Page 10 - บทที่1
P. 10
ผิดปกติในดานประสาทสรีรวิทยา เชน การตรวจคลื่นไฟฟาสมอง (Electroencephalography, EEG) การ
ตรวจการนําของเสนประสาท (Nerve Conduction Study, NCS) การตรวจไฟฟากลามเนื้อ
(Electromyography, EMG) เปนตน การตรวจบางชนิดอาจตองมีการทําหัตถการทางการแพทยที่มี
ความจําเพาะลงไป เชน การตรวจชิ้นเนื้อของกลามเนื้อ (Muscle biopsy) ชิ้นเนื้อเสนประสาท (Nerve
biopsy) การเจาะน้ําไขสันหลัง (Lumbar Puncture) เปนตน ซึ่งการตรวจแตละชนิดที่กลาวมาควรพิจารณา
ถึงขอบงชี้ (Indication) และขอหาม (Contraindication) ของการตรวจที่มีความแตกตางกันออกไป แตตองนึก
ถึงเสมอวาการตรวจเพิ่มเติมหรือการหัตถการทางการแพทยใดๆ ก็ตามจะกระทําไปเพื่อจุดประสงคทาง
การแพทยที่สําคัญไดแก การวินิจฉัยและการรักษารวมไปถึงการติดตามประสิทธิผลของรักษาในผูปวยแต
ละราย
จะเห็นวาภาพรวมของการตรวจสงวินิจฉัยเปนการตรวจเพื่อชวยสนับสนุนการวินิจฉัยเทานั้น ดังนั้น
การตรวจวินิจฉัยเพิ่มเติมใดๆ ควรจะปฏิบัติหลังจากที่ไดใหการวินิจฉัยโรคในเบื้องตนแลวเทานั้นเพราะการ
ตรวจวินิจฉัยกระทําไปเพื่อใหการสนับสนุนการวินิจฉัยที่ไดตั้งสมมติฐานไวเบื้องตน ไมใชทําการสงตรวจ
วินิจฉัยไปกอนที่ผูปวยจะไดรับการวินิจฉัยเพราะการสงตรวจวินิจฉัยแตละประเภทนั้นมีผลกระทบตอผูปวย
ที่แตกตางกันออกไปทั้งทางตรงและทางออมโดยเฉพาะตองพิจารณาถึงความคุมคาทางการแพทยรวมดวย
เปนสําคัญ
ตัวอยางการตรวจวินิจฉัยเพิ่มเติม เชน
o การตรวจคลื่นไฟฟาสมอง (Electroencephalography, EEG) เปนการตรวจบันทึกสัญญาณไฟฟา
(electrical activity) ที่เกิดขึ้นภายในสมองเพื่อหาจุดกําเนิดของอาการชัก (epileptogenic focus) ใชสําหรับ
ชวยในการวินิจฉัยโรคหรือความผิดปกติที่เกิดจากการทํางานภายในสมองไดแก อาการชัก โรคลมชักและ
นอกจากนี้ยังใชในการบันทึกสัญญาณไฟฟาสมองจากความผิดปกติของการนอนหลับ (sleep disorder)
รวมดวย ดังรูป 1-2
สราวุธ สุขสุผิว_ภาคการศึกษาที่ 3/2560