Page 118 - วทยทษะ
P. 118
114
3.4 ตัวหน่วงปฏิกิริยา
ตัวหน่วงปฏิกิริยา คือ สารที่เติมลงไปในปฏิกิริยาแล้วทําให้
ปฏิกิริยาเคมีเกิดขึ้นได้ช้าลง ปฏิกิริยาสิ้นสุดลงตัวหน่วงปฏิกิริยาที่ใส่ลงไป
ยังคงมีสมบัติและปริมาณเหมือนเดิม แต่อาจมีสมบัล ทางกายภาพ
บางอย่างเปลี่ยนไป ตัวอย่างสารหน่วงปฏิกิริยาเคมี เช่น สารกันบูดที่ใส่ลง
ไปในอาหาร ช่วยยับยั้งไม่ให้อาหารเกิดการบูดเน่า
3.5 อุณหภูมิ
การเพิ่มอุณหภูมิของสารที่เข้าทําปฏิกิริยาจะทําให้อนุภาคของ
สารเคลื่อนที่เร็วขึ้น ส่งผลให้พลังงานจลน์สูงขึ้นโอกาสที่อนุภาคชนกันก็
เพิ่มขึ้นด้วยทําให้อัตราการเกิดปฏิกิริยาเคมีเร็วขึ้น
3.6 ความดัน
กรณีที่สารตั้งต้นอยู่ในสถานะแก๊ส การเปลี่ยนแปลงความดัน
ของแก๊สมีผลต่อการเปลี่ยนแปลง ปริมาตรของแก๊ส และส่งผลต่ออัตรา
การเกิดปฏิกิริยาเคมีดังนี้
1. การเพิ่มความดันโดยลดปริมาตร เมื่อลดปริมาตรของแก๊สทํา
ให้ความดันของแก๊สเพิ่มขึ้น ละยังทําให้ความเข้มข้นของสารตั้งต้นที่อยู่ใน
สถานะแก๊สเพิ่มขึ้นด้วยมีผลทําให้โมเลกุลของแก๊สอยู่ชิดกันมากขึ้น
โอกาสที่โมเลกุลชนกันมีมากขึ้น ส่งผลให้อัตราการเกิดปฏิกิริยาเคมี
เพิ่มขึ้น