Page 23 - Modern Management11
P. 23
นโยบายสาธารณะกับการบริหารจัดการสมัยใหม่
ภายนอกและจุดอ่อนของตนให้ น้อยที่สุด ซึ่งสามารถจ าแนกกลยุทธ์หลักของบริษัทออกเป็น 3 ประเภท
ได้แก่
1.1 กลยุทธ์การเติบโต (Growth Strategy) เป็นกลยุทธ์ที่เกี่ยวข้องกับการขยายตัวและการเติบโตของ
องค์การ ซึ่งสามารถติดตามได้จากการเพิ่มยอดขาย ขยายสายผลิตภัณฑ์ และจ านวนบุคลากร ซึ่งผู้บริหารจะ
ด าเนินกลยุทธ์ในรูปแบบ ต่อไปนี้
1) กลยุทธ์การให้ความสนใจ (Concentration Strategy) เป็นกลยุทธ์ที่มุ่งให้ความส าคัญกับธุรกิจ
เฉพาะอย่าง เพื่อให้ทรัพยากรและความสามารถขององค์กรเพื่อให้ธุรกิจเข้มแข็งและเกิดความเจริญเติบโต
2) กลยุทธ์การบูรณาการ (Integration Strategy) เป็นกลยุทธ์ที่ขยายการด าเนินงานขององค์การ
ไปในสายการผลิตต่าง ๆ (Horizontal Integration ) หรือธุรกิจประเภทอื่นที่เกี่ยวข้องกัน (Vertical
Integration) โดยธุรกิจอาจจะขยายตัวแบบไปข้างหน้า (Forward) เพื่อให้เข้าใกล้ลูกค้าคนสุดท้ายมากขึ้น
หรือย้อนหลัง(Backward)เข้าใกล้แหล่งวัตถุดิบมากขึ้นหรือด าเนินงานแบบครบวงจร
3) กลยุทธ์ความหลากหลาย (Diversification Strategy) เป็นกลยุทธ์ที่ขยายการด าเนินงานของ
องค์การไปประกอบธุรกิจประเภทอื่นที่ใกล้เคียงหรือไม่เกี่ยวข้องกัน เพื่อกระจายความเสี่ยง เปิดโอกาสใน
การหาก าไรและสร้างความหลายหลายในการด าเนินงาน
1.2 กลยุทธ์การรักษาเสถียรภาพ (Stability Strategy) มักเกิดขึ้นในสภาพแวดล้อมที่คงที่ (Stable)
โดยผู้บริหารพอใจกับสถานะของธุรกิจ จึงด าเนินงานเพื่อการรักษาสภาพขององค์กร ซึ่งเป็นการด าเนินงาน
แบบอนุรักษ์นิยม (Conservation) ที่รักษาระดับของธุรกิจและตัดสินใจอย่างรอบคอบ โดยธุรกิจที่ใช้กลยุทธ์
การสร้างเสถียรภาพสามารถจะขยายตัวได้แต่จะอยู่ในระดับและอัตราที่ช้าและค่อยเป็นค่อยไป
1.3 กลยุทธ์การป้ องกันตัวหรือถดถอย (Defensive หรือ Retrenchment Strategy) เป็นกลยุทธ์ที่
เกี่ยวข้องกับการลดขนาดการด าเนินงานขององค์กร
เนื่องจากธุรกิจประสบปัญหา วิกฤติ หรือการหดตัวของอุตสาหกรรม ซึ่งอาจจะมีช่วงระยะสั้นหรือ
ยาว โดยมีกลยุทธ์การป้ องกันตัวที่นิยมใช้ 3 ประเภท ต่อไปนี้
1) กลยุทธ์การกลับตัว (Turnaround Strategy) เป็นกลยุทธ์ที่เกี่ยวข้องกับการปรับตัวของธุรกิจให้
สามารถแข่งขันกันได้โดยพยายามที่จะลดต้นทุนที่ไม่ส าคัญ ในการด าเนินงาน และพัฒนาโครงการเพื่อ
สร้างความมั่นคงให้แก่บริษัท ตลอดจนการท าการทดลองด าเนินงานในรูปแบบ หรือวิธีการที่แตกต่างกัน
จากเดิม
2) กลยุทธ์ยุทธการขายกิจการและไม่ลงทุน (Divestiture Strategy) เป็นกลยุทธ์ที่เกี่ยวข้องกับการ
ลดขนาดโดยไม่ลงทุนเพิ่มและขายกิจการบางส่วนของธุรกิจออกไปเพื่อลดภาระ และรักษาความสามารถใน
การแข่งขันและการใช้ทรัพยากรในธุรกิจหลัก
3) กลยุทธ์การเลิกกิจการ (Liquidation Strategy) เป็นกลยุทธ์ที่เกี่ยวข้องกับการเลิกกิจการโดยขาย
ธุรกิจทั้งหมดเพื่อหาเงินมาชดใช้หนี้สิน และมีเงินสดพอที่จะเริ่มต้นธุรกิจ
ดร. สุกฤตา สุวรรณกฤติ
23