Page 8 - ประมวลจริยธรรมข้าราชการตุลาการ
P. 8

คําอธิบาย

                              (๑)  ในการพิจารณาพิพากษาอรรถคดีนั้นผูพิพากษาจักตองไตรตรองดวย
               ความสุขุมรอบคอบจะผลีผลามมิได  ดังที่มีสุภาษิตกฎหมายบทหนึ่งวา  :  “ในการตัดสิน
               ประหารชีวิตคนนั้น  แมจะตองอาศัยเวลาใครครวญนานสักเพียงใด ก็ไมถือวาเปนความลาชา”

               (You  can  never  hesitate  too  long  before  deciding  that  a  man  must  die.)  แต
               ในขณะเดียวกันขอที่ผูพิพากษาพึงตระหนักก็คือ หากผูพิพากษาลาชาในการตัดสินคดีแลว

               ก็เทากับตนปฏิเสธความยุติธรรม   (Justice  delayed  is  justice  denied.)  คงจะไมมีผูใด
               ปฏิเสธความมีเหตุผลของหลักการวินิจฉัยคดี ตามสุภาษิตกฎหมายทั้งสองบทนี้ได ดังนั้น
               ในทางปฏิบัติผูพิพากษาจึงตองหลีกเลี่ยงความอยุติธรรมดวยการตัดสินคดีโดยไมชักชา

               และในขณะเดียวกัน ตองหลีกเลี่ยงอันตรายจากการตัดสินคดีโดยผลีผลาม
                              (๒)   พึงตัดการดําเนินกระบวนพิจารณาที่ไมจําเปนออกเพื่อใหการพิจารณาคดี

               เปนไปดวยความรวดเร็ว  :
                              ในฐานะที่ศาลเปนผูควบคุมการพิจารณาคดี มีกระบวนพิจารณาอยูหลายขั้นตอน
               ที่อาจลาชาโดยไมจําเปน  ควรที่ผูพิพากษาจะตองพิเคราะหวาตอนใดบางที่สมควรตัดโดยไมให

               กระทบกระเทือนตอรูปคดี โดยเฉพาะอยางยิ่งในชั้นชี้สองสถาน ศาลมีโอกาสจะตัดกระบวนพิจารณา
               ที่ไมจําเปนแกคดีนั้นออกไดเปนอันมาก  อนึ่ง ถามีการวินิจฉัยชี้ขาดเบื้องตนในปญหาขอกฎหมายแลว

               จะไมตองมีการพิจารณาคดีนั้นตอไป หรือไมตองพิจารณาประเด็นสําคัญบางขอ หรือแมจะดําเนินการ
               พิจารณาประเด็นสําคัญแหงคดีไป  ก็ไมทําใหไดความชัดขึ้นอีกแลว  ศาลก็ควรวินิจฉัยชี้ขาดเบื้องตน
               ในปญหาขอกฎหมายไปเลย  แตเรื่องนี้ก็เปน “ดาบสองคม”  อยู ถาวินิจฉัยไดถูกตอง  การพิจารณาคดี

               ก็จะสั้น  สะดวก และรวดเร็วขึ้น ถาพลั้งพลาด คูความยอมเดือดรอน  ตองเสียเวลา เสียคาใชจายในการ
               อุทธรณฎีกาเพื่อใหศาลสูงยกคําพิพากษาศาลลาง  แลวพิจารณาพิพากษาใหม จึงสมควรพิเคราะห

               ใหถองแทเสียกอน
                              การสงประเด็นไปสืบในศาลอื่นก็ดี ในตางประเทศก็ดี ผูพิพากษานาจะไตถามคูความ
               ทุกฝายกอน เพื่อใหไดความชัดวามีเหตุสมควรอนุญาตหรือไม ในทํานองเดียวกัน การที่ศาล

               จะตัดพยานก็ดี  ควบคุมการซักถามพยานบุคคลในศาลก็ดี  สมควรที่ผูพิพากษาจักตองดูแลมิใหมีการ
               อางพยานหรือซักถามพยานนอกประเด็น  ฟุมเฟอย หรือยืดเยื้อ โดยคํานึงดวยวาในการซักถามพยานนั้น

               อาจมีคําถามที่มิใชในประเด็นโดยตรง แตนําเขาสูประเด็นก็สมควรอนุญาตถาไมยืดเยื้อเกินไป
               เรื่องการซักถามพยานนี้ ผูพิพากษาพึงใชวิจารณญาณดวยวา  สมควรจะเตือนเมื่อใด  และเตือนอยางไร
               จึงไมกระทบกระเทือนตอรูปคดีและเปนการเตือนที่สุภาพดวย


               บทบัญญัติ


                              ขอ  ๕  ผูพิพากษาจักตองควบคุมการดําเนินกระบวนพิจารณาในศาลใหเปนไปดวย
               ความเรียบรอย  ทั้งจักตองมิใหผูใดประพฤติตนไมสมควรในศาล

                              บทบัญญัติวาดวยเรื่องละเมิดอํานาจศาล  พึงใชดวยความระมัดระวังและไมลุแกโทสะ
   3   4   5   6   7   8   9   10   11   12   13