Page 105 - วทยทษะ
P. 105
101
4.2 การละลายของสาร
การละลายของสารเป็นการเปลี่ยนแปลงทางกายภาพ
สารละลายที่ได้ยังคงมีสมบัติเหมือนเดิม เช่น นํ้าเกลือไปละลายนํ้าจะได้
เป็นสารละลายนํ้าเกลือ เมื่อชิมดูจะมีรสชาติเค็มเหมือนเกลือที่เป็น
ของแข็ง ถ้าระเหยนํ้าออกไปจนหมดจะได้เกลือที่เป็นของแข็งกลับมา
เช่นเดิม การละลายของสารที่พบเห็นใน ชีวิตประจําวัน เช่น ในทางช่าง
จะใช้ตัวทําละลายต่าง ๆ เช่น ทินเนอร์ นํ้ามันก๊าด แอลกอฮอล์ สารแต่ละ
ชนิดละลายได้ในตัวทําละลายที่เหมือนกันหรือไม่ และในการละลายจะมี
พลังงานใดบ้างมาเกี่ยวข้อง
การละลาย เป็นสมบัติเฉพาะตัวของสาร สารชนิดหนึ่งอาจละลายได้
ดีในตัวทําชนิดหนึ่ง และอาร ละลายในตัวทําละลายอีกชนิดหนึ่งหรืออาจ
ละลายได้ดีในตัวทําละลายหลาย ๆ ชนิดก็ได้ สารชนิดใดจะ ละลายในตัว
ทําละลายใดได้หรือไม่ ขึ้นอยู่กับธรรมชาติของตัวทําละลายและตัวละลาย
นั้น ๆ นอกจากนั้นใน การละลายยังมีพลังงานความร้อนเข้ามาเกี่ยวข้อง
ด้วย การละลายของสารแบ่งออกเป็น 2 แบบ คือ การ ละลายประเภท
คายความร้อนและการละลายประเภทดูดความร้อน การละลายของสารที่
ทําให้สารละลายปี อุณหภูมิสูงกว่าเดิม เป็นการละลายประเภทคายความ
ร้อน และการละลายที่ทําให้สารละลายมีอุณหภูมิ ตําลงจากเดิม เป็นการ
ละลายประเภทดูดความร้อน