้นไว้ทางซ้าย และ
เขียนสูตรของผลิตภัณฑ์ไว้ทางขวา ระหว่างสารตั้งต้นและผลิตภัณฑ์ จะใช้