Page 42 - ประมวลจริยธรรมข้าราชการตุลาการ
P. 42

การอธิบายสันโดษในขั้นอรรถกถา

                              ยถาลาภสันโดษ  คือ ยินดีตามที่ได เมื่อไดสิ่งใดก็ยินดีสิ่งนั้น และใชสอย
               ไมปรารถนาสิ่งอื่นที่เกินไป  มากไป  หรือในทางที่ผิดที่เรียกวา  ปรารถนาเปนบาป
                              ยถาพลสันโดษ  คือ  ความยินดีตามกําลัง  ถาสิ่งที่ไดมาไมเหมาะสมแกกําลังของตน

               เชน ไมเหมาะแกกําลังกาย เพราะปวยเปนไขจะบริโภคใชสอยไมสะดวกก็แลกเปลี่ยนกับสิ่งที่ตน
               จะบริโภคใชสอยได  หรือไมเหมาะสมแกกําลังประการอื่นก็แลกเปลี่ยนใหเหมาะสมแกกําลังของตน

                              ยถาสารุปปสันโดษ  ยินดีตามสมควร  ถาไดมาแลวเห็นวาไมเหมาะไมสมควรแกตน
               เพราะเปนของดีเกินไป ก็สละใหแกผูที่สมควร แสวงหามาใชแตที่พอเหมาะพอควร หรือเพราะ
               เปนสิ่งของที่ตนไมควรจะใชสอยดวยเหตุวาผิดวินัย (สําหรับบรรพชิต) หรือเกินฐานะ (สําหรับ

               บุคคลทั่วไป) ก็ไมรับมาหรือสละไปเสีย  แสวงหาใชสอยแตที่เหมาะที่ควรแกภาวะและฐานะ เปนตน
               และขอนี้ยอมหมายถึงแสวงหาแตที่พอเหมาะพอควรดวย

                              สันโดษในความคิด คือ ระงับความคิดที่ฟุงซาน อยากไดโนนไดนี่ที่เกินไปมากไป
               หรือที่อยากไดในทางผิดดังกลาว  พอใจในการใชความคิดในการที่ถูกที่ควร
                              สันโดษในการแสวงหา  คือ  ยินดีแสวงหาแตสิ่งที่ควรจะได  ที่จะพึงบริโภคใชสอยได

               ตามกําลังของตน  และที่สมควรแกภาวะฐานะเปนตน  และในทางที่ถูกที่ควร
                              สันโดษในการรับ คือ รับแตที่ควรรับ และรับพอประมาณ มิใชวาเมื่อจะได หรือเมื่อ

               มีผูจะใหก็รับทุกอยาง เพราะสิ่งที่จะไดเปนสิ่งที่มีโทษก็มี เปนสิ่งที่อาจเปนโทษเพราะรับ
               เกินประมาณไปก็มี  ทั้งบุคคลที่จะใหอาจมีความปรารถนาในทางไมชอบก็มี  เชน ใหเพื่อหวัง
               ผลตอบแทนที่ยิ่งกวาเมื่อรับแลวก็ตองทําธุรกิจใหเขาในทางที่ผิด ผูที่รักษาตนใหบริสุทธิ์

               จะไมยอมรับอะไรของใครงาย ๆ  จะตองพิจารณาวาเขาใหทําไม เพื่ออะไร ถารูสึกวาเปนการใหดวย
               เจตนาที่ไมบริสุทธิ์ก็ไมยอมรับ ควรยินดีรับแตที่ควรรับ และแมที่ควรรับก็รับแตพอประมาณ  ยอมเปน

               เหตุใหพนมลทินโทษเพราะการรับ
                              สันโดษในการบริโภค  คือ  ยินดีรับบริโภคใชสอยสิ่งที่ไดมาดวยการพิจารณาใหรูถึง
               ประโยชนที่ตองการ  อันสิ่งที่ไดมานั้นจะตองเปนสิ่งที่ดีบาง  ไมดีบาง และเมื่อเทียบกับคนอื่น ๆ แลว

               ก็จะตองมียิ่งหยอนกวากันตามฐานะตาง ๆ เชน ฐานะแหงทรัพยที่จะซื้อหา  ถาขาดสันโดษในขอนี้
               ก็จะเกิดความปรารถนาอยากที่จะบริโภคใชสอยแตสิ่งที่ดี  ๆ  เชน อาหารที่ดี เครื่องนุงหมที่สวยงาม

               ที่อยูอาศัยที่ผาสุกและงดงาม นอกจากนี้ยังตองการเครื่องบํารุงความสุข ความสะดวก เครื่องประดับ
               ตกแตงตาง ๆ อีกไมมีที่สิ้นสุด”
                              (จากเรื่อง “สันโดษ” ในหนังสือชุด “รวมธรรมะ”  ซึ่งพระราชทานเปนที่ระลึกใน

               อภิลักขิตกาล  สมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี ทรงเจริญพระชนมายุครบ ๘๔ พรรษา
               พิมพที่อมรินทรการพิมพ,  พ.ศ.  ๒๕๒๗  ,หนา  ๑  -  ๘  และคําอธิบายเพิ่มเติมของสมเด็จ

               พระญาณสังวร  สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายก  (เจริญ  สุวัฑฺฒโน)  วัดบวรนิเวศวิหาร
               ทานผูเรียบเรียง  ซึ่งความเรียงใหมนี้  ทานผูเรียบเรียงไดกรุณาตรวจแกอีกชั้นหนึ่งแลว)
                              (๔)  ครองตนอยางเรียบงาย  :

                              การครองตนอยางเรียบงายนั้น  เปนการครองชีวิตแบบหนึ่ง  ไมวาจะเปนคนยากดีมีจน
               ประการใด  เปนการครองตนแบบไมฟุงเฟอ  ฟุมเฟอย  หรูหรา  หรือโออวด  ความเปนอยูอยาง
   37   38   39   40   41   42   43   44   45   46   47