Page 4 - ประมวลจริยธรรมข้าราชการตุลาการ
P. 4
ถึงขางตน หนา ๒๔) ดังนั้นผูพิพากษาจักตองแสดงใหปรากฏดวยวาตนทรงไวซึ่งความเที่ยงธรรม
และไมมีผลประโยชนเกี่ยวของกับคดีความเรื่องนั้น ๆ ไมวาในทางใดทางหนึ่ง
(๕) ผูพิพากษาจักตองยึดมั่นในความเปนอิสระของตน : การประสาทความยุติธรรม
จะสัมฤทธิ์ผลไดก็ตอเมื่อศาลและผูพิพากษามีความเปนอิสระในการพิจารณาพิพากษาอรรถคดี
ปราศจากอิทธิพลอันมิชอบ ไมวาจะเปนอิทธิพลจากภายนอกหรือจากการกาวกายของบุคคล
ในวงการศาลหรือจากบุคคลอื่นใดก็ตาม ผูพิพากษาจึงตองถือเรื่องนี้เปนหลักการสําคัญในการปฏิบัติ
หนาที่ราชการของศาลยุติธรรม
ความเปนอิสระนี้มิใชมีเฉพาะของสถาบันตุลาการเทานั้น หากแตผูพิพากษาทุกคน
ก็ยังมีความเปนอิสระนี้ดวย ดังจะเห็นไดจากรัฐธรรมนูญแหงราชอาณาจักรไทย (พ.ศ. ๒๕๕๐) ซึ่งได
แยกเรื่องความเปนอิสระของสถาบันตุลาการคือ ศาล ไวในมาตรา ๑๙๗ วรรคหนึ่ง คือ “การพิจารณา
พิพากษาอรรถคดีเปนอํานาจของศาลซึ่งตองดําเนินการใหเปนไปโดยยุติธรรม ตามรัฐธรรมนูญ
ตามกฎหมาย และในพระปรมาภิไธยพระมหากษัตริย”
สวนความเปนอิสระของผูพิพากษา มีบัญญัติไวในมาตรา ๑๙๗ วรรคสอง วา
“ผูพิพากษาและตุลาการมีอิสระในการพิจารณาพิพากษาอรรถคดีใหเปนไปโดยถูกตอง รวดเร็ว
และเปนธรรม ตามรัฐธรรมนูญและกฎหมาย”
(๖) เทิดทูนไวซึ่งเกียรติศักดิ์แหงสถาบันตุลาการ : การประสาทความยุติธรรม
จะไดผลเพียงไร มิใชอยูแตเพียงการพิพากษาคดีใหคูความฝายใดแพชนะอยางเที่ยงธรรมเทานั้น
หากแตอยูที่วาประชาชนทั่วไป มีความเชื่อถือศรัทธาทั้งตอสถาบันตุลาการและตอผูพิพากษา
แตละคนเพียงใดดวย หากประชาชนขาดความเชื่อถือศรัทธาดังกลาวเสียแลว เปนตนวา คิดเห็นกันวา
วิ่งเตนคดีความกับศาลได แมวาจะไมเปนความจริงก็ตาม คูความก็ยังอดแคลงใจไมไดวา ตนไมไดรับ
ความยุติธรรมและประชาชนขาดความเชื่อถือศรัทธาในศาลยุติธรรม จึงเปนหนาที่ของ
ผูพิพากษาทุกคนที่จักตองชวยกันเทิดทูนไว ซึ่งเกียรติศักดิ์แหงสถาบันตุลาการใหบริสุทธิ์และสดใส
อยูทุกขณะ
หมวด ๒
จริยธรรมเกี่ยวกับการปฏิบัติหนาที่ในทางอรรถคดี
บทบัญญัติ
ขอ ๒ ผูพิพากษาพึงตรวจสํานวนความและตระเตรียมการดําเนินกระบวน
พิจารณาไวใหพรอม ออกนั่งพิจารณาตรงตามเวลาและไมเลื่อนการพิจารณาโดยไมจําเปน