Page 108 - วทยทษะ
P. 108
104
เห็นฟองแก๊สในหลอดทดลองและหินปูนสึกกร่อน แก๊สที่เกิดขึ้นคือ แก๊ส
คาร์บอนไดออกไซด์เขียน ความสัมพันธ์ได้ดังนี้ กรดไฮโดรคลอริก +
แคลเซียมคาร์บอเนต - แคลเซียมคลอไรด์ + นํ้า + แก๊ส
คาร์บอนไดออกไซด์
เขียนสมการเคมีได้ดังนี้ 2HCl(aq) + CaCO (s) – CaCl (aq) + H O(I)
2
3
2
+ CO (g)
2
การเกิดปฏิกิริยาเคมีของสารแต่ละชนิดจะเกิดผลิตภัณฑ์แตกต่างกัน
ไปขึ้นอยู่กับชนิดของ สารตั้งต้น และจะเกิดปฏิกิริยาเร็วช้าแตกต่างกัน
และถ้าเปรียบเทียบมวลของสารก่อนและหลังทําปฏิกิริยา จะพบว่ามีมวล
เท่ากันซึ่งเป็นไปตามกฎทรงมวลของสารที่กล่าวว่า “การเปลี่ยนแปลงใด
ๆ ของสารที่อยู่ใน ระบบปิดมวลของสารก่อนและหลังการเกิดปฏิกิริยา
เคมีจะมีค่าคงที่”
สรุปสาระสําคัญ
สาร หมายถึง สิ่งต่าง ๆ ที่อยู่รอบตัวของเรา สามารถสัมผัสได้ด้วย
ประสาททั้ง 5 โดยสารนั้นต้องเป็น สิ่งที่มีมวล มีรูปร่าง มีปริมาตร
ต้องการที่อยู่ และมีการเปลี่ยนแปลงสารแต่ละชนิด มีสมบัติเฉพาะตัว
สมบัติ ของสารแบ่งได้เป็น 2 ประเภท ได้แก่ สมบัติทางกายภาพและ
สมบัติทางเคมี สมบัติทางกายภาพเป็นสมบัติ ของสารที่สามารถ
สังเกตเห็นได้ง่ายจากรูปร่างลักษณะภายนอก เช่น สถานะ สี กลิ่น รส