Page 13 - การโฆษณาเเละส่งเสริมการขาย
P. 13
3
ความหมายของการโฆษณา
การโฆษณา (Advertising) มีผู้ให้ความหมายไว้หลายทัศนะดังต่อไปนี้
พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ.2554 ให้ได้ความหมายไว้ว่า การเผยแพร่หนังสือ
ออกไปยังสาธารณชน การป่าวร้อง การป่าวประกาศ
มอริซ แอล แมนเดลล์ (Maurice L. Mandell) ได้ให้ค าจ ากัดความไว้ว่าการโฆษณา
หมายถึง รูปแบบการส่งเสริมที่ผ่านสื่อโฆษณามิใช่ตัวบุคคลและต้องช าระเงินค่าโฆษณาโดยผู้
อุปถัมภ์ ซึ่งการโฆษณานี้มีความหมายที่แตกต่างไปจากการส่งเสริมในรูปแบบอื่นๆ เช่น การขาย
โดยพนักงาน และการส่งเสริมการจ าหน่าย เป็นต้น
ดันน์ และบาเรียน (Dunn and Brian) ได้ให้ความหมายของการโฆษณาว่าเป็นการจ่ายเงิน
ส าหรับการติดต่อสื่อสารผ่านทางสื่อต่างๆ ที่ไม่ใช่ตัวบุคคลโดยองค์กรที่มุ่งหวังผลก าไร เพื่อแจ้ง
ข่าวสารการขายสินค้า ประกาศหรือชักชวนบุคคลกลุ่มใดกลุ่มหนึ่งโดยเฉพาะ
เสรี วงษ์มณฑา ได้ให้ความหมายไว้ว่า เป็นกิจกรรมสื่อสารมวลชนที่เกิดขึ้นเพื่อจูงใจให้
ผู้บริโภคมีพฤติกรรมอันเอื้ออ านวยต่อความเจริญของธุรกิจการขายสินค้าและบริการ
เวลส์ เบอร์เน็ตต์ และมอร์เรียร์ตี (Wells Burnett and Moriarty, 2006:6) ได้กล่าวไว้
ว่า นิยามมาตรฐานของการโฆษณาจะต้องประกอบด้วย 6 อย่าง คือ
1.การโฆษณาจะต้องอยู่ในรูปของการสื่อสารที่ต้องเสียค่าใช้จ่าย (Paid Form of
Communication)
2. การโฆษณาจะต้องระบุชื่อผู้อุปถัมภ์การโฆษณา (Identified Sponsor)
ความหมายและความส าคัญของการโฆษณา
ค าว่า “การโฆษณา” หรือ “Advertising”
มาจากรากศัพท์ภาษาลาตินว่า “Advertere” ซึ่งหมายถึง “การหันเหจิตใจไปสู่(To Turn The
Mind Toward)” (Russell and Lane, 1990 :21) ซึ่งมีความหมายอย่างกว้างๆ ว่า การหันเห
จิตใจของผู้บริโภคไปสู่ผลิตภัณฑ์ที่เสนอขายนั่นเอง
ส่วนความหมายของการโฆษณาตาม พ.ร.บ. คุ้มครอง พ.ศ.2556 ได้ให้ความหมายไว้ว่า
การโฆษณาเป็นการท าให้ข้อความปรากฏแก่ประชาชน เช่น ลงพิมพ์ในหนังสือพิมพ์หรือเอกสาร
เผยแพร่ติดกับสิ่งก่อสร้าง หรือสิ่งอื่นที่ประชาชนมองเห็นได้ ติดอยู่กับเรือ รถยนต์ พาหนะที่เป็น
สาธารณะ การแพร่เสียงทางวิทยุ โทรทัศน์ การแสดงด้วยการใดๆ ซึ่งประชาชนสามารถเห็นหรือ
ทราบได้
สมาคมการตลาดแห่งสหรัฐอเมริกา(AMA : America Marketing Association) ได้ให้
ความหมายขงการโฆษณาได้ว่า