Page 3 - ประมวลจริยธรรมข้าราชการตุลาการ
P. 3

ประกอบรักษาใหความยุติธรรมเปนไป ถาจัดไดดีขึ้นเพียงใด ประโยชนความสุขของราษฎรก็จะเจริญ

               ยิ่งขึ้นเทานั้น...”
                              ในถอยคําถวายสัตยปฏิญาณตอพระมหากษัตริยซึ่งบัญญัติไวในรัฐธรรมนูญแหง
               ราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช ๒๕๕๐ มาตรา ๒๐๑ ไดเนนใหเห็นถึงความสําคัญของความยุติธรรมไว

               เชนกัน ดังนี้
                              “ ขาพระพุทธเจา  (ชื่อผูปฏิญาณ) ขอถวายสัตยปฏิญาณวา ขาพระพุทธเจาจะ

               จงรักภักดีตอพระมหากษัตริย และจะปฏิบัติหนาที่ในพระปรมาภิไธยดวยความซื่อสัตยสุจริต
               โดยปราศจากอคติทั้งปวง  เพื่อใหเกิดความยุติธรรมแกประชาชน  และความสงบสุขแหงราชอาณาจักร
               ทั้งจะรักษาไวและปฏิบัติตามซึ่งการปกครองระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริยทรงเปน

               ประมุขตามรัฐธรรมนูญแหงราชอาณาจักรไทยและกฎหมายทุกประการ”
                              (๒) ความซื่อสัตยสุจริต     : คุณลักษณะสําคัญที่สุดขอหนึ่งของผูพิพากษาคือ

               ความซื่อสัตยสุจริต พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. ๒๕๔๒  ใหคํานิยามคําวา “ซื่อสัตย”
               ไววา :  “ประพฤติตรง  และจริงใจ  ไมคิดคดทรยศ  ไมคดโกง  และไมหลอกลวง” และใหคํานิยามคําวา
               “สุจริต” วา : “ความประพฤติชอบ”

                              ความซื่อสัตยสุจริตจะเกิดขึ้นไดก็ตอเมื่อ มีสัจจะทั้งกายวาจาใจ ใจยึดมั่นจะทําแตสิ่ง
               ที่ชอบ ไมประสงคในสิ่งซึ่งไมพึงมีพึงได อันจะนําไปสูการทุจริต จะกระทําสิ่งใดปากกับใจก็ตรงกัน

               พูดอยางไร ทําอยางนั้น ทําอยางไร พูดอยางนั้น
                              ในวิชาชีพตุลาการ คําวา “ซื่อสัตยสุจริต” มีความหมายลึกซึ้งและประณีตกวา
               ในทรรศนะของบุคคลทั่วไป  ดวยจักตองพิเคราะหความประพฤติชอบในวิชาชีพตุลาการประกอบดวย

               วาเปนประการใด  เปนตนวา คูความฝายที่ชนะคดีนําเงินหรือทรัพยสินอื่นมาใหผูพิพากษาที่ตัดสินคดี
               ใหตนชนะ หลังจากคดีนั้นถึงที่สุดแลว ดั่งนี้  ผูพิพากษาสมควรรับไวหรือไม  กรณีเชนนี้อาจมีผูเขาใจวา

               นาจะรับไวไดโดยชอบ เพราะคดีถึงที่สุดแลว ผูพิพากษาผูนั้นไมอาจใหคุณใหโทษแกคูความ
               ฝายใดฝายหนึ่งไดตอไปอีกแลว การสมนาคุณเชนนี้ไมทําใหผูใดเสียหายหรือเดือดรอน แตในวงการ
               ตุลาการเห็นวาผูพิพากษาผูนั้นไมอาจรับเงินหรือทรัพยสินนั้นไวได เพราะผูพิพากษาจักตองไมมีสวนได

               เสียในคดีเปนการสวนตัวไมวาดวยประการใดทั้งสิ้น
                              การใด ๆ จักสําเร็จไดก็อยูที่ใจ  หนทางที่จะรักษาความซื่อสัตยสุจริตไวไดคือ ตองหาม

               ใจมิใหมัวเมาในกิเลส ตองตัดกิเลส อันไดแก ความโลภ ความโกรธ และความหลงใหจงได
                              (๓)  นิติประเพณี  : หมายถึงแนวปฏิบัติของผูพิพากษาในทางอรรถคดีซึ่งมิไดมี
               บทบัญญัติของกฎหมายกําหนดไว  แตเปนเรื่องที่บรรพตุลาการยึดถือกันมาวาถูกตองและปฏิบัติตาม

               เชน ศาลลางยอมจะพิจารณาพิพากษาคดีตามแนวบรรทัดฐานของศาลสูง
                              (๔)  จักตองแสดงใหเปนที่ประจักษแกสาธารณชนดวยวาตนปฏิบัติเชนนี้อยาง

               เครงครัดครบถวน : ผูพิพากษามีหนาที่ไมเฉพาะแตเพียงประสาทความยุติธรรมแกคูความเทานั้น
               หากแตยังตองแสดงใหเปนที่ประจักษแกสาธารณชนดวยวาตนไดปฏิบัติเชนนั้นแลวอยางเครงครัด
               ครบถวน  หลักพื้นฐานดังกลาวนี้เปนหลักการสําคัญของระบบศาลยุติธรรมของนานาประเทศ

               (Justice must  not only be done, but it must manifestly and undoubtedly be seen to
               be done : per Lord Campbell)  ( อางถึงในหนังสือ The Road to Justice  ของลอรด  เดนนิ่ง  ซึ่งอาง
   1   2   3   4   5   6   7   8