Page 113 - วทยทษะ
P. 113

109



                       2. สังเกตจากการเกิดตะกอน เช่น สารละลายโซเดียมคลอไรด์


               (NaCI) ทําปฏิกิริยากับ  สารละลายซิลเวอร์ไนเทรต  () จะเกิด


               ตะกอนของซิลเวอร์คลอไรด์ (AgCI) ขึ้น


                       3. สังเกตจากแก๊สที่เกิดขึ้นเช่นแมกนีเซียม (Mg) ทําปฏิกิริยากับ


               กรดไฮโดรคลอริก (HCI) จะมี แก๊สไฮโดรเจน (H )เกิดขึ้น
                                                                          2
                       4. สังเกตจากกลิ่นที่เกิดขึ้น  เช่น สารละลายแคลเซียมไฮดรอกไซด์


               ทําปฏิกิริยากับสารละลายแอมโมเนียมคลอไรด์  จะเกิดแก๊สแอมโมเนียซึ่ง


               มีกลิ่นเกิดขึ้น


                       5. สังเกตโดยวิธีอื่น ๆ เช่น ลักษณะเนื้อสาร ความเป็นกรดเบส


               เขม่าควัน ในการอธิบาย การเกิดปฏิกิริยาเคมีต่าง ๆ นั้น นักวิทยาศาสตร์


               จะเขียนในรูปของสมการเคมี (Chemical Equation)


                   1.2 การเขียนสมการเคมี


               การเขียนสมการเคมี มีหลักในการเขียนดังนี้


                         1. เขียนสูตรของสารตั้งต้นไว้ทางซ้ายมือ  ถ้าสารตั้งต้นมีมากกว่า


               หนึ่งชนิด ให้ใช้เครื่องหมาย บวก (+) คั่นกลางระหว่างสูตร


                         2. เขียนสูตรของผลิตภัณฑ์ไว้ทางขวามือ  ถ้ามีผลิตภัณฑ์เกิดขึ้น


               มากกว่าหนึ่งชนิด ให้ใช้ เครื่องหมายบวก (+) คั่นกลางระหว่างสูตร
   108   109   110   111   112   113   114   115   116   117   118